จุดยืนคณะทำงานเพื่อการปฏิรูปสื่อ ต่อร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ฉบับ สปช.
คณะทำงานเพื่อการปฏิรูปสื่อ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทน 4 องค์กรสื่อ คือ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ขอเรียกร้องให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ทบทวนเรื่อง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .... ซึ่งสภาปฏิรูปฯ ให้ความเห็นชอบไป เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม และกำลังเปิดให้สมาชิก สปช. ที่ไม่เห็นด้วยเสนอญัตติแก้ไข ก่อนที่จะส่งร่างให้คณะรัฐมนตรีภายใน 7 วัน
คณะทำงานเพื่อการปฏิรูปสื่อ มีความเห็นว่า ข้อท้วงติงของสมาชิก สปช. เสียงข้างน้อย ซึ่งระบุว่า ร่างดังกล่าวมีข้อบกพร่องหลายประการ เช่น การตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติขึ้นโดยกำหนดให้รัฐจะจ่ายเงินอุดหนุนกำหนดให้องค์กรนี้มีรายได้และทรัพย์สิน จากเงินที่รัฐจ่ายให้เป็นทุนประเดิม และรายได้ 5% หรือไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ต้องส่งคืนให้รัฐจะทำให้วิชาชีพสื่ออยู่ภายใต้การกำกับของรัฐนั้น ฯลฯ เป็นข้อท้วงติงที่มีเหตุผลและเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องกังวล
นอกจากนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวยังมีความบกพร่องอื่นอีกหลายประการ เช่น ความเหมาะสมของการออกใบรับรองผู้ประกอบวิชาชีพโดยอ้อม ซึ่งเท่ากับเป็นการใช้อำนาจควบคุมคนที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพนี้ตั้งแต่ต้น ให้อำนาจองค์กรควบคุมสื่อใหม่อย่างกว้างขวาง แต่ขาดกลไกด้านกระบวนการและวิธีพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมที่ต้องโปร่งใส ชัดเจน ตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่จะทำให้การกำกับดูแลจริยธรรมสื่อมีประสิทธิภาพ บางมาตราส่อลักษณะว่าจะขัดต่อหลักการของกฎหมายทั่วไป เช่น ถ้าผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนทำผิดให้ถือว่า เจ้าของกิจการสื่อมวลชนหรือผู้บังคับบัญชาของผู้ประกอบวิชาชีพผู้นั้นกระทำการฝ่าฝืนและต้องร่วมรับผิดชอบด้วย ซึ่งเป็นการกำหนดความรับผิดแบบเคร่งครัด มีหลายกรณีที่มีการตรากฎหมายเช่นนี้แล้วเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญปรากฏว่า ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าเป็นการตรากฎหมายที่มิชอบ ฯลฯ
คณะทำงานเพื่อการปฏิรูปสื่อ มีความเห็นว่า โดยเนื้อแท้ของร่างกฎหมายฉบับนี้ มิได้เอื้ออำนวยให้เกิดการปฏิรูปสื่อแต่อย่างใด การออกแบบองค์กรสื่อที่จะมาทำหน้าที่ในการกำกับดูแลสื่อก็ทำโครงสร้างคล้ายกับระบบราชการคือ มีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เมื่อมีปัญหาก็ไม่มีกระบวนการพิจารณาที่โปร่งใส พึ่งพิงทุนและอำนาจรัฐจนทำให้สูญเสียหลักการความเป็นอิสระของการทำหน้าที่ กลไกที่คิดขึ้นไม่มีการถ่วงดุลหรือมีกลไกความรับผิดรับชอบ ไม่มีมาตรการในการปกป้องสื่อมวลชนเมื่อถูกคุกคาม ฯลฯ
โดยรวมแล้วเป็นการทำให้กระบวนการกำกับดูแลสื่อถอยหลังไปยิ่งกว่า ที่ทำมาร่วม 2 ทศวรรษเสียด้วยซ้ำ และสภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติเช่นนี้ เท่ากับออกกฎหมายให้มีการควบคุมสื่อทั้งระบบอย่างเบ็ดเสร็จ จะกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงอานุภาพหากมีรัฐบาลที่ไม่มีความประสงค์ดีเพราะรัฐบาลที่มีลักษณะเช่นนั้นจะใช้ทุนและอำนาจตามกฎหมายเข้ามาครอบงำสื่อได้โดยตรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสังคม
คณะทำงานเพื่อการปฏิรูปสื่อ มีความเห็นว่า การปฏิรูปสื่อเป็นงานละเอียดอ่อนที่ต้องอาศัยความรอบคอบและความเห็นรอบด้าน สภาปฏิรูปแห่งชาติไม่ควรรวบรัดสร้างผลงานก่อนที่จะหมดอายุ เพราะจะเป็นการก่อปัญหาใหญ่เอาไว้โดยไม่มีผู้รับผิดชอบ และเมื่อมีสมาชิกสปช. ทักท้วงว่าร่างมีข้อบกพร่องและที่ประชุมเปิดให้มีการเสนอญัตติแก้ไข ก็ควรจะมีการแก้ไขทบทวน หากระยะเวลาที่มีอยู่ไม่เพียงพอก็อาจจะเสนอเป็นหลักการใหญ่ๆ โดยไม่ต้องเสนอร่างประกอบเพื่อให้เป็นปัญหาก็ได้ อีกทั้งเรื่องนี้ก็เกี่ยวพันโดยตรงกับเนื้อหาหลักในรัฐธรรมนูญซึ่งอยู่ในขั้นตอนที่ดำเนินการไม่เสร็จสิ้น
คณะทำงานเพื่อการปฏิรูปสื่อ เห็นว่า ควรจะมีการปฏิรูปสื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ต่างๆ อยู่เสมอ โดยคำนึงถึงความเป็นจริง คำนึงถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาและสภาพของสังคมด้วย รวมทั้งหลักการที่พัฒนามาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ด้วย คณะทำงานเพื่อการปฏิรูปสื่อสนับสนุนให้มีการปฏิรูปสื่อตามหลักการดังกล่าวและสนับสนุนการรวมตัวกันเป็นสภาวิชาชีพและมีกลไกที่จะทำให้สื่อมวลชนมีความรับผิดชอบและถูกตรวจสอบโดยสังคมได้มากขึ้น แต่ต้องเป็นกลไกที่เป็นอิสระและไม่สามารถถูกแทรกแซงได้ แต่ร่างกฎหมายที่ สปช. เห็นชอบไป มิใช่เป็นการปฏิรูปสื่อแต่เป็นการควบคุมสื่อของประเทศนี้อย่างเบ็ดเสร็จ จึงอยากให้สปช. ควรทบทวนแก้ไขโดยด่วน และคณะทำงานจะเร่งทำข้อเสนอและข้อทักท้วงถึงคณะกรรมาธิการฯ ต่อไป
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
21 กรกฎาคม 2558
คณะทำงานเพื่อการปฏิรูปสื่อ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทน 4 องค์กรสื่อ คือ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ขอเรียกร้องให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ทบทวนเรื่อง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .... ซึ่งสภาปฏิรูปฯ ให้ความเห็นชอบไป เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม และกำลังเปิดให้สมาชิก สปช. ที่ไม่เห็นด้วยเสนอญัตติแก้ไข ก่อนที่จะส่งร่างให้คณะรัฐมนตรีภายใน 7 วัน
คณะทำงานเพื่อการปฏิรูปสื่อ มีความเห็นว่า ข้อท้วงติงของสมาชิก สปช. เสียงข้างน้อย ซึ่งระบุว่า ร่างดังกล่าวมีข้อบกพร่องหลายประการ เช่น การตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติขึ้นโดยกำหนดให้รัฐจะจ่ายเงินอุดหนุนกำหนดให้องค์กรนี้มีรายได้และทรัพย์สิน จากเงินที่รัฐจ่ายให้เป็นทุนประเดิม และรายได้ 5% หรือไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ต้องส่งคืนให้รัฐจะทำให้วิชาชีพสื่ออยู่ภายใต้การกำกับของรัฐนั้น ฯลฯ เป็นข้อท้วงติงที่มีเหตุผลและเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องกังวล
นอกจากนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวยังมีความบกพร่องอื่นอีกหลายประการ เช่น ความเหมาะสมของการออกใบรับรองผู้ประกอบวิชาชีพโดยอ้อม ซึ่งเท่ากับเป็นการใช้อำนาจควบคุมคนที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพนี้ตั้งแต่ต้น ให้อำนาจองค์กรควบคุมสื่อใหม่อย่างกว้างขวาง แต่ขาดกลไกด้านกระบวนการและวิธีพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมที่ต้องโปร่งใส ชัดเจน ตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่จะทำให้การกำกับดูแลจริยธรรมสื่อมีประสิทธิภาพ บางมาตราส่อลักษณะว่าจะขัดต่อหลักการของกฎหมายทั่วไป เช่น ถ้าผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนทำผิดให้ถือว่า เจ้าของกิจการสื่อมวลชนหรือผู้บังคับบัญชาของผู้ประกอบวิชาชีพผู้นั้นกระทำการฝ่าฝืนและต้องร่วมรับผิดชอบด้วย ซึ่งเป็นการกำหนดความรับผิดแบบเคร่งครัด มีหลายกรณีที่มีการตรากฎหมายเช่นนี้แล้วเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญปรากฏว่า ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าเป็นการตรากฎหมายที่มิชอบ ฯลฯ
คณะทำงานเพื่อการปฏิรูปสื่อ มีความเห็นว่า โดยเนื้อแท้ของร่างกฎหมายฉบับนี้ มิได้เอื้ออำนวยให้เกิดการปฏิรูปสื่อแต่อย่างใด การออกแบบองค์กรสื่อที่จะมาทำหน้าที่ในการกำกับดูแลสื่อก็ทำโครงสร้างคล้ายกับระบบราชการคือ มีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เมื่อมีปัญหาก็ไม่มีกระบวนการพิจารณาที่โปร่งใส พึ่งพิงทุนและอำนาจรัฐจนทำให้สูญเสียหลักการความเป็นอิสระของการทำหน้าที่ กลไกที่คิดขึ้นไม่มีการถ่วงดุลหรือมีกลไกความรับผิดรับชอบ ไม่มีมาตรการในการปกป้องสื่อมวลชนเมื่อถูกคุกคาม ฯลฯ
โดยรวมแล้วเป็นการทำให้กระบวนการกำกับดูแลสื่อถอยหลังไปยิ่งกว่า ที่ทำมาร่วม 2 ทศวรรษเสียด้วยซ้ำ และสภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติเช่นนี้ เท่ากับออกกฎหมายให้มีการควบคุมสื่อทั้งระบบอย่างเบ็ดเสร็จ จะกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงอานุภาพหากมีรัฐบาลที่ไม่มีความประสงค์ดีเพราะรัฐบาลที่มีลักษณะเช่นนั้นจะใช้ทุนและอำนาจตามกฎหมายเข้ามาครอบงำสื่อได้โดยตรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสังคม
คณะทำงานเพื่อการปฏิรูปสื่อ มีความเห็นว่า การปฏิรูปสื่อเป็นงานละเอียดอ่อนที่ต้องอาศัยความรอบคอบและความเห็นรอบด้าน สภาปฏิรูปแห่งชาติไม่ควรรวบรัดสร้างผลงานก่อนที่จะหมดอายุ เพราะจะเป็นการก่อปัญหาใหญ่เอาไว้โดยไม่มีผู้รับผิดชอบ และเมื่อมีสมาชิกสปช. ทักท้วงว่าร่างมีข้อบกพร่องและที่ประชุมเปิดให้มีการเสนอญัตติแก้ไข ก็ควรจะมีการแก้ไขทบทวน หากระยะเวลาที่มีอยู่ไม่เพียงพอก็อาจจะเสนอเป็นหลักการใหญ่ๆ โดยไม่ต้องเสนอร่างประกอบเพื่อให้เป็นปัญหาก็ได้ อีกทั้งเรื่องนี้ก็เกี่ยวพันโดยตรงกับเนื้อหาหลักในรัฐธรรมนูญซึ่งอยู่ในขั้นตอนที่ดำเนินการไม่เสร็จสิ้น
คณะทำงานเพื่อการปฏิรูปสื่อ เห็นว่า ควรจะมีการปฏิรูปสื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ต่างๆ อยู่เสมอ โดยคำนึงถึงความเป็นจริง คำนึงถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาและสภาพของสังคมด้วย รวมทั้งหลักการที่พัฒนามาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ด้วย คณะทำงานเพื่อการปฏิรูปสื่อสนับสนุนให้มีการปฏิรูปสื่อตามหลักการดังกล่าวและสนับสนุนการรวมตัวกันเป็นสภาวิชาชีพและมีกลไกที่จะทำให้สื่อมวลชนมีความรับผิดชอบและถูกตรวจสอบโดยสังคมได้มากขึ้น แต่ต้องเป็นกลไกที่เป็นอิสระและไม่สามารถถูกแทรกแซงได้ แต่ร่างกฎหมายที่ สปช. เห็นชอบไป มิใช่เป็นการปฏิรูปสื่อแต่เป็นการควบคุมสื่อของประเทศนี้อย่างเบ็ดเสร็จ จึงอยากให้สปช. ควรทบทวนแก้ไขโดยด่วน และคณะทำงานจะเร่งทำข้อเสนอและข้อทักท้วงถึงคณะกรรมาธิการฯ ต่อไป
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
21 กรกฎาคม 2558