วันที่สี่ของการประชุมนอกสถานที่ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้พิจาณาภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง โดยเห็นชอบร่วมกันว่าจะมีองค์ประกอบของคณะกรรมการที่จะทำหน้าที่ปฏิรูป และสร้างความปรองดอง เป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ซึ่งให้คณะกรรมาธิการฯพิจารณาและนำมาเสนอในสัปดาห์หน้า ว่าแนวทางการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ และสภาปฏิรูปและสร้างความปรองดอง รวมทั้งกรรมการด้านต่าง ๆ ควรจะมีโครงสร้างอย่างไร โดยยุบรวมเนื้อหาจาก 15 มาตรา เหลือเพียง 4 มาตรา กำหนดเพียงหัวข้อและแนวทางที่อยากเห็นการปฏิรูปเดินหน้า แต่รายละเอียดจะกำหนดไว้ในกฎหมายลูก โดยให้อนุกรรมาธิการฯจัดทำให้แล้วเสร็จในวันที่ 22 สิงหาคม ตั้งเป้าจะส่งร่างกฎหมายลูกเรื่องปฏิรูปและการสร้างความปองดองพร้อมร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายให้ สปช.ในวันเดียวกันหากคณะกรรมาธิการยกร่างขยายการทำงานไป 30 วัน
นอกจากนี้ ยังได้พิจารณาในบทสุดท้ายเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยังยึดแนวทางที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญร่างแรก ในมาตรา 303 ที่จะกำหนดไว้ให้ชัดเจนว่าเมื่อครบรอบ 5 ปี ให้มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิอิสระประเมินผลในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ โดยใช้เวลา 6 เดือน และให้ส่งรายงานพร้อมข้อเสนอการแก้ไขไปให้สภาและคณะรัฐมนตรี โดยที่อำนาจหน้าที่ในการแก้ไขหรือไม่ ยังเป็นหน้าที่ของรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้เสนอโดยใช้เสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญยังกำหนดเป็น 3 ส่วน คือส่วนที่แก้ไขไม่ได้ คือไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ แก้ไขได้โดยรัฐสภาใช้เสียง 2 ใน 3 และแก้ไขได้แต่ต้องนำไปทำประชามติ
อย่างไรก็ตาม การประชุมในวันนี้จะพิจารณามาตราที่แขวนไว้ซึ่งมีอยู่ประมาณ 6-7 เรื่องให้แล้วเสร็จ เช่น เรื่องเอกสิทธิของสมาชิกรัฐสภา เรื่องคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติในมาตรา 121 เรื่องการที่ ส.ส.มีคะแนนน้อยกว่าผู้ประสงค์ไม่ใช้สิทธิจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ จะใช้เกณฑ์อะไรในการพิจารณา และยังมีเรื่องบทเฉพาะกาลที่ต้องดำเนินการภายในวันถัดไป หากเสร็จก็จะทบทวนตั้งแต่มาตราแรกจนถึงมาตราสุดท้ายต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้พิจารณาในบทสุดท้ายเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยังยึดแนวทางที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญร่างแรก ในมาตรา 303 ที่จะกำหนดไว้ให้ชัดเจนว่าเมื่อครบรอบ 5 ปี ให้มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิอิสระประเมินผลในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ โดยใช้เวลา 6 เดือน และให้ส่งรายงานพร้อมข้อเสนอการแก้ไขไปให้สภาและคณะรัฐมนตรี โดยที่อำนาจหน้าที่ในการแก้ไขหรือไม่ ยังเป็นหน้าที่ของรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้เสนอโดยใช้เสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญยังกำหนดเป็น 3 ส่วน คือส่วนที่แก้ไขไม่ได้ คือไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ แก้ไขได้โดยรัฐสภาใช้เสียง 2 ใน 3 และแก้ไขได้แต่ต้องนำไปทำประชามติ
อย่างไรก็ตาม การประชุมในวันนี้จะพิจารณามาตราที่แขวนไว้ซึ่งมีอยู่ประมาณ 6-7 เรื่องให้แล้วเสร็จ เช่น เรื่องเอกสิทธิของสมาชิกรัฐสภา เรื่องคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติในมาตรา 121 เรื่องการที่ ส.ส.มีคะแนนน้อยกว่าผู้ประสงค์ไม่ใช้สิทธิจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ จะใช้เกณฑ์อะไรในการพิจารณา และยังมีเรื่องบทเฉพาะกาลที่ต้องดำเนินการภายในวันถัดไป หากเสร็จก็จะทบทวนตั้งแต่มาตราแรกจนถึงมาตราสุดท้ายต่อไป