xs
xsm
sm
md
lg

รองเลขาฯ พระราชวังตรวจเยี่ยมศูนย์ฝนหลวงฯ ติดตามผลทำฝนเทียม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

วันนี้ (17 ก.ค.) นายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง เดินทางไปตรวจเยี่ยมศูนย์ฝนหลวงพิเศษนครสวรรค์ และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก เพื่อติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนรวมทั้งผลการปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษ โดยได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์สังเกตสถานการณ์น้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปผลการปฏิบัติการฝนหลวง โดยนายวราวุธ ขันติยานันท์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ฝนหลวงพิเศษ

สรุปผลการปฏิบัติการของศูนย์ฝนหลวงพิเศษ 2 ศูนย์ และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงปกติ 7 หน่วย ดังต่อไปนี้

1.ศูนย์ฝนหลวงพิเศษจังหวัดนครสวรรค์ เริ่มเปิดหน่วยตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 16 กรกฎาคม 2558 ขึ้นบินไปแล้ว 16 วัน รวม 166 เที่ยวบิน มีฝนตก 16 วัน จำนวนชั่วโมงบิน 245.25 ชั่วโมง ปริมาณการใช้สารฝนหลวง 137.8 ตัน โดยมีรายงานฝนตกทั้ง 7 จังหวัด ที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมายหลัก ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร ชัยนาท สระบุรี ลพบุรี และเพชรบูรณ์ และมีฝนตกในพื้นที่ลุ่มรับน้ำของเขื่อนต่างๆ โดยมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ ดังนี้ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เริ่มมีน้ำไหลเข้าอ่างฯ ติดต่อกันเป็นวันที่ 7 ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นมา รวม 5.71 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนกระเสียว เริ่มมีน้ำไหลเข้าอ่างฯ ติดต่อกันเป็นวันที่ 14 ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นมา รวม 2.2 ล้านลูกบาศก์เมตร

2.ศูนย์ฝนหลวงพิเศษจังหวัดเชียงใหม่ เริ่มเปิดหน่วยตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 16 กรกฎาคม 2558 ขึ้นบินไปแล้ว 16 วัน รวม 125 เที่ยวบิน มีฝนตก 16 วัน จำนวนชั่วโมงบิน 224.30 ชั่วโมง ปริมาณการใช้สารฝนหลวง 159.5 ตัน จังหวัดที่มีรายงานมีฝนตก (จากการตรวจวัดด้วยเรดาร์ และเครื่องวัดน้ำฝนอัตโนมัติ) ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แพร่ ลำปาง เชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน พะเยา และสุโขทัย (9 จังหวัด)

เขื่อนภูมิพล เริ่มมีน้ำไหลเข้าอ่างฯ ติดต่อกันเป็นวันที่ 8 ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นมา รวม 10.25 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ เริ่มมีน้ำไหลเข้าอ่างฯ ติดต่อกันเป็นวันที่ 16 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นมา รวม 90.18 ล้านลูกบาศก์เมตร

3.หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 16 กรกฎาคม 2558 ขึ้นบินไปแล้ว 16 วัน รวม 116 เที่ยวบิน มีฝนตก 14 วัน จำนวนชั่วโมงบิน 188.15 ชั่วโมง ปริมาณการใช้สารฝนหลวง 101.1 ตัน จังหวัดที่มีรายงานมีฝนตก (จากการตรวจวัดด้วยเรดาร์ และเครื่องวัดน้ำฝนอัตโนมัติ) ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก ลำปาง น่าน แพร่ พิจิตร กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ลำพูน ตาก พะเยา สุโขทัย และเชียงราย (14 จังหวัด) ขณะที่เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เริ่มมีน้ำไหลเข้าอ่างฯ ติดต่อกันเป็นวันที่ 10 ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นมา รวม 4.82 ล้านลูกบาศก์เมตร

4.หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 16 กรกฎาคม 2558 ขึ้นบินไปแล้ว 16 วัน รวม 61 เที่ยวบิน มีฝนตก 13 วัน จำนวนชั่วโมงบิน 101.5 ชั่วโมง ปริมาณการใช้สารฝนหลวง 61 ตันจังหวัดที่มีรายงานมีฝนตก (จากการตรวจวัดด้วยเรดาร์ และเครื่องวัดน้ำฝนอัตโนมัติ) ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ เลย มหาสารคาม บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร และ หนองคาย (14 จังหวัด)

5.หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสกลนคร เริ่มเปิดหน่วยตั้งแต่วันที่ 10–16 กรกฎาคม 2558 ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม – 16 กรกฎาคม 2558 ขึ้นบินไปแล้ว 6 วัน รวม 22 เที่ยวบิน มีฝนตก 5 วัน จำนวนชั่วโมงบิน 22.10 ชั่วโมง ปริมาณการใช้สารฝนหลวง 15.2 ตัน จังหวัดที่มีรายงานมีฝนตก (จากการตรวจวัดด้วยเรดาร์ และเครื่องวัดน้ำฝนอัตโนมัติ) ได้แก่ จังหวัดสกลนคร และนครพนม (2 จังหวัด)

6.หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 16กรกฎาคม 2558 ขึ้นบินไปแล้ว 16 วัน รวม 61 เที่ยวบิน มีฝนตก 14 วัน จำนวนชั่วโมงบิน 68.35 ชั่วโมง ปริมาณการใช้สารฝนหลวง 60.2 ตัน จังหวัดที่มีรายงานมีฝนตก (จากการตรวจวัดด้วยเรดาร์ และเครื่องวัดน้ำฝนอัตโนมัติ) ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ขอนแก่น และสุรินทร์ (5 จังหวัด)

7.หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 16 กรกฎาคม 2558 ขึ้นบินไปแล้ว 8 วัน รวม 13 เที่ยวบิน มีฝนตก 8 วัน จำนวนชั่วโมงบิน 14.15 ชั่วโมง ปริมาณการใช้สารฝนหลวง 26 ตัน จังหวัดที่มีรายงานมีฝนตก (จากการตรวจวัดด้วยเรดาร์ และเครื่องวัดน้ำฝนอัตโนมัติ) ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ สุรินทร์ และอุบลราชธานี (7 จังหวัด)

8.หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 16 กรกฎาคม 2558 ขึ้นบินไปแล้ว 14 วัน รวม 50 เที่ยวบิน มีฝนตก 13 วัน จำนวนชั่วโมงบิน 56.50 ชั่วโมง ปริมาณการใช้สารฝนหลวง 35 ตัน จังหวัดที่มีรายงานมีฝนตก (จากการตรวจวัดด้วยเรดาร์ และเครื่องวัดน้ำฝนอัตโนมัติ) ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ตาก ชัยนาท ลพบุรี อุทัยธานี นครปฐม อ่างทอง นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ สระบุรี และสิงห์บุรี (13 จังหวัด)

เขื่อนศรีนครินทร์ มีน้ำไหลเข้าอ่างฯ ต่อเนื่องทุกวัน รวม 98.26 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนวชิราลงกรณ์ มีน้ำไหลเข้าอ่างฯ ต่อเนื่องทุกวัน รวม 410.04 ล้านลูกบาศก์เมตร

9.หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสระแก้ว ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 16 กรกฎาคม 2558 ขึ้นบินไปแล้ว 16 วัน รวม 67 เที่ยวบิน มีฝนตก 15 วัน จำนวนชั่วโมงบิน 98.50 ชั่วโมง ปริมาณการใช้สารฝนหลวง 48.4 ตันจังหวัดที่มีรายงานมีฝนตก (จากการตรวจวัดด้วยเรดาร์ และเครื่องวัดน้ำฝนอัตโนมัติ) ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง และจันทบุรี (5 จังหวัด)

ขณะที่นายวราวุธ ขันติยานันท์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ตั้งแต่มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งศูนย์ฝนหลวงพิเศษ 2 แห่ง ที่นครสวรรค์และเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นมา ทำให้การปฏิบัติการฝนหลวงของทุกหน่วย ทั้งหน่วยฝนหลวงพิเศษและหน่วยปกติที่มีอยู่เดิม ประสบความสำเร็จเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการเพิ่มเที่ยวบินในการโจมตีเมฆของศูนย์ฝนหลวงพิเศษ จึงทำให้มีฝนตกทุกวันในทุกพื้นที่เป้าหมาย และมีน้ำไหลลงเขื่อนสำคัญๆ มากขึ้น

ขณะที่ในช่วงนี้กำลังปรับแผนการช่วยเหลือในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา และเติมน้ำให้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ส่งผลให้เริ่มมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำของเขื่อนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้มีน้ำต้นทุนที่จะปล่อยเข้าสู่ระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภคบริโภค และเป็นการผลักดันน้ำเค็ม ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อีกทางหนึ่ง
กำลังโหลดความคิดเห็น