นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศล่าสุดมีปริมาณน้ำใช้การได้ ประมาณ 1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ส่วนปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 8,558 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 18
สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสัก) มีปริมาณน้ำใช้การได้ค่อนข้างน้อย เพียง 606 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 3 เท่านั้น ขณะที่ปริมาณฝนที่ตกในช่วงนี้ยังมีปริมาณน้อย เช่น ในพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณฝนที่ตกลงมาล่าสุดเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (12 ก.ค. 58) ยังไม่สามารถทำให้น้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำภูมิพลได้ เช่นเดียวกับกับเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิถต์ ที่ปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่จังหวัดน่าน ถึงแม้จะมีฝนตกลงมามากพอสมควร แต่ยังทำให้มีปริมาณน้ำฝนไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์น้อยเช่นกัน
ทั้งนี้ กรมชลประทานยังมีการระบายน้ำในเขื่อนหลัก 4 แห่ง ให้แก่พื้นที่ในเขตชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด เพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรมและอุปโภคบริโภค ในอัตราวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร เช่นเดิม ซึ่งหากสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนยังไม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อาจต้องมีการเตรียมการลดการระบายน้ำลง เพื่อให้สามารถยืดเวลาการมีน้ำในเชื่อนหลักออกไปให้มากกว่าสิ้นเดือนกรกฏาคมนี้
สำหรับแนวทางเตรียมการรองรับสถานการณ์ที่ปริมาณน้ำฝนมีน้อยนั้น อาจเป็นการปรับลดอัตราการระบายน้ำ หรือการชะลอการระบายน้ำลงบ้าง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่จริง โดยจะนำเสนอผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาและตัดสินใจต่อไป ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้
สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสัก) มีปริมาณน้ำใช้การได้ค่อนข้างน้อย เพียง 606 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 3 เท่านั้น ขณะที่ปริมาณฝนที่ตกในช่วงนี้ยังมีปริมาณน้อย เช่น ในพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณฝนที่ตกลงมาล่าสุดเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (12 ก.ค. 58) ยังไม่สามารถทำให้น้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำภูมิพลได้ เช่นเดียวกับกับเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิถต์ ที่ปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่จังหวัดน่าน ถึงแม้จะมีฝนตกลงมามากพอสมควร แต่ยังทำให้มีปริมาณน้ำฝนไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์น้อยเช่นกัน
ทั้งนี้ กรมชลประทานยังมีการระบายน้ำในเขื่อนหลัก 4 แห่ง ให้แก่พื้นที่ในเขตชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด เพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรมและอุปโภคบริโภค ในอัตราวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร เช่นเดิม ซึ่งหากสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนยังไม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อาจต้องมีการเตรียมการลดการระบายน้ำลง เพื่อให้สามารถยืดเวลาการมีน้ำในเชื่อนหลักออกไปให้มากกว่าสิ้นเดือนกรกฏาคมนี้
สำหรับแนวทางเตรียมการรองรับสถานการณ์ที่ปริมาณน้ำฝนมีน้อยนั้น อาจเป็นการปรับลดอัตราการระบายน้ำ หรือการชะลอการระบายน้ำลงบ้าง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่จริง โดยจะนำเสนอผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาและตัดสินใจต่อไป ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้