วันนี้ (8 ก.ค.2558) ปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์เหลืออยู่เพียงร้อยละ 5 หรือใช้การได้อีกเพียง 23 วันเท่านั้นหากไม่มีน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มเติม ถ้าหากเป็นฤดูฝนช่วงสภาวะปกติที่ฝนไม่ทิ้งช่วงหรือหากนำใช้การได้ในเขื่อนสิริกิติ์มีมากกว่านี้
นายสุเทพ เลิศศรีมงคล ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์กล่าวว่า เจ้าหน้าที่เตรียมประชุมหารือทางด้านเทคนิคว่าจะใช้วิธีไหนที่จะดึงน้ำที่อยู่ก้นอ่างเก็บน้ำมาใช้งาน ซึ่งตามหลักความเป็นจริงน้ำก้นอ่างนี้จะต้องเก็บเอาไว้เพื่อรักษาสภาพโครงสร้างของอ่างเก็บน้ำ
สภาพของอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ในขณะนี้บางจุดน้ำแห้งขอดจนเรือแพและเรือประมงต้องจอดนิ่ง พื้นที่อ่างเก็บน้ำบางส่วนกลายเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ ระดับน้ำในเขือนสิริกิติ์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยทำให้ชาวบ้านที่ใช่้ชีวิตอยู่ริมขอบอ่างเก็บน้ำลำบากมากขึ้น
ขณะที่นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทานยืนยันว่าปีนี้ปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศน้อยกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 30 ซึ่งเป็นปริมาณที่ต่ำที่สุดนับจากปี 2547จึงทำให้กรมชลประทานยังคงการระบายน้ำวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันเพื่อไม่ให้กระทบต่อน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค
"เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำน้อยมากรวมกันเพียง 600 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลมีน้ำอยู่เพียง 195 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 369 ล้านลบ.ม. เขื่อนแควน้อยประมาณ 66 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนป่าสักฯ มีประมาณ 45 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้นซึ่งถือว่าน้อยมาก" รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าว
ด้านนายอรรถพร ปัญญาโฉม ผู้อำนวยการจัดสรรน้ำสำนักงานชลประทานที่ 10 จ.ลพบุรี เปิดเผยว่า สำหรับสถานการณ์ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ต.หนองบัว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ขณะนี้ยังน่าเป็นห่วงหลังจากที่ยังคงไม่มีน้ำไหลลงเขื่อนป่าสักเป็นเดือนที่ 2 เข้าสู่เดือนที่ 3 แล้วนั้น ทำให้ปริมาณน้ำสะสมในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเหลือน้ำแค่ 48 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น หรืออยู่ที่ 5% ของความจุเต็ม 100% ที่ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ทางเขื่อนยังจำเป็นต้องระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพื่อรักษาระบบนิเวศ และช่วยเหลือด้านน้ำอุปโภค บริโภค ท้ายเขื่อนอยู่ที่ 15 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือวันละ 1.3 ล้านลูกบาศก์
ทั้งนี้หากสถานการณ์ยังคงเป็นแบบน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จะเหลือน้ำใช้ได้แค่ 30 วันเท่านั้นน้ำจะแห้งเขื่อนทันที หากยังไม่มีฝนตกลงมา หรือมีน้ำไหลเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ต่อจากนี้ได้จึงถือว่าเป็นช่วงวิกฤตมากของเขื่อนป่าสัก และเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงมากในขณะนี้ เพราะท้ายเขื่อนจะได้รับผลกระทบจากน้ำอุปโภค บริโภคอย่างแน่นอน
นายสุเทพ เลิศศรีมงคล ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์กล่าวว่า เจ้าหน้าที่เตรียมประชุมหารือทางด้านเทคนิคว่าจะใช้วิธีไหนที่จะดึงน้ำที่อยู่ก้นอ่างเก็บน้ำมาใช้งาน ซึ่งตามหลักความเป็นจริงน้ำก้นอ่างนี้จะต้องเก็บเอาไว้เพื่อรักษาสภาพโครงสร้างของอ่างเก็บน้ำ
สภาพของอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ในขณะนี้บางจุดน้ำแห้งขอดจนเรือแพและเรือประมงต้องจอดนิ่ง พื้นที่อ่างเก็บน้ำบางส่วนกลายเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ ระดับน้ำในเขือนสิริกิติ์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยทำให้ชาวบ้านที่ใช่้ชีวิตอยู่ริมขอบอ่างเก็บน้ำลำบากมากขึ้น
ขณะที่นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทานยืนยันว่าปีนี้ปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศน้อยกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 30 ซึ่งเป็นปริมาณที่ต่ำที่สุดนับจากปี 2547จึงทำให้กรมชลประทานยังคงการระบายน้ำวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันเพื่อไม่ให้กระทบต่อน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค
"เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำน้อยมากรวมกันเพียง 600 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลมีน้ำอยู่เพียง 195 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 369 ล้านลบ.ม. เขื่อนแควน้อยประมาณ 66 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนป่าสักฯ มีประมาณ 45 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้นซึ่งถือว่าน้อยมาก" รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าว
ด้านนายอรรถพร ปัญญาโฉม ผู้อำนวยการจัดสรรน้ำสำนักงานชลประทานที่ 10 จ.ลพบุรี เปิดเผยว่า สำหรับสถานการณ์ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ต.หนองบัว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ขณะนี้ยังน่าเป็นห่วงหลังจากที่ยังคงไม่มีน้ำไหลลงเขื่อนป่าสักเป็นเดือนที่ 2 เข้าสู่เดือนที่ 3 แล้วนั้น ทำให้ปริมาณน้ำสะสมในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเหลือน้ำแค่ 48 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น หรืออยู่ที่ 5% ของความจุเต็ม 100% ที่ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ทางเขื่อนยังจำเป็นต้องระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพื่อรักษาระบบนิเวศ และช่วยเหลือด้านน้ำอุปโภค บริโภค ท้ายเขื่อนอยู่ที่ 15 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือวันละ 1.3 ล้านลูกบาศก์
ทั้งนี้หากสถานการณ์ยังคงเป็นแบบน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จะเหลือน้ำใช้ได้แค่ 30 วันเท่านั้นน้ำจะแห้งเขื่อนทันที หากยังไม่มีฝนตกลงมา หรือมีน้ำไหลเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ต่อจากนี้ได้จึงถือว่าเป็นช่วงวิกฤตมากของเขื่อนป่าสัก และเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงมากในขณะนี้ เพราะท้ายเขื่อนจะได้รับผลกระทบจากน้ำอุปโภค บริโภคอย่างแน่นอน