รัฐมนตรีคลังชาติยูโรโซนหรือกลุ่มประเทศยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโรสิ้นสุดการหารือภายในกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (12 ก.ค.2558) โดยไม่มีข้อสรุปมาตรการช่วยกรีซ อย่างไรก็ตามบรรดารัฐมนตรีคลังยูโรโซนทั้ง 19 ประเทศ รวมถึงกรีซจะกลับมาหารือกันใหม่ช่วงสายวันนี้
ที่ประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซนเกิดความแตกแยกกันอย่างหนักในประเด็นให้เงินช่วยเหลือกรีซเป็นโครงการที่ 3 เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งประธานกลุ่มยูโรโซนกล่าวว่า มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในประเด็นความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ โดยชาติหลักที่ต่อต้านการรีบทำข้อตกลงตามข้อเสนอร้องขอจากกรีซ ประกอบด้วย เยอรมนีและฟินแลนด์
รัฐมนตรีคลังเยอรมนี ระบุว่า ไม่พร้อมที่จะยอมรับการคิดคำนวนที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เยอรมนีไม่สามารถเชื่อในคำมั่นสัญญาอะไรอีกแล้วเพราะฝ่ายกรีซได้ทำลายความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาและเยอรมนีมีระบบเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดในชาติยูโรโซน จึงเป็นชาติหลักที่ให้เงินกู้แก่กรีซ และสำหรับชาติที่ต้องการให้ช่วยกรีซโดยเร็วได้แก่ ฝรั่งเศส
หากการประชุมระดับรัฐมนตรียูโรโซนนี้ล้มเหลวก็จะเป็นหน้าที่การประชุมระดับประมุขรัฐของประเทศในยุโรป ทั้งนี้สื่อชั้นนำของโลกวิเคราะห์ว่ามีเพียงสัญญานอันน้อยนิดเท่านั้นว่าจะสำเร็จเป็นการบรรลุข้อตกลงเพื่อกอบกู้ระบบการเงินของกรีซไม่ให้ล่มสลายและไม่ให้กรีซต้องออกจากกลุ่มประเทศยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโร
รัฐบาลกรีซภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ซึ่งมีความคิดฝ่ายซ้าย ยื่นข้อเสนอเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารกลางแห่งยุโรป (ECB) อนุมัติโครงการเงินกู้ 5 หมื่น 3 พัน 5 ร้อยล้านยูโร มาต่อลมหายใจให้กรีซที่ถังแตกเงินหมดประเทศในระยะ 3 ปีข้างหน้า
สำหรับขณะนี้เงินที่พอจะมีไหลเวียนอยู่ภายในระบบเศรษฐกิจของกรีซได้มาจากการอนุมัติเงินจำนวนไม่มากก้อนหนึ่ง ซึ่งก็ทำให้ธนาคารทุกแห่งของกรีซปิดยาวมาตั้งแต่วันที่ 29 มิ.ย.2558 และประชาชนไปกดเงินจากตู้เอทีเอ็มได้แค่วันละ 60 ยูโรต่อคนเท่านั้น
ที่ประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซนเกิดความแตกแยกกันอย่างหนักในประเด็นให้เงินช่วยเหลือกรีซเป็นโครงการที่ 3 เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งประธานกลุ่มยูโรโซนกล่าวว่า มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในประเด็นความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ โดยชาติหลักที่ต่อต้านการรีบทำข้อตกลงตามข้อเสนอร้องขอจากกรีซ ประกอบด้วย เยอรมนีและฟินแลนด์
รัฐมนตรีคลังเยอรมนี ระบุว่า ไม่พร้อมที่จะยอมรับการคิดคำนวนที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เยอรมนีไม่สามารถเชื่อในคำมั่นสัญญาอะไรอีกแล้วเพราะฝ่ายกรีซได้ทำลายความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาและเยอรมนีมีระบบเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดในชาติยูโรโซน จึงเป็นชาติหลักที่ให้เงินกู้แก่กรีซ และสำหรับชาติที่ต้องการให้ช่วยกรีซโดยเร็วได้แก่ ฝรั่งเศส
หากการประชุมระดับรัฐมนตรียูโรโซนนี้ล้มเหลวก็จะเป็นหน้าที่การประชุมระดับประมุขรัฐของประเทศในยุโรป ทั้งนี้สื่อชั้นนำของโลกวิเคราะห์ว่ามีเพียงสัญญานอันน้อยนิดเท่านั้นว่าจะสำเร็จเป็นการบรรลุข้อตกลงเพื่อกอบกู้ระบบการเงินของกรีซไม่ให้ล่มสลายและไม่ให้กรีซต้องออกจากกลุ่มประเทศยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโร
รัฐบาลกรีซภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ซึ่งมีความคิดฝ่ายซ้าย ยื่นข้อเสนอเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารกลางแห่งยุโรป (ECB) อนุมัติโครงการเงินกู้ 5 หมื่น 3 พัน 5 ร้อยล้านยูโร มาต่อลมหายใจให้กรีซที่ถังแตกเงินหมดประเทศในระยะ 3 ปีข้างหน้า
สำหรับขณะนี้เงินที่พอจะมีไหลเวียนอยู่ภายในระบบเศรษฐกิจของกรีซได้มาจากการอนุมัติเงินจำนวนไม่มากก้อนหนึ่ง ซึ่งก็ทำให้ธนาคารทุกแห่งของกรีซปิดยาวมาตั้งแต่วันที่ 29 มิ.ย.2558 และประชาชนไปกดเงินจากตู้เอทีเอ็มได้แค่วันละ 60 ยูโรต่อคนเท่านั้น