สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ตำรวจโยนแกสน้ำตาและปะทะกับผู้ประท้วงที่สนับสนุนการออกเสียงโหวตโน (Vote NO) หรือการไม่รับเงื่อนไขของเจ้าหนี้ประเทศกรีซ กลางกรุงเอเธนส์ อย่างไรก็ตามการชุลมุนเข้าปะทะนี้ เป็นเพียงผู้ประท้วงกลุ่มเล็กๆ เท่านั้นและก็เลิกราไปในเวลาไม่นาน
วันพรุ่งนี้ (5 ก.ค.) ประชาชนชาวกรีกจะไปออกเสียงลงประชามติ ว่าจะรับหรือไม่รับเงื่อนไขจากเจ้าหนี้ของประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการยุโรป (EC) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารกลางแห่งยุโรป (EBC) ทั้งนี้เงื่อนไขของเจ้าหนี้เหล่านี้ออกมาจากที่ประชุม เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเรียกร้องให้กรีซปฏิรูปตามเงื่อนไขที่ให้ไปเพื่อแลกกับการปล่อยเงินกู้ก้อนสุดท้ายให้กรีซ ที่ประสบภาวะเงินหมดคลังไปใช้จ่ายภายในประเทศ รวมถึงชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศ ซึ่งกับไอเอ็มเอฟก็ผิดนัดไปแล้วและยังมีอีกหลายการชำระหนี้ที่กำลังจะถึงกำหนด
สำหรับผลการลงประชามติ จะออกมาได้ 2 แนวทาง ดังนี้ หากชาวกรีกส่วนใหญ่ Vote YES คือ ยอมรับเงื่อนไขเงินกู้ของกลุ่มเจ้าหนี้ อาจทำให้นายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีของกรีซ ไม่อาจจะอยู่ในตำแหน่งได้อีกต่อไป และเปิดทางสู่การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งรัฐบาลใหม่ อาจต่อต้านเงินอุดหนุน และส่งผลให้กรีซออกจากกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร หรือ ยูโรโซน หรือ เรียกว่า GREXIT นั่นเอง หรือรัฐบาลชุดใหม่ของกรีซอาจสนับสนุนให้ยอมรับเงินอุดหนุน ก็จะต้องเจรจากับเจ้าหนี้รอบใหม่ ซึ่งกรีซจะยังอยู่ในกลุ่มยูโรโซนต่อไป พร้อมกับได้รับเงินกู้งวดใหม่และก้มหน้ายอมรับการบังคับใช้มาตรการรัดเข็มขัด
ส่วนอีกแนวทางหนึ่ง คือ ผลการลงประชามติ Vote NO นั่นคือ ไม่ยอมรับเงื่อนไขเงินกู้ของกลุ่มเจ้าหนี้ กรีซก็จะพยายามเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อแก้ไขเงื่อนไขการกู้เงิน แต่หากเจ้าหนี้ไม่เห็นด้วยกับกรีซ ก็จะทำให้กรีซต้องออกจากกลุ่มยูโรโซนในที่สุด
ขณะที่นักวิเคราะห์เศรษฐกิจมองไปในทิศทางเดียวกันว่าผลการลงประชามติไม่น่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่นัก และไม่น่าจะมีผลเสียต่อกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร หรือ ยูโรโซนโดยรวม ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า รัฐบาลกรีซและเจ้าหนี้อาจจะหันหน้ามาเจรจากันอีกครั้ง
การลงประชามติของกรีซในครั้งนี้ นอกจากจะถูกมองว่าเป็นการตัดสินอนาคตของกรีซในยูโรโซนหรือกลุ่มประเทศยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโรแล้ว ยังเป็นการชี้่ชะตารัฐบาลฝ่ายซ้ายของนายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีด้วย ถ้าผลการประชามติไม่เป็นไปตามที่นายซีปราส ปลุกระดมโหวตโนหรือไม่รับ โดยจากผลโพลที่ออกมาล่าสุด ชี้ว่า ทั้งสองฝ่ายมีคะแนนสูสีกันอย่างยิ่ง ซึ่งพบว่า ชาวกรีกร้อยละ 43 จะออกเสียงปฏิเสธ ขณะที่อีกร้อยละ 42.5 จะออกเสียงยอมรับเงื่อนไขของกลุ่มเจ้าหนี้
วันพรุ่งนี้ (5 ก.ค.) ประชาชนชาวกรีกจะไปออกเสียงลงประชามติ ว่าจะรับหรือไม่รับเงื่อนไขจากเจ้าหนี้ของประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการยุโรป (EC) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารกลางแห่งยุโรป (EBC) ทั้งนี้เงื่อนไขของเจ้าหนี้เหล่านี้ออกมาจากที่ประชุม เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเรียกร้องให้กรีซปฏิรูปตามเงื่อนไขที่ให้ไปเพื่อแลกกับการปล่อยเงินกู้ก้อนสุดท้ายให้กรีซ ที่ประสบภาวะเงินหมดคลังไปใช้จ่ายภายในประเทศ รวมถึงชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศ ซึ่งกับไอเอ็มเอฟก็ผิดนัดไปแล้วและยังมีอีกหลายการชำระหนี้ที่กำลังจะถึงกำหนด
สำหรับผลการลงประชามติ จะออกมาได้ 2 แนวทาง ดังนี้ หากชาวกรีกส่วนใหญ่ Vote YES คือ ยอมรับเงื่อนไขเงินกู้ของกลุ่มเจ้าหนี้ อาจทำให้นายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีของกรีซ ไม่อาจจะอยู่ในตำแหน่งได้อีกต่อไป และเปิดทางสู่การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งรัฐบาลใหม่ อาจต่อต้านเงินอุดหนุน และส่งผลให้กรีซออกจากกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร หรือ ยูโรโซน หรือ เรียกว่า GREXIT นั่นเอง หรือรัฐบาลชุดใหม่ของกรีซอาจสนับสนุนให้ยอมรับเงินอุดหนุน ก็จะต้องเจรจากับเจ้าหนี้รอบใหม่ ซึ่งกรีซจะยังอยู่ในกลุ่มยูโรโซนต่อไป พร้อมกับได้รับเงินกู้งวดใหม่และก้มหน้ายอมรับการบังคับใช้มาตรการรัดเข็มขัด
ส่วนอีกแนวทางหนึ่ง คือ ผลการลงประชามติ Vote NO นั่นคือ ไม่ยอมรับเงื่อนไขเงินกู้ของกลุ่มเจ้าหนี้ กรีซก็จะพยายามเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อแก้ไขเงื่อนไขการกู้เงิน แต่หากเจ้าหนี้ไม่เห็นด้วยกับกรีซ ก็จะทำให้กรีซต้องออกจากกลุ่มยูโรโซนในที่สุด
ขณะที่นักวิเคราะห์เศรษฐกิจมองไปในทิศทางเดียวกันว่าผลการลงประชามติไม่น่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่นัก และไม่น่าจะมีผลเสียต่อกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร หรือ ยูโรโซนโดยรวม ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า รัฐบาลกรีซและเจ้าหนี้อาจจะหันหน้ามาเจรจากันอีกครั้ง
การลงประชามติของกรีซในครั้งนี้ นอกจากจะถูกมองว่าเป็นการตัดสินอนาคตของกรีซในยูโรโซนหรือกลุ่มประเทศยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโรแล้ว ยังเป็นการชี้่ชะตารัฐบาลฝ่ายซ้ายของนายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีด้วย ถ้าผลการประชามติไม่เป็นไปตามที่นายซีปราส ปลุกระดมโหวตโนหรือไม่รับ โดยจากผลโพลที่ออกมาล่าสุด ชี้ว่า ทั้งสองฝ่ายมีคะแนนสูสีกันอย่างยิ่ง ซึ่งพบว่า ชาวกรีกร้อยละ 43 จะออกเสียงปฏิเสธ ขณะที่อีกร้อยละ 42.5 จะออกเสียงยอมรับเงื่อนไขของกลุ่มเจ้าหนี้