นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมติดตามความคืบหน้าการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือ หมอชิตใหม่ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันให้บริษัทขนส่ง จำกัด หรือ บขส. ดำเนินการตามแผนงาน 2 ส่วน ดังต่อไปนี้
1.ให้คงสถานีขนส่งย่อยบางส่วนไว้ในพื้นที่เดิม แต่จะปรับลดขนาดพื้นที่ให้เล็กลงเหลือเพียง 16.43 ไร่ จากเดิม 70 ไร่ เพื่อใช้เป็นสถานีย่อยรองรับรถโดยสารสายสั้น 2 ประเภท คือ รถหมวด 30 หรือรถรับจ้างไม่ประจำทาง (รถนำเที่ยว) จำนวน 40 คัน และรถตู้ของ บขส. จำนวน 3,197 คัน ที่วิ่งในรัศมีห่างจากกรุงเทพฯ ไม่เกิน 300 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่ที่เหลือจากการนำไปทำเป็นสถานีย่อยอีกประมาณ 53 ไร่ บขส.จะคืนให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
2.ให้ บขส.เร่งจัดหาพื้นที่เพื่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งใหม่ เพื่อรองรับรถโดยสารสายยาวที่วิ่งในเส้นภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกำหนดว่าจะต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 80 ไร่ ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธินจะอยู่ฝั่งซ้าย หรือฝั่งขวาของถนนก็ได้ และต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่ในรัศมีออกห่างจาก กทม.ไปทางด้านทิศเหนือไม่ไกลเกินกว่ามหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
นายนพรัตน์ การุณยะวนิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายบริหารการเดินรถ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. กล่าวว่า บขส. จะออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนมาเสนอขายพื้นที่ เพื่อใช้ในการก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งใหม่ เบื้องต้นจะต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 80 ไร่ มีหน้ากว้างไม่ต่ำกว่า 80 เมตร คาดว่าภายใน 1-2 เดือนนี้ จะได้เอกชนผู้ชนะการเสนอขายพื้นที่ และจะเริ่มก่อสร้างปี 2559 เปิดให้บริการภายในปี 2561
1.ให้คงสถานีขนส่งย่อยบางส่วนไว้ในพื้นที่เดิม แต่จะปรับลดขนาดพื้นที่ให้เล็กลงเหลือเพียง 16.43 ไร่ จากเดิม 70 ไร่ เพื่อใช้เป็นสถานีย่อยรองรับรถโดยสารสายสั้น 2 ประเภท คือ รถหมวด 30 หรือรถรับจ้างไม่ประจำทาง (รถนำเที่ยว) จำนวน 40 คัน และรถตู้ของ บขส. จำนวน 3,197 คัน ที่วิ่งในรัศมีห่างจากกรุงเทพฯ ไม่เกิน 300 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่ที่เหลือจากการนำไปทำเป็นสถานีย่อยอีกประมาณ 53 ไร่ บขส.จะคืนให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
2.ให้ บขส.เร่งจัดหาพื้นที่เพื่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งใหม่ เพื่อรองรับรถโดยสารสายยาวที่วิ่งในเส้นภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกำหนดว่าจะต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 80 ไร่ ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธินจะอยู่ฝั่งซ้าย หรือฝั่งขวาของถนนก็ได้ และต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่ในรัศมีออกห่างจาก กทม.ไปทางด้านทิศเหนือไม่ไกลเกินกว่ามหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
นายนพรัตน์ การุณยะวนิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายบริหารการเดินรถ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. กล่าวว่า บขส. จะออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนมาเสนอขายพื้นที่ เพื่อใช้ในการก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งใหม่ เบื้องต้นจะต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 80 ไร่ มีหน้ากว้างไม่ต่ำกว่า 80 เมตร คาดว่าภายใน 1-2 เดือนนี้ จะได้เอกชนผู้ชนะการเสนอขายพื้นที่ และจะเริ่มก่อสร้างปี 2559 เปิดให้บริการภายในปี 2561