นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมการย้ายสถานีขนส่งหมอชิต ของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปให้สถานีขนส่งหมอชิตปัจจุบันคงพื้นที่สถานีขนส่งไว้บางส่วน โดยปรับลดขนาดพื้นที่ให้เล็กลงเหลือ 16.43 ไร่ จากเดิม 70 ไร่ สำหรับใช้เป็นสถานีย่อยรองรับรถโดยสารสายสั้น 2 ประเภท คือ รถหมวด 30 หรือรถรับจ้างไม่ประจำทาง (รถนำเที่ยว) 40 คัน และรถตู้ของบขส. 3,197 คัน ที่วิ่งในรัศมีห่างจากกรุงเทพไม่เกิน 300 กม.ส่วนพื้นที่ที่เหลือ 53 ไร่ บขส.จะคืนให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นำไปจัดสร้างสถานีกลางบางซื่อต่อไป
สำหรับพื้นที่จัดตั้งสถานี บขส.แห่งใหม่ คาดว่าจะต้องใช้พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 80 ไร่ บริเวณรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประกาศให้ภาคเอกชนเข้ามาเสนอพื้นที่การก่อสร้าง และ บขส.ต้องกลับไปเร่งทำแผนงานการสร้างให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อเสนอให้กระทรวงคมนาคมและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาเรื่องงบประมาณ หากเป็นไปตามกำหนดเดิมทาง บขส.จะต้องออกจากพื้นที่ในปี 2560
“แต่หากแผนงานโครงการเสร็จเร็วกว่ากำหนดก็สามารถเริ่มดำเนินการย้ายได้ทันที ส่วนการสร้างอู่จอดรถประจำทางของ ขสมก.คาดว่าจะใช้พื้นที่ประมาณ 9 ไร่ ติดกับพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ เพื่อให้การเดินทางของประชาชนมีความต่อเนื่อง”
สำหรับพื้นที่จัดตั้งสถานี บขส.แห่งใหม่ คาดว่าจะต้องใช้พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 80 ไร่ บริเวณรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประกาศให้ภาคเอกชนเข้ามาเสนอพื้นที่การก่อสร้าง และ บขส.ต้องกลับไปเร่งทำแผนงานการสร้างให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อเสนอให้กระทรวงคมนาคมและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาเรื่องงบประมาณ หากเป็นไปตามกำหนดเดิมทาง บขส.จะต้องออกจากพื้นที่ในปี 2560
“แต่หากแผนงานโครงการเสร็จเร็วกว่ากำหนดก็สามารถเริ่มดำเนินการย้ายได้ทันที ส่วนการสร้างอู่จอดรถประจำทางของ ขสมก.คาดว่าจะใช้พื้นที่ประมาณ 9 ไร่ ติดกับพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ เพื่อให้การเดินทางของประชาชนมีความต่อเนื่อง”