การประชุมกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ วันนี้ (6 ก.ค.) เริ่มที่มาตรา 96 ถึง 102 ว่าด้วยรัฐสภา โดย พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกกรรมาธิการฯ กล่าวว่า หมวดดังกล่าวมีคำขอแก้ไขจำนวนมาก เบื้องต้นกรรมาธิการฯ หารือในบางประเด็น อาทิ ตัดระบบโอเพนลิสต์ออก เปลี่ยนมาใช้วิธีหยั่งเสียงสมาชิกพรรคการเมืองแทน และจะแบ่ง ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 โดย ส.ส.บัญชีรายชื่อ จะลดเหลือ 150 คน ส.ส.แบบแบ่งเขต 300 คน รวมทั้งหมดไม่เกิน 450 คน และใช้ระบบสัดส่วนผสมเช่นเดิม
ส่วนเรื่องที่มาของ ส.ว.ขณะนี้ยังไม่ได้เข้าสู่วาระการพิจารณา คาดว่าจะเริ่มพิจารณาได้ในวันที่ 8 กรกฎาคมนี้
ทั้งนี้ พล.อ.เลิศรัตน์ ย้ำว่า สปช.จะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องดูที่ภาพรวม ให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนเป็นหลัก โดยเชื่อว่า สปช.จะเข้าใจหน้าที่ของตัวเองดี
ขณะที่การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) วันนี้พิจารณาวาระปฏิรูปที่ 26 เรื่อง การจัดการภัยพิบัติตามธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน มุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย การบูรณาการจัดการในภาวะฉุกเฉิน การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
จากนั้น จะพิจารณาวาระปฏิรูปที่ 11 เรื่องการปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดิน รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน โดยเป็นการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การทวงคืนที่ดิน และการจัดสรรที่ดินเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตลอดจนการให้มีกฎหมายป่าชุมชน เพื่อสร้างความสมดุลในการอนุรักษ์และฟื้นฟูด้วย
อย่างไรก็ตาม มีความเคลื่อนไหวของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ พีมูฟ โดยได้ยื่นหนังสือต่อ สปช.คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน เพราะเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการจัดการป่าชุมชน โดยเฉพาะการประกาศเขตอนุรักษ์ ซึ่งทับซ้อนที่อยู่อาศัยคนพื้นเมืองดั้งเดิม พร้อมเสนอให้แก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย
ส่วนการสัมมนาเพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ที่ จ.ชลบุรี ระหว่างวันที่ 18-24 กรกฎาคมนี้ ยังคงเป็นไปตามกำหนดเดิม เพื่อให้การยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้ จากนั้นจะส่งร่างฯ ให้ สปช.เพื่อให้โหวตลงมติต่อไป
ส่วนเรื่องที่มาของ ส.ว.ขณะนี้ยังไม่ได้เข้าสู่วาระการพิจารณา คาดว่าจะเริ่มพิจารณาได้ในวันที่ 8 กรกฎาคมนี้
ทั้งนี้ พล.อ.เลิศรัตน์ ย้ำว่า สปช.จะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องดูที่ภาพรวม ให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนเป็นหลัก โดยเชื่อว่า สปช.จะเข้าใจหน้าที่ของตัวเองดี
ขณะที่การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) วันนี้พิจารณาวาระปฏิรูปที่ 26 เรื่อง การจัดการภัยพิบัติตามธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน มุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย การบูรณาการจัดการในภาวะฉุกเฉิน การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
จากนั้น จะพิจารณาวาระปฏิรูปที่ 11 เรื่องการปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดิน รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน โดยเป็นการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การทวงคืนที่ดิน และการจัดสรรที่ดินเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตลอดจนการให้มีกฎหมายป่าชุมชน เพื่อสร้างความสมดุลในการอนุรักษ์และฟื้นฟูด้วย
อย่างไรก็ตาม มีความเคลื่อนไหวของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ พีมูฟ โดยได้ยื่นหนังสือต่อ สปช.คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน เพราะเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการจัดการป่าชุมชน โดยเฉพาะการประกาศเขตอนุรักษ์ ซึ่งทับซ้อนที่อยู่อาศัยคนพื้นเมืองดั้งเดิม พร้อมเสนอให้แก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย
ส่วนการสัมมนาเพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ที่ จ.ชลบุรี ระหว่างวันที่ 18-24 กรกฎาคมนี้ ยังคงเป็นไปตามกำหนดเดิม เพื่อให้การยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้ จากนั้นจะส่งร่างฯ ให้ สปช.เพื่อให้โหวตลงมติต่อไป