รายงานข่าวแจ้งว่า นายวสันต์ ศรีวัฒนะ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง กรมประมง ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าฯราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อแจ้งให้ทราบว่า กรมประมงมีนโยบายที่จะดำรงความหลากหลายทางธรรมชาติของปลาหรือสัตว์น้ำที่มีกระจายอู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำต่างๆ ในประเทศไทย โดยให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนคู่กับจังหวัดทุกจังหวัด จึงมีนโยบายให้แต่ละจังหวัด สืบประวัติชนิดสัตว์น้ำในพื้นที่จังหวัดเพื่อให้เป็นสัตว์น้ำประจำจังหวัด ซึ่งสำนักงานประมงพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ได้พิจารณาคัดเลือก ปลากระโห้ เป็นปลาประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร จากข้อพิจารณาดังนี้คือ
1. มีประวัติเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจเนื่องจากปลากระโห้เป็นปลาน้ำจืดไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาในการเปลี่ยนแปลงสภาพสิ่งแวดล้อมซึ่งส่งผลกระทบต่อจำนวนพันธุ์ปลาพื้นที่เมืองของประเทศ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมประมงเพาะพันธุ์ปลาที่อยู่ในลำน้ำดั้งเดิมเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟู ซึ่งปลากระโห้เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม้ว่ากรมประมงจะผสมเทียมได้สำเร็จด้วยพ่อแม่พันธุ์จากแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเขื่อนชัยนาทแต่ประสบปัญหาการขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์ซึ่งลดน้อยลง จึงทรงมีพระบรมราชานุญาติให้กรมประมงทดลองเพาะพันธุ์ ปลากระโห้ในสระพระตำหนักจิตรลดารโหฐานมา เนื่องจากจำได้ว่ามีปลากระโห้ในสระดังกล่าว ซึ่งน่าจะมีอายุ 40-50 ปี รุ่นเดียวกับปลาในสวนสัตว์ดุสิตหรือเขาดิน หลังจากนั้นอีก 1 ปีคือในปี พ.ศ. 2528 กรมประมงก็ประสบผลสำเร็จสามารถผสมเทียมปลากระโห้จากสวนพระตำหนักจิตรลดารโหฐานได้
2. เป็นพันธุ์ปลาดั้งเดิมที่มีอยู่ในลำน้ำเจ้าพระยาแต่ปัจจุบันตามธรรมชาติมีจำนวนลดลงและเป็นปลาที่อยู่ในโครงการรักษ์ปลาไทยของกรมประมง ส่วนเหตุผลข้อที่ 3 คือ เป็นปลาน้ำจืดตระกูล carp ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และ 4. ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดลพบุรีมีการเพาะพันธุ์ลูกปลากระโห้เพื่อปล่อยลงแหล่งน้ำในโอกาสสำคัญๆ แต่ยังคงมีปัญหาในการเพาะพันธุ์ปลากระโห้อยู่บ้างเนื่องจากเพาะพันธุ์ยากและขาดแคลนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ อีกทั้งปัจจุบันอาจมีเกษตรกรที่เลี้ยงปลากระโห้อยู่น้อยเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาเลี้ยงนาน
ทั้งนี้กรมประมงจึงขอให้ร่วมกันประชาสัมพันธ์ปลากระโห้ให้เป็นปลาประจำจังหวัดของกรุงเทพมหานครเพื่อให้ประชาชนได้ทราบ และตะหนักถึงความสำคัญของกระอนุรักษ์สัตว์น้ำเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป
1. มีประวัติเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจเนื่องจากปลากระโห้เป็นปลาน้ำจืดไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาในการเปลี่ยนแปลงสภาพสิ่งแวดล้อมซึ่งส่งผลกระทบต่อจำนวนพันธุ์ปลาพื้นที่เมืองของประเทศ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมประมงเพาะพันธุ์ปลาที่อยู่ในลำน้ำดั้งเดิมเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟู ซึ่งปลากระโห้เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม้ว่ากรมประมงจะผสมเทียมได้สำเร็จด้วยพ่อแม่พันธุ์จากแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเขื่อนชัยนาทแต่ประสบปัญหาการขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์ซึ่งลดน้อยลง จึงทรงมีพระบรมราชานุญาติให้กรมประมงทดลองเพาะพันธุ์ ปลากระโห้ในสระพระตำหนักจิตรลดารโหฐานมา เนื่องจากจำได้ว่ามีปลากระโห้ในสระดังกล่าว ซึ่งน่าจะมีอายุ 40-50 ปี รุ่นเดียวกับปลาในสวนสัตว์ดุสิตหรือเขาดิน หลังจากนั้นอีก 1 ปีคือในปี พ.ศ. 2528 กรมประมงก็ประสบผลสำเร็จสามารถผสมเทียมปลากระโห้จากสวนพระตำหนักจิตรลดารโหฐานได้
2. เป็นพันธุ์ปลาดั้งเดิมที่มีอยู่ในลำน้ำเจ้าพระยาแต่ปัจจุบันตามธรรมชาติมีจำนวนลดลงและเป็นปลาที่อยู่ในโครงการรักษ์ปลาไทยของกรมประมง ส่วนเหตุผลข้อที่ 3 คือ เป็นปลาน้ำจืดตระกูล carp ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และ 4. ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดลพบุรีมีการเพาะพันธุ์ลูกปลากระโห้เพื่อปล่อยลงแหล่งน้ำในโอกาสสำคัญๆ แต่ยังคงมีปัญหาในการเพาะพันธุ์ปลากระโห้อยู่บ้างเนื่องจากเพาะพันธุ์ยากและขาดแคลนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ อีกทั้งปัจจุบันอาจมีเกษตรกรที่เลี้ยงปลากระโห้อยู่น้อยเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาเลี้ยงนาน
ทั้งนี้กรมประมงจึงขอให้ร่วมกันประชาสัมพันธ์ปลากระโห้ให้เป็นปลาประจำจังหวัดของกรุงเทพมหานครเพื่อให้ประชาชนได้ทราบ และตะหนักถึงความสำคัญของกระอนุรักษ์สัตว์น้ำเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป