ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ล่าสุด (1ก.ค.) มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 866 ล้านลูกบาศก์เมตร มีการระบายน้ำเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของลุ่มน้ำเจ้าพระยารวมกัน วันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ณ วันที่ 30 มิถุนายน รวมกันประมาณ 7 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน จะเน้นส่งน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค และการรักษาระบบนิเวศ (ผลักดันน้ำเค็ม) เป็นหลัก โดยปริมาณน้ำที่มีอยู่จะเพียงพอใช้ไปจนถึงเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งจะตรงกับช่วงที่เกิดฝนตกชุกตามฤดูกาล ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ไว้
อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานได้วางแผนการใช้น้ำไปจนถึงช่วงหน้าแล้ง และต่อเนื่องไปจนถึงฤดูฝนปี 2559 ด้วย โดยจะสำรองน้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค 1,100 ล้านลูกบาศก์เมตร และรักษาระบบนิเวศน์อีก 1,400 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมกับปริมาณน้ำที่จะต้องสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูฝนปี 2559 อีกจำนวน 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นปริมาณน้ำที่จะต้องสำรองไว้ใช้ทั้งในหน้าแล้งและฤดูฝนปีหน้า จำนวน 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตร
อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานได้วางแผนการใช้น้ำไปจนถึงช่วงหน้าแล้ง และต่อเนื่องไปจนถึงฤดูฝนปี 2559 ด้วย โดยจะสำรองน้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค 1,100 ล้านลูกบาศก์เมตร และรักษาระบบนิเวศน์อีก 1,400 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมกับปริมาณน้ำที่จะต้องสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูฝนปี 2559 อีกจำนวน 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นปริมาณน้ำที่จะต้องสำรองไว้ใช้ทั้งในหน้าแล้งและฤดูฝนปีหน้า จำนวน 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตร