พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การพิจารณาปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ได้พิจารณาไปแล้ว 48 มาตรา ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องสิทธิพลเมือง ที่เปลี่ยนชื่อเป็นสิทธิปวงชนชาวไทย แต่เนื้อหาจะไม่ปรับแก้ในหลักการ เพราะต้องการให้ประชาชนเป็นใหญ่ตามเจตนารมณ์
สำหรับประเด็นที่จะมีการถกเถียงในหมวดนี้ ได้แก่ เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนมาตรา 62-65 ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมีสิทธิในการแสดงความเห็น และตัดสินใจในการบริหารงานท้องถิ่นได้
ส่วนข้อห่วงใยของนายธานินท์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยอมปรับแก้ให้สอดคล้องตามที่เสนอ 2 ประเด็น คือ ที่มาของกรรมาธิการตุลาการแต่ละศาลต้องไม่เป็นคนนอก เพื่อป้องกันการแทรกแซง รวมถึงประเด็นการไม่ให้ใช้หลักนิติธรรม พิจารณาคดีความของศาลยุติธรรม เพราะจะทำให้การพิจารณาคดีเป็นไปได้กว้างหลายทิศทางแบบศาลรัฐธรรมนูญ และอาจก่อให้เกิดปัญหา พร้อมยืนยันว่า ไม่ได้ชี้นำให้สมาชิก สปช.ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่มีความจำเป็น และเชื่อว่า สปช.จะใช้ดุลพินิจอย่างสมเหตุสมผล
สำหรับประเด็นที่จะมีการถกเถียงในหมวดนี้ ได้แก่ เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนมาตรา 62-65 ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมีสิทธิในการแสดงความเห็น และตัดสินใจในการบริหารงานท้องถิ่นได้
ส่วนข้อห่วงใยของนายธานินท์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยอมปรับแก้ให้สอดคล้องตามที่เสนอ 2 ประเด็น คือ ที่มาของกรรมาธิการตุลาการแต่ละศาลต้องไม่เป็นคนนอก เพื่อป้องกันการแทรกแซง รวมถึงประเด็นการไม่ให้ใช้หลักนิติธรรม พิจารณาคดีความของศาลยุติธรรม เพราะจะทำให้การพิจารณาคดีเป็นไปได้กว้างหลายทิศทางแบบศาลรัฐธรรมนูญ และอาจก่อให้เกิดปัญหา พร้อมยืนยันว่า ไม่ได้ชี้นำให้สมาชิก สปช.ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่มีความจำเป็น และเชื่อว่า สปช.จะใช้ดุลพินิจอย่างสมเหตุสมผล