พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยภายหลังการประชุมชี้แจงแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ในส่วนความเห็นของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญควรสะท้อนหลักคิดที่ให้ยึดประเทศชาติและประชาชนเป็นศูนย์กลาง และให้ความสำคัญแก่ประเทศชาติ และประชาชน รวมถึวรัฐธรรมนูญต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ และบริบทของสังคมไทย ซึ่งมีปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะ
ขณะเดียวกันต้องสะท้อนเอกลักษณ์ของตนเอง และต้องไม่เป็นเครื่องมือนำไปใช้ก่อเหตุความขัดแย้ง และรัฐธรรมนูญไม่ควรยืดยาว ข้อความในบางมาตรายังมีความยืดยาว และยังไม่ชัดเจนอาจเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดินและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ บางกลไกเสี่ยงต่อการทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ บทบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิรูปมีรายละเอียดมาก รวมทั้งมีองค์กรหรือคณะกรรมการตามรัฐธรรมนูญที่ให้เกิดขึ้นใหม่จำนวนมากเป็นภาระด้านงบประมาณ
ส่วนประเด็นที่ ครม.ให้น้ำหนักและให้ความสำคัญในการขอแก้ไข คือ มาตรา 130 เรื่องการเสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรีให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบก่อนแต่งตั้งนั้น ควรตัดออก เนื่องจากทำได้ยาก และใช้เวลานานเกินไป มาตรา 207 เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบคุณธรรม ควรตัดออก และเห็นควรให้แยกผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนไว้เหมือนเดิมไปก่อน
ส่วนมาตรา 279 เรื่องการกำหนดให้มีสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ เห็นว่าการกำหนดให้มี 2 องค์กรอาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงเห็นว่าควรรวมทั้ง 2 องค์กรเข้าด้วยกัน และปรับปรุงอำนาจหน้าที่และจำนวนให้เหมาะสม
ขณะเดียวกันต้องสะท้อนเอกลักษณ์ของตนเอง และต้องไม่เป็นเครื่องมือนำไปใช้ก่อเหตุความขัดแย้ง และรัฐธรรมนูญไม่ควรยืดยาว ข้อความในบางมาตรายังมีความยืดยาว และยังไม่ชัดเจนอาจเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดินและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ บางกลไกเสี่ยงต่อการทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ บทบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิรูปมีรายละเอียดมาก รวมทั้งมีองค์กรหรือคณะกรรมการตามรัฐธรรมนูญที่ให้เกิดขึ้นใหม่จำนวนมากเป็นภาระด้านงบประมาณ
ส่วนประเด็นที่ ครม.ให้น้ำหนักและให้ความสำคัญในการขอแก้ไข คือ มาตรา 130 เรื่องการเสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรีให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบก่อนแต่งตั้งนั้น ควรตัดออก เนื่องจากทำได้ยาก และใช้เวลานานเกินไป มาตรา 207 เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบคุณธรรม ควรตัดออก และเห็นควรให้แยกผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนไว้เหมือนเดิมไปก่อน
ส่วนมาตรา 279 เรื่องการกำหนดให้มีสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ เห็นว่าการกำหนดให้มี 2 องค์กรอาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงเห็นว่าควรรวมทั้ง 2 องค์กรเข้าด้วยกัน และปรับปรุงอำนาจหน้าที่และจำนวนให้เหมาะสม