นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร ร่วมลงนามในบันทึกความตกลงให้บริการคัดค้นข้อมูลแบบแสดงรายการภาษีอากรผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กับนายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เพื่อให้บริการคัดค้นข้อมูลในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับข้อมูลแบบแสดงรายการภาษีอากรแก่สำนักงาน ป.ป.ท.สำหรับตรวจสอบผู้เสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตในภาครัฐจากกรมสรรพากร
หลังจากที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนให้บริการคัดค้นข้อมูลแบบแสดงรายการภาษี ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กับหน่วยงานที่มีกฎหมายพิเศษรองรับ รวม 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรมบังคับคดี สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) โดยครั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) จัดเป็นหน่วยงานลำดับที่ 6
นายประยงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การขอข้อมูลเสียภาษีจากสรรพากร เพื่อต้องการสืบค้นข้อมูลการเสียภาษีของเอกชนซึ่งทำสัญญากับหน่วยงานรัฐ โดยมีส่วนรู้เห็นทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและเอกชน เช่น การนำเข้าเครื่องออกกำลังกาย โดยมีการสำแดงนำเข้าจากต่างประเทศในราคาต่ำเพียง 5-6 พันบาท แต่กลับนำมาขายให้กับส่วนราชการสูงกว่าถึง 10 เท่า ซึ่งได้เกิดขึ้นกับหลายหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งการสร้างสนามฟุตซอลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดขึ้น 20-30 พื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อต้องการนำข้อมูลการเสียภาษีของบริษัทเอกชนไปตรวจสอบการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างที่กำลังเกิดขึ้นในหลายหน่วยงาน จึงต้องติดตามเอาผิดทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชน
อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีการทุจริตการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มรายใหญ่วงเงิน 4,300 ล้านบาท โดยมีการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่หน้าระดับบริหารทั้งให้ออก ไล่ออกไปแล้วหลายราย รวมถึงการอายัดทรัพย์นับร้อยล้านบาทของอดีตผู้บริหารกรมสรรพากร สำหรับการตั้งคณะกรรมการเอาผิดทางวินัย การไล่เบี้ยเรียกร้องรับคืนค่าเสียหายจากบุคคลที่เกี่ยวข้องคาดว่าจะสรุปได้ในเดือนกรกฎาคมนี้ เพราะขณะนี้ ป.ป.ช.อยู่ระหว่างการสอบสวนทางคดี จากผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม จากตรวจสอบขั้นตอนการกระทำความผิดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ระบบไอทีของสรรพากรที่วางไว้ได้เตือนทุกขั้นตอนว่าการคืนภาษีรายดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบก่อนคืนภาษี แต่เจ้าหน้าที่ยังคืนภาษีให้เอกชนที่ร่วมกระทำความผิด ดังนั้ นจึงเกิดขึ้นจากการจงใจกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่จึงเกิดปัญหาการคืนเงินภาษีโดยทุจริต 4,300 ล้านบาท จึงยอมรับว่าแม้จะกระทำความผิดและปกปิดอย่างไร ทุกคนที่เกี่ยวข้องยังหนีความผิดไม่พ้น
ส่วนกรณีการตรวจสอบการเสียภาษียี่ปั๊วรายใหญ่ 3 ราย หลังจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลประสานความร่วมมือมายังกรมสรรพากร ขณะนี้ได้ตรวจสอบการเสียภาษีคืบหน้าไปมากแล้ว โดยมีทั้งการเคยยื่นเสียภาษีและไม่เคยเสียภาษีจากฐานรายได้จากการจำหน่ายสลาก จึงต้องพิจารณาการให้เสียภาษีย้อนหลังตามกฎหมายที่กำหนดไว้ คาดว่าจะสรุปได้ในเร็วๆ นี้
หลังจากที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนให้บริการคัดค้นข้อมูลแบบแสดงรายการภาษี ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กับหน่วยงานที่มีกฎหมายพิเศษรองรับ รวม 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรมบังคับคดี สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) โดยครั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) จัดเป็นหน่วยงานลำดับที่ 6
นายประยงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การขอข้อมูลเสียภาษีจากสรรพากร เพื่อต้องการสืบค้นข้อมูลการเสียภาษีของเอกชนซึ่งทำสัญญากับหน่วยงานรัฐ โดยมีส่วนรู้เห็นทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและเอกชน เช่น การนำเข้าเครื่องออกกำลังกาย โดยมีการสำแดงนำเข้าจากต่างประเทศในราคาต่ำเพียง 5-6 พันบาท แต่กลับนำมาขายให้กับส่วนราชการสูงกว่าถึง 10 เท่า ซึ่งได้เกิดขึ้นกับหลายหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งการสร้างสนามฟุตซอลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดขึ้น 20-30 พื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อต้องการนำข้อมูลการเสียภาษีของบริษัทเอกชนไปตรวจสอบการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างที่กำลังเกิดขึ้นในหลายหน่วยงาน จึงต้องติดตามเอาผิดทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชน
อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีการทุจริตการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มรายใหญ่วงเงิน 4,300 ล้านบาท โดยมีการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่หน้าระดับบริหารทั้งให้ออก ไล่ออกไปแล้วหลายราย รวมถึงการอายัดทรัพย์นับร้อยล้านบาทของอดีตผู้บริหารกรมสรรพากร สำหรับการตั้งคณะกรรมการเอาผิดทางวินัย การไล่เบี้ยเรียกร้องรับคืนค่าเสียหายจากบุคคลที่เกี่ยวข้องคาดว่าจะสรุปได้ในเดือนกรกฎาคมนี้ เพราะขณะนี้ ป.ป.ช.อยู่ระหว่างการสอบสวนทางคดี จากผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม จากตรวจสอบขั้นตอนการกระทำความผิดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ระบบไอทีของสรรพากรที่วางไว้ได้เตือนทุกขั้นตอนว่าการคืนภาษีรายดังกล่าวต้องมีการตรวจสอบก่อนคืนภาษี แต่เจ้าหน้าที่ยังคืนภาษีให้เอกชนที่ร่วมกระทำความผิด ดังนั้ นจึงเกิดขึ้นจากการจงใจกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่จึงเกิดปัญหาการคืนเงินภาษีโดยทุจริต 4,300 ล้านบาท จึงยอมรับว่าแม้จะกระทำความผิดและปกปิดอย่างไร ทุกคนที่เกี่ยวข้องยังหนีความผิดไม่พ้น
ส่วนกรณีการตรวจสอบการเสียภาษียี่ปั๊วรายใหญ่ 3 ราย หลังจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลประสานความร่วมมือมายังกรมสรรพากร ขณะนี้ได้ตรวจสอบการเสียภาษีคืบหน้าไปมากแล้ว โดยมีทั้งการเคยยื่นเสียภาษีและไม่เคยเสียภาษีจากฐานรายได้จากการจำหน่ายสลาก จึงต้องพิจารณาการให้เสียภาษีย้อนหลังตามกฎหมายที่กำหนดไว้ คาดว่าจะสรุปได้ในเร็วๆ นี้