นายสินชัย พึ่งตำบล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งขณะนี้ ทำให้ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ จ.ขอนแก่น, อุบลราชธานี และนครราชสีมา ส่วนเครื่องบินสำหรับปฏิบัติการฝนหลวงมีด้วยกัน 5 ลำ มีเครื่องขนาดใหญ่ 1 ลำ เครื่องบินขนาดเล็ก 4 ลำ ซึ่งได้มีการปฏิบัติการบินทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่การเกษตร และในเดือนมิถุนายนนี้ ได้มีแผนการบินปฏิบัติการทำฝนหลวงเพื่อเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 5 แห่ง ในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง, อ่างเก็บน้ำลำแชะ, อ่างเก็บน้ำมูลบน, อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง และอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ ซึ่งโดยปกติช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคมของทุกปี จะมีปริมาณน้ำฝนตกลงมารวมกันเฉลี่ย 1,300 มิลลิเมตร แต่ปีนี้ฝนทิ้งช่วงนาน จึงมีปริมาณน้ำฝนตกลงมาเติมน้ำในอ่างน้อยกว่าปีที่แล้วประมาณ 50% ซึ่งส่งผลกระทบต่อน้ำสำหรับใช้อุปโภคบริโภค และการเกษตรอย่างหนัก
ทั้งนี้ จากการบินปฏิบัติการฝนหลวงเหนืออ่างเก็บน้ำตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นมา สามารถเพิ่มปริมาณน้ำฝนได้ถึงร้อยละ 16 ดังนั้นจึงเหลือช่องว่างความห่างของปริมาณน้ำฝนจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 34 ซึ่งเป็นการบ้านให้เราต้องมาทำงานอย่างหนัก เพื่อลดช่องว่างนี้ให้ได้มากที่สุด โดยจะประสานขอเครื่องบินจากศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จาก จ.ขอนแก่น และ จ.อุบลราชธานี ให้มาช่วยเสริมปฏิบัติการทำฝนหลวงใน จ.นครราชสีมาด้วย พร้อมกันนี้ ได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานชลประทานที่ 8 และสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดนครราชสีมา เพื่อบูรณาการให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
ทั้งนี้ จากการบินปฏิบัติการฝนหลวงเหนืออ่างเก็บน้ำตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นมา สามารถเพิ่มปริมาณน้ำฝนได้ถึงร้อยละ 16 ดังนั้นจึงเหลือช่องว่างความห่างของปริมาณน้ำฝนจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 34 ซึ่งเป็นการบ้านให้เราต้องมาทำงานอย่างหนัก เพื่อลดช่องว่างนี้ให้ได้มากที่สุด โดยจะประสานขอเครื่องบินจากศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จาก จ.ขอนแก่น และ จ.อุบลราชธานี ให้มาช่วยเสริมปฏิบัติการทำฝนหลวงใน จ.นครราชสีมาด้วย พร้อมกันนี้ ได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานชลประทานที่ 8 และสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดนครราชสีมา เพื่อบูรณาการให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป