นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 58 อยู่ที่ระดับ 85.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ 86.2 ในเดือนเมษายน 58 ดัชนีความเชื่อมั่นพ.ค.ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน และเป็นค่าดัชนีฯที่ต่ำสุดในรอบ 1 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 57 ที่ค่าดัชนีอยู่ที่ 85.1 ทั้งนี้ ค่าดัชนีที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าดัชนีฯ ให้ลดต่ำลง เนื่องจากความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาภัยแล้งที่จะกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะภาคเกษตร ประกอบกับภาวะการแข่งขัน และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมทั้งความกังวลต่อการที่สหภาพยุโรปให้ใบเหลืองไทย กรณีการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) ซึ่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงและอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขณะที่การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา เป็นสัญญาณที่ดีต่อภาคการส่งออก ช่วยให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดต่างประเทศ
ขณะที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 100.9 ลดลงจากระดับ 102.1 ในเดือนเมษายน โดยพบว่า 3 เดือนข้างหน้าเอกชนมีความวิตกปัจจัยผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ระดับราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้น มีเพียงปัจจัยผลกระทบจากการเมืองในประเทศ และผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความกังวลน้อยลง
สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนพฤษภาคม ผู้ประกอบการเห็นว่าบทบาทของภาครัฐจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาวะที่กำลังซื้อชะลอตัว ขณะเดียวกันโครงสร้างการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบันไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในต่างประเทศ ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการปรับปรุงเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิต การพัฒนาฝีมือแรงงาน จะช่วยขยายโอกาสทางการตลาด และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาว
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าดัชนีฯ ให้ลดต่ำลง เนื่องจากความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาภัยแล้งที่จะกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะภาคเกษตร ประกอบกับภาวะการแข่งขัน และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมทั้งความกังวลต่อการที่สหภาพยุโรปให้ใบเหลืองไทย กรณีการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) ซึ่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงและอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขณะที่การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา เป็นสัญญาณที่ดีต่อภาคการส่งออก ช่วยให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดต่างประเทศ
ขณะที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 100.9 ลดลงจากระดับ 102.1 ในเดือนเมษายน โดยพบว่า 3 เดือนข้างหน้าเอกชนมีความวิตกปัจจัยผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ระดับราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้น มีเพียงปัจจัยผลกระทบจากการเมืองในประเทศ และผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความกังวลน้อยลง
สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนพฤษภาคม ผู้ประกอบการเห็นว่าบทบาทของภาครัฐจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาวะที่กำลังซื้อชะลอตัว ขณะเดียวกันโครงสร้างการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบันไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในต่างประเทศ ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการปรับปรุงเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิต การพัฒนาฝีมือแรงงาน จะช่วยขยายโอกาสทางการตลาด และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาว