นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยว่า การตั้งคำถามในการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญนั้น ควรตั้งเพียงคำถามเดียวคือ จะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น เหมือนตอนทำประชามติรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่จำเป็นต้องมีคำถามข้ออื่นจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ สปช. เพราะจะยิ่งทำให้ประชาชนสับสน โดยเฉพาะหากหากคำถามที่มาแทรกมีเนื้อหาไปขัดแย้งกับคำถามหลัก
ด้าน นายเสรี สุวรรณภานนท์ สปช. เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วย หากมีคำถามเรื่องการปฏิรูป 2 ปี เพราะช่วงเวลาใกล้เคียงกับการปฏิรูป 2 ปีอยู่แล้ว หากถามไปก็เสียของหรือไม่มีประโยชน์
ด้าน นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ระบุว่า ต้องรอดูว่า สนช. และ สปช. จะมีคำถามเพิ่มเติมจากคำถามหลัก ว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ และถ้ามีต้องดูว่าจะใส่คำถาม 3 ข้อรวม หรือแยก ในกระดาษใบเดียว เพื่อป้องกันการสับสน แต่มีข้อเสียคือต้องเสียงบประมาณเพิ่มขึ้น
ด้าน นายเสรี สุวรรณภานนท์ สปช. เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วย หากมีคำถามเรื่องการปฏิรูป 2 ปี เพราะช่วงเวลาใกล้เคียงกับการปฏิรูป 2 ปีอยู่แล้ว หากถามไปก็เสียของหรือไม่มีประโยชน์
ด้าน นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ระบุว่า ต้องรอดูว่า สนช. และ สปช. จะมีคำถามเพิ่มเติมจากคำถามหลัก ว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ และถ้ามีต้องดูว่าจะใส่คำถาม 3 ข้อรวม หรือแยก ในกระดาษใบเดียว เพื่อป้องกันการสับสน แต่มีข้อเสียคือต้องเสียงบประมาณเพิ่มขึ้น