นายใหญ่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คริสทีน ลาการ์ด แถลงกร้าวเตือนรัฐบาลกรีซในวันพฤหัสบดี (18 มิ.ย.) ว่า ไม่สามารถเลื่อนการจ่ายหนี้ก้อนโตที่ถึงกำหนดในสิ้นเดือนนี้ได้อีกแล้ว เป็นการเพิ่มแรงบีบคั้นในขณะที่บรรดารัฐมนตรีคลังของยูโรโซนเปิดประชุมกันเพื่อหาทางทำข้อตกลงคลี่คลายวิกฤตหนี้สินของเอเธนส์
ขณะที่บรรดารัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซน หรือที่เรียกขานกันว่า “ยูโรกรุ๊ป” กำลังเข้าประชุมกันที่ลักเซมเบิร์กในวันพฤหัสบดี (18) ในสภาพที่เรียกได้ว่า เกือบถอดใจกับการหาหนทางคลี่คลายวิกฤตหนี้สินของกรีซแล้ว ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ ได้กล่าวสำทับก่อนที่เธอจะเข้าร่วมการหารือคราวนี้ด้วย ว่า “ไม่มีระยะปลอดหนี้อีกต่อไปแล้ว” โดยเงื่อนไขชำระหนี้ระบุเอาไว้ว่าวันที่ 30 มิถุนายน ดังนั้นหากเมื่อเข้าสู่วันที่ 1 กรกฎาคมยังไม่มีการจ่าย ก็คือกรีซไม่ได้ชำระหนี้
วิกฤตหนี้กรีซใกล้จุดไคลแมกซ์เข้ามาทุกที เนื่องจากแพกเกจเงินกู้ล่าสุดซึ่งกรีซขอกู้จากพวกเจ้าหนี้ระหว่างประเทศทั้ง 3 อันได้แก่ สหภาพยุโรป (อียู) , ไอเอ็มเอฟ, และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) นั้น กำลังจะสิ้นสุดอายุลงในวันที่ 30 นี้แล้ว ขณะที่เอเธนส์ยังไม่สามารถตกลงเงื่อนไขกับฝ่ายเจ้าหนี้ เพื่อจะได้รับเงินกู้งวดสุดท้ายของแพกเกจดังกล่าว เป็นจำนวน 7,200 ล้านยูโร (8,100 ล้านดอลลาร์) จะได้นำไปชำระให้ไอเอ็มเอฟ 1,600 ล้านยูโรภายในวันที่ 30 เดือนนี้เช่นกัน และอีก 6,700 ล้านยูโรที่ต้องจ่ายให้อีซีบีในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (17) ถือเป็นครั้งแรกที่ธนาคารกลางของกรีซเอง ได้ออกมาแถลงเตือนว่า หากไม่สามารถตกลงกับเจ้าหนี้ได้ เอเธนส์อาจต้องออกจากยูโรโซนหรือกระทั่งออกจากอียูด้วยซ้ำ
ขณะเดียวกัน เริ่มปรากฏสัญญาณชัดเจนว่า พวกผู้นำทางการเงินในอียูมีการพิจารณาอย่างจริงจังเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่กรีซจะออกจากยูโรโซน โดยเจนส์ ไวด์แมนน์ ผู้ว่าการธนาคารกลางเยอรมนี แสดงความเห็นตรงไปตรงมาว่า หากไม่มีกรีซ สหภาพการเงินของยุโรปอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ไม่ถึงกับล่มสลาย
ทั้งนี้ บรรดาเจ้าหนี้ระงับเงินกู้งวดสุดท้ายไว้ก่อน เพื่อแลกเปลี่ยนกับมาตรการปฏิรูปเพิ่มเติมจากกรีซ ทว่า นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ที่ชูธงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดมาตั้งแต่ตอนหาเสียงเลือกตั้ง ปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงมาตรการที่สำคัญอย่างระบบบำนาญและภาษีมูลค่าเพิ่ม
ขณะที่บรรดารัฐมนตรีคลังกลุ่มยูโรโซน หรือที่เรียกขานกันว่า “ยูโรกรุ๊ป” กำลังเข้าประชุมกันที่ลักเซมเบิร์กในวันพฤหัสบดี (18) ในสภาพที่เรียกได้ว่า เกือบถอดใจกับการหาหนทางคลี่คลายวิกฤตหนี้สินของกรีซแล้ว ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ ได้กล่าวสำทับก่อนที่เธอจะเข้าร่วมการหารือคราวนี้ด้วย ว่า “ไม่มีระยะปลอดหนี้อีกต่อไปแล้ว” โดยเงื่อนไขชำระหนี้ระบุเอาไว้ว่าวันที่ 30 มิถุนายน ดังนั้นหากเมื่อเข้าสู่วันที่ 1 กรกฎาคมยังไม่มีการจ่าย ก็คือกรีซไม่ได้ชำระหนี้
วิกฤตหนี้กรีซใกล้จุดไคลแมกซ์เข้ามาทุกที เนื่องจากแพกเกจเงินกู้ล่าสุดซึ่งกรีซขอกู้จากพวกเจ้าหนี้ระหว่างประเทศทั้ง 3 อันได้แก่ สหภาพยุโรป (อียู) , ไอเอ็มเอฟ, และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) นั้น กำลังจะสิ้นสุดอายุลงในวันที่ 30 นี้แล้ว ขณะที่เอเธนส์ยังไม่สามารถตกลงเงื่อนไขกับฝ่ายเจ้าหนี้ เพื่อจะได้รับเงินกู้งวดสุดท้ายของแพกเกจดังกล่าว เป็นจำนวน 7,200 ล้านยูโร (8,100 ล้านดอลลาร์) จะได้นำไปชำระให้ไอเอ็มเอฟ 1,600 ล้านยูโรภายในวันที่ 30 เดือนนี้เช่นกัน และอีก 6,700 ล้านยูโรที่ต้องจ่ายให้อีซีบีในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (17) ถือเป็นครั้งแรกที่ธนาคารกลางของกรีซเอง ได้ออกมาแถลงเตือนว่า หากไม่สามารถตกลงกับเจ้าหนี้ได้ เอเธนส์อาจต้องออกจากยูโรโซนหรือกระทั่งออกจากอียูด้วยซ้ำ
ขณะเดียวกัน เริ่มปรากฏสัญญาณชัดเจนว่า พวกผู้นำทางการเงินในอียูมีการพิจารณาอย่างจริงจังเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่กรีซจะออกจากยูโรโซน โดยเจนส์ ไวด์แมนน์ ผู้ว่าการธนาคารกลางเยอรมนี แสดงความเห็นตรงไปตรงมาว่า หากไม่มีกรีซ สหภาพการเงินของยุโรปอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ไม่ถึงกับล่มสลาย
ทั้งนี้ บรรดาเจ้าหนี้ระงับเงินกู้งวดสุดท้ายไว้ก่อน เพื่อแลกเปลี่ยนกับมาตรการปฏิรูปเพิ่มเติมจากกรีซ ทว่า นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ที่ชูธงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดมาตั้งแต่ตอนหาเสียงเลือกตั้ง ปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงมาตรการที่สำคัญอย่างระบบบำนาญและภาษีมูลค่าเพิ่ม