นายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมแก้ไขปัญหาความสามารถรองรับเที่ยวบินของประเทศไทยอย่างมีบูรณาการร่วมกับทางสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ว่า มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดสรรเวลาเข้า-ออกของท่าอากาศยาน (Slot Committee) ชุดใหม่ ประกอบด้วย ผู้แทนจากกรมการบินพลเรือน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด คณะกรรมการดำเนินงานธุรกิจการบิน และ IATA มีหน้าที่วางแผนจัดสรรเวลาเข้า-ออกของท่าอากาศยานระยะเร่งด่วน 2 ปี รวมถึงแผนระยะกลางและยาว เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเดือนกันยายน 2558 สำหรับภาพรวมเที่ยวบินทั้งอุตสาหกรรมคาดว่าปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 800,000 เที่ยวต่อปี และปี 2559 จะเพิ่มขึ้นเป็น 900,000 เที่ยวต่อปี ซึ่งเมื่อถึงปี 2561 จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านเที่ยวต่อปี ปัจจุบันระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการบินยังไม่มีความพร้อมโดยเฉพาะการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 คาดว่าจะดำเนินการได้เป็นรูปธรรมปี 2562 ทั้งเรื่องอาคารผู้โดยสาร รันเวย์ที่ 3และระบบเทคโนโลยีใหม่จะเข้ามาปี 2560
อย่างไรก็ตาม ได้มีการมอบหมายให้คณะกรรมการดังกล่าวจัดสรรเวลาการเข้า-ออกท่าอากาศยานให้มีความเหมาะสม เช่น สายการบินใดที่ให้บริการในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้บริการจากผู้โดยสารสูง แต่ยังนำเครื่องขึ้น-ลงท่าอากาศยานไม่ตรงเวลา ก็จะทำการตักเตือนครั้งแรก และหากมีครั้งที่ 2 จะทำการย้ายช่วงเวลาการให้บริการไปอยู่ในช่วงเวลาปกติหรือย้ายการให้บริการไปขึ้น-ลงไปอยู่ที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา และจะดำเนินการขอใช้พื้นที่บางส่วนในเขตอันตราย หรือ Danger Area ของกองทัพอากาศที่ปัจจุบันมีประมาณร้อยละ 48-49 มาเสริมสภาพคล่องทางด้านการบินของท่าอากาศยานดอนเมือง
อย่างไรก็ตาม ได้มีการมอบหมายให้คณะกรรมการดังกล่าวจัดสรรเวลาการเข้า-ออกท่าอากาศยานให้มีความเหมาะสม เช่น สายการบินใดที่ให้บริการในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้บริการจากผู้โดยสารสูง แต่ยังนำเครื่องขึ้น-ลงท่าอากาศยานไม่ตรงเวลา ก็จะทำการตักเตือนครั้งแรก และหากมีครั้งที่ 2 จะทำการย้ายช่วงเวลาการให้บริการไปอยู่ในช่วงเวลาปกติหรือย้ายการให้บริการไปขึ้น-ลงไปอยู่ที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา และจะดำเนินการขอใช้พื้นที่บางส่วนในเขตอันตราย หรือ Danger Area ของกองทัพอากาศที่ปัจจุบันมีประมาณร้อยละ 48-49 มาเสริมสภาพคล่องทางด้านการบินของท่าอากาศยานดอนเมือง