มาเลเซียเชื่อมีศพทั้งหมด 139 ศพในหลุมที่พบอยู่ในค่ายกักกันผู้อพยพซึ่งอยู่ติดชายแดนไทย โดยที่แต่ละศพที่ขุดขึ้นมาพบว่าห่อด้วยผ้าขาวตามพิธีอิสลาม ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง ทะไลลามะ พระประมุขทางจิตวิญญาณของชาวทิเบต ได้ให้สัมภาษณ์เรียกร้อง อองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่าซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเช่นเดียวกับพระองค์ ยื่นมือเข้าช่วยเหลือชาวโรฮีนจา ด้านอเมริกาก็ระบุต้องการให้กัวลาลัมเปอร์สืบสวนคดีการค้ามนุษย์นี้อย่างโปร่งใสและรวดเร็ว เพื่อนำตัวคนผิดมาลงโทษ
วัน จูไนดี ตวนกู จาฟาร์ รัฐมนตรีช่วยมหาดไทยมาเลเซีย แถลงที่เมืองวัง เกเลียน รัฐปะลิส ในวันพฤหัสบดี (28 พ.ค.) ว่า จากขนาดหลุมศพและการสำรวจพื้นที่โดยรอบ ทำให้เชื่อได้ว่า หลุมศพแต่ละหลุมมีศพอยู่เพียงศพเดียว
มาเลเซียซึ่งเท่าที่ผ่านมา เอาแต่ปฏิเสธไม่ยอมรับลูกเดียว เพิ่งออกมาแถลงเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาว่า ค้นพบค่ายกักกันสิบกว่าแห่ง และหลุมศพอีก 139 หลุม ซึ่งเชื่อว่าเป็นค่ายกักกันผู้อพยพชาวโรฮีนจาและบังกลาเทศของพวกแก๊งค้ามนุษย์ ในบริเวณป่าทึบของรัฐปะลิส ใกล้ๆ ชายแดนไทย
ก่อนหน้านั้นตอนต้นเดือนนี้ ไทยได้พบหลุมฝังศพ 33 ศพและค่ายกักกันใกล้ๆ กับบริเวณที่มาเลเซียพบนี้ โดยที่ต่อจากนั้นฝ่ายไทยได้ทำการกวาดล้างเครือข่ายลักลอบขนคนเข้าประเทศและขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งส่งผลให้ผู้กระทำผิดตัดสินใจทิ้งผู้อพยพหลายพันคนลอยเรือกลางทะเล ถึงแม้ในช่วงแรกๆ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างปฏิเสธไม่ยอมรับผู้อพยพเหล่านี้ขึ้นฝั่ง แต่ในที่สุดเมื่อถูกแรงกดดันจากนานาชาติ มาเลเซียและอินโดนีเซียก็เปลี่ยนนโยบายและยอมรับให้เข้ามาพำนักเป็นการชั่วคราว
รัฐมนตรีช่วยจูไนดี กล่าวย้ำในวันพฤหัสบดีว่า วิกฤตผู้อพยพเหล่านี้ไม่ใช่เป็นปัญหาของมาเลเซีย แต่เป็นปัญหาของนานาชาติและของอาเซียน
ในวันเดียวกัน ทะไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบต ได้ทรงเรียกร้องระหว่างให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ดิ ออสเตรเลียน ขอให้อองซานซูจี ยื่นมือช่วยเหลือชาวโรฮีนจา
“นี่เป็นเรื่องน่าเศร้า ข้าพเจ้าหวังว่า อองซานซูจี ในฐานะผู้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ น่าจะทำบางอย่างได้” ทะไลลามะ ซึ่งเคยได้รับรางวัลโนเบลสาขานี้เช่นเดียวกัน ยังตรัสอีกว่า ซูจีต้องออกมาแสดงท่าทีในเรื่องนี้ และว่า ได้เคยทรงเรียกร้องเธอในเรื่องนี้มาแล้ว 2 ครั้งนับตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งขณะนั้นซูจียังถูกคุมขังด้วยการกักบริเวณไม่ให้ออกนอกบ้าน แล้วเกิดเหตุการณ์นองเลือดในรัฐยะไข่ของพม่า จากการยุยงให้ชาวโรฮีนจากับชาวพุทธแตกแยกกัน
ด้านผู้สังเกตการณ์มองว่า ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่า อาจสงบปากสงบคำเกี่ยวกับประเด็นโรฮีนจา เนื่องจากไม่ต้องการทำให้ชาวพุทธซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่พอใจ ก่อนถึงการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนนี้
วัน จูไนดี ตวนกู จาฟาร์ รัฐมนตรีช่วยมหาดไทยมาเลเซีย แถลงที่เมืองวัง เกเลียน รัฐปะลิส ในวันพฤหัสบดี (28 พ.ค.) ว่า จากขนาดหลุมศพและการสำรวจพื้นที่โดยรอบ ทำให้เชื่อได้ว่า หลุมศพแต่ละหลุมมีศพอยู่เพียงศพเดียว
มาเลเซียซึ่งเท่าที่ผ่านมา เอาแต่ปฏิเสธไม่ยอมรับลูกเดียว เพิ่งออกมาแถลงเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาว่า ค้นพบค่ายกักกันสิบกว่าแห่ง และหลุมศพอีก 139 หลุม ซึ่งเชื่อว่าเป็นค่ายกักกันผู้อพยพชาวโรฮีนจาและบังกลาเทศของพวกแก๊งค้ามนุษย์ ในบริเวณป่าทึบของรัฐปะลิส ใกล้ๆ ชายแดนไทย
ก่อนหน้านั้นตอนต้นเดือนนี้ ไทยได้พบหลุมฝังศพ 33 ศพและค่ายกักกันใกล้ๆ กับบริเวณที่มาเลเซียพบนี้ โดยที่ต่อจากนั้นฝ่ายไทยได้ทำการกวาดล้างเครือข่ายลักลอบขนคนเข้าประเทศและขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งส่งผลให้ผู้กระทำผิดตัดสินใจทิ้งผู้อพยพหลายพันคนลอยเรือกลางทะเล ถึงแม้ในช่วงแรกๆ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างปฏิเสธไม่ยอมรับผู้อพยพเหล่านี้ขึ้นฝั่ง แต่ในที่สุดเมื่อถูกแรงกดดันจากนานาชาติ มาเลเซียและอินโดนีเซียก็เปลี่ยนนโยบายและยอมรับให้เข้ามาพำนักเป็นการชั่วคราว
รัฐมนตรีช่วยจูไนดี กล่าวย้ำในวันพฤหัสบดีว่า วิกฤตผู้อพยพเหล่านี้ไม่ใช่เป็นปัญหาของมาเลเซีย แต่เป็นปัญหาของนานาชาติและของอาเซียน
ในวันเดียวกัน ทะไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบต ได้ทรงเรียกร้องระหว่างให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ดิ ออสเตรเลียน ขอให้อองซานซูจี ยื่นมือช่วยเหลือชาวโรฮีนจา
“นี่เป็นเรื่องน่าเศร้า ข้าพเจ้าหวังว่า อองซานซูจี ในฐานะผู้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ น่าจะทำบางอย่างได้” ทะไลลามะ ซึ่งเคยได้รับรางวัลโนเบลสาขานี้เช่นเดียวกัน ยังตรัสอีกว่า ซูจีต้องออกมาแสดงท่าทีในเรื่องนี้ และว่า ได้เคยทรงเรียกร้องเธอในเรื่องนี้มาแล้ว 2 ครั้งนับตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งขณะนั้นซูจียังถูกคุมขังด้วยการกักบริเวณไม่ให้ออกนอกบ้าน แล้วเกิดเหตุการณ์นองเลือดในรัฐยะไข่ของพม่า จากการยุยงให้ชาวโรฮีนจากับชาวพุทธแตกแยกกัน
ด้านผู้สังเกตการณ์มองว่า ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่า อาจสงบปากสงบคำเกี่ยวกับประเด็นโรฮีนจา เนื่องจากไม่ต้องการทำให้ชาวพุทธซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่พอใจ ก่อนถึงการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนนี้