xs
xsm
sm
md
lg

คำต่อคำ : คืนความสุขให้คนในชาติ 22 พ.ค. 2558

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สวัสดีครับพี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน ขณะนี้โรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศเริ่มเปิดภาคเรียนแล้วนะครับ การศึกษานั้นผมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลนี้ได้ให้การสนับสนุนดูแลมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ได้มีมาตรการเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง โดยการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนตั้งแต่ระดับอนุบาล จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมทั้งสายอาชีพด้วย ซึ่งรวมความไปถึงค่าการจัดการเรียนการสอน ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน ไปจนถึง 18 ปี และค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ทัศนศึกษา คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

สำหรับเรื่องการศึกษานั้น ผมขอแสดงความชื่นชมและยินดีกับเยาวชนไทยที่ได้ไปสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศของเราในการประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือหรือ ไอเซฟ ที่จัดขึ้นที่พิตซ์เบิร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งผลงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาของไทยในเรื่องการศึกษา พฤติกรรม และปัจจัยที่มีผลต่อการพ่นใยเพื่อผลิตแผ่นใยไหม ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศมาประเภทสัตวศาสตร์ พัฒนาโดยนายนัทธพงศ์ เชื้อศิริถาวร 2 นายธนานนท์ หิรัณย์วาณิชชากร และน.ส.สุทธิลักษณ์ รักดี จากโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จ.เชียงราย ความจริงเยาวชนของคนไทยนั้น ส่งผลงานเข้าประกวดทั้งหมด 5 รายการ และประสบความสำเร็จโดยคว้ามาถึง 9 รางวัล รายการนี้ ขอแสดงความยินดีและชื่นชมทุกคน ตั้งแต่เยาวชนเอง ถึงอาจารย์ ผู้ปกครอง รวมถึงทุกคนที่เกี่ยวข้องด้วยนะครับ ความสำเร็จครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของลูกหลานเยาวชนไทย ซึ่งถ้าได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นำไปขยายผลจนนำไปสู่ภาคการผลิต เชิงอุตสาหกรรม เชิงพาณิชย์ ก็จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้อนาคต เป็นภูมิปัญญาของลูกหลานเราเอง

ทั้งนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น ต่างเริ่มจากจุดนี้ เราต้องใช้เวลาที่มีอยู่ให้เร็วที่สุด ช่วยกันพัฒนาให้สามารถก้าวทันประเทศอื่นๆ ได้ หากเรายังใช้วิทยาศาตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมจากต่างประเทศทั้งหมดนั้น แล้วไม่สนับสนุน การวิจัยและพัฒนาภายในประเทศ เราคงจะต้องเป็นผู้ตามอยู่ร่ำไป แล้วก็ต้องจัดหาซื้อมาต่างๆ ซึ่งมันมีราคาสูง เราต้องเร่งการผลิตให้ได้จากผลวิจัยและพัฒนาที่ผมได้เรียนไปหลายครั้งแล้ว รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในแนวทางดังกล่าวนี้นะครับ ได้มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้กำหนดนโยบายที่ชัดเจน มีมาตรการสำคัญในการที่จะนำพาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เช่น ด้านนวัตกรรมก็ประกอบไปด้วยการขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยในการใช้ตลาดภาครัฐนำร่อง เปิดตลาดให้กับสินค้า บริการ นวัตกรรมของไทย การให้ภาครัฐสามารถจัดซื้อสินค้าบริการที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 แต่ไม่เกินร้อยละ 30 ของงบประมาณที่ได้รับ อันนี้จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานของเราเองเสียก่อนนะครับ และไปผ่านมาตรฐานต่างประเทศระยะต่อไปด้วยนะครับ

ด้านการสร้างความเข้มแข็งของเอสเอ็มอี ก็ดำเนินการกระจายขยายผลโครงการที่ปรึกษาเทคโนโลยีนวัตกรรม เพื่อช่วยผู้ประกอบการในการแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิค ซึ่งก็ตั้งเป้าหมายการพัฒนาผู้ประกอบการประมาณ 13,000 ราย และร่วมมือกับภาคเอกชนจะร่วมสนับสนุนงบประมาณ 1 ใน 3 เราประมาณ 5,000 ล้านบาท และคาดว่าจะทำให้เกิดผลดีต่อเอสเอ็มอี ทั้งในเรื่องของการเพิ่มกำไร ลดต้นทุน การเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งในเรื่องของการเพิ่มการลงทุน การจ้างงาน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 90,000 ล้านบาท ภายใน 6 ปี

สำหรับด้านแหล่งเงินทุนก็มีการจัดตั้งกองทุนที่จะระดมเงินร่วมลงทุนในลักษณะฟันด์ออฟฟันด์ โดยจะลงทุนผ่านกองทุนร่วมลงทุนที่จัดตั้งโดยมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเชิงธุรกิจ แล้วก็การจัดตั้งที่เกิดจากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยด้วย

ในเรื่องของการส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอีนั้น ทราบดีนะครับว่ามีธุรกิจหลายอย่างด้วยกัน เราก็จำเป็นต้องส่งเสริม ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ ทุน งบประมาณต่างๆ ที่จะสนับสนุน แต่ข้อสำคัญคือทุกคนต้องเข้ามาขึ้นทะเบียนให้เรียบร้อย เราจะได้รู้ว่าจัดระเบียบของท่านได้ จัดความต้องการของท่านได้ และจัดการสนับสนุน จัดสิทธิประโยชน์ให้กับท่านได้ ถ้าไม่มาขึ้นทะเบียน ไม่มาติดต่อกันเลย เราก็ไม่สามารถสนับสนุนได้อย่างทั่วถึง จะได้พิจารณาได้ว่าจะใช้งบประมาณอย่างไร จะใช้วิธีการอย่างไร ก็ได้ให้ สสว.ไปติดตามเรื่องนี้อยู่แล้ว

เรื่องของการบริหารจัดการภาครัฐนั้น เราจะเน้นบูรณาการหน่วยงานภาครัฐในทุกมิติ เข้าใจดีว่าวันนี้รัฐมีข้าราชการจำนวนมากพอสมควร แต่วันนี้ถ้าเราบอกต้องลดข้าราชการเลยทีเดียว มันอาจจะคงเป็นไปไม่ได้ เพราะวันนี้เรามีข้าราชการทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ก็เป็น อปท. เหล่านี้ และภาคประชาสังคม ทุกภาคส่วนต้องเข้มแข็งให้เห็นก่อน ถ้าเห็นก่อนเราก็สามารถจะลดลงได้ ไปส่งเสริมภาคเอกชน ภาคประชาสังคมแล้วรัฐก็จะถอยหลังมา เป็นผู้กำกับดูแล ผู้อำนวยความสะดวก ด้านกฎหมาย ด้านสิทธิประโยชน์ ด้านต่างๆเหล่านี้ผมว่าจะเร็วขึ้น อันนี้เข้าใจดี การจะปฏิรูป การจะลดหน่วยงาน หรือข้าราชการ ผมอยากจะให้ไปทำในขั้นตอนการปฏิรูป วันนี้ผมอยากให้ทำงานกันให้ได้ก่อน แก้ปัญหาให้ได้ก่อน และเดินหน้าขั้นต้นของการปฏิรูปประเทศก่อน ส่วนภาคประชาสังคมก็ต้องมาช่วยกัน อย่าเพิ่งมาขัดแย้งกันเลยในขณะนี้ ผมเข้าใจในความห่วงใยของทุกภาคส่วน ต้องเข้มแข็งก่อน จำไว้ อปท.และในส่วนภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ถ้าท่านคิดเหมือนกัน ตรงกันจัดกลุ่มได้ เราก็จะเดินหน้าไปด้วยกัน ถ้าอย่างนี้จับกลุ่มกันมาผมจะได้รู้ว่า ทั้งประเทศจะเข้มเเข็งได้แค่ไหน วันนี้ผมก็ได้ยินแต่ ข้อความห่วงใยอะไรต่างๆ แต่ท่านก็ต้องพูดถึงกลุ่มของตัวเองด้วย ว่าท่านพร้อมแค่ไหนอย่างไร อย่าหวังเพียงแต่ให้รัฐไปสนับสนุนอย่างเดียว มันคงไปไม่ได้ทั้งหมด

ในส่วนของการบูรณาการร่วมกันนั้น เช่น กระทรวงแรงงาน วันนี้ก็ต้องกำหนดตลาดแรงงาน ความต้องการแรงงาน เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และเตรียมการเขตเศรษฐกิจพิเศษ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อันนี้ต้องระมัดระวัง การเตรียมแรงงานต้องเพียงพอ 2.ไม่เกินจนเกินไป 3.ไม่มีคนมาใช้ประโยชน์จากตรงนี้ ในเรื่องของการค้ามนุษย์ แรงงานเยอะส่งบริษัทนั้นนี้ ต้องไม่เกิดขึ้น มันผิดกฎหมายการค้ามนุษย์ด้วย การเคลื่อนย้ายแรงงานจดทะเบียนไว้ข้างต้นแล้ว และยังไม่ครบ 1 ปี ก็ย้ายไปที่อื่นเหล่านี้ มันทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายในระบบนะครับ ผมย้ำกระทรวงแรงงานไปแล้ว

เรื่องของกระทรวงศึกษา เราต้องพร้อมในการผลิตแรงงานที่มีฝีมือระดับหัวหน้า หรือที่จะขับเคลื่อน สั่งการ รับคำสั่งเป็นภาษาต่างประเทศได้ เพื่อจะป้อนภาคการผลิต ซึ่งหลายส่วน 7-8 กิจกรรม ในการที่เรามีความพร้อมเข้าสู่อาเซียน มีกิจกรรมที่เรามีศักยภาพอยู่หลายอย่างด้วยกัน เราต้องป้อนโครงการเหล่านี้ด้วย ในส่วนของกระทรวงเกษตร กระทรวงอุตสาหกรรม เราต้องกำหนดปริมาณความต้องการผลผลิต ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ ในการหาตลาดระบายสินค้าทั้งภายในและต่างประเทศ กระทรวงไอซีที ทุกกระทรวง ด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม รวมทั้งกระทรวงการคลังต้องสนับสนุนในเรื่องแหล่งเงินทุนนะครับ ในเรื่องการที่จะให้ทั้งระบบมีการบูรณาการต่อเนื่องได้นั้น ผมอยากให้มองเช่น ผลผลิตการเกษตร เรามองเรื่องราคาอย่างเดียวไม่ได้ เพราะราคามันปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ตลาดโลกด้วย อาเซียนด้วย เพราะฉะนั้น ผมอยากให้ทุกคนคำนึงว่าเรากำหนดดีมานด์กันหรือยัง ว่ามันมีความต้องการอย่างไร แค่ไหน ประชาคมโลกอื่นๆ ไกลๆ อันที่สองคือ อาเซียนด้วยกัน อันที่สาม ใช้ในประเทศ อันที่สี่ใช้ในชุมชน ถ้าเรากำหนดสี่อย่างนี้ได้ มันคือคำตอบว่า ท่านจะผลิตเท่าไหร่ นั่นคือซัพพลาย ต้องทำให้มันสอดคล้องกับดีมานด์ ที่มีทั้งในและนอกประเทศ ถ้าเรากำหนดหัวท้ายอย่างนี้ ตรงกลางเป็นขบวนการ ต้องมีทั้ง ตั้งแต่ส่วนชุมชน ประชาชนสหกรณ์ มีคือ ในชุมชน ที่ประชาชนอยู่อาศัยกันเอง มีทางเลือกให้เขา อันที่สอง คือเป็นระดับที่เป็นภูมิภาค หรือเป็นจังหวัดเป็นอะไรมันก็เชื่อมโยงกับจังหวัดอื่นๆ ในกลุ่มจังหวัด ถ้าหาตลาดร่วมกันต่อไปก็ไปสู่ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษที่เราจะจัดตั้งอย่างเร่งด่วนนะครับ และไปสู่ประชาคมอาเซียน วันนั้น วันนี้สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจนั้น สภาพัฒน์รายงานว่า ไตรมาสแรกปี 58 มกราฯ-มีนาฯ เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3 ก็เป็นตัวเลขที่เราประมาณการจากการใช้จ่าย นำเข้า ส่งออกอะไรทำนองนี้ หลายตัวอย่างมาเป็นประกอบกันประเมินไว้อย่างนั้น เป็นตัวเลขที่เป็นการประมาณการทั้งสิ้น คาดว่าร้อยละ 3 มันจะเพิ่มมากกว่านี้ ลดกว่านี้ มันต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของเราเองด้วย รัฐพยายามเต็มที่ ต้องเข้าใจตรงนี้ด้วย เราบังคับตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้ ถ้าเราไม่เข้มแข็งพอมันก็ขึ้นไปได้มากกว่านี้ ถ้ามันมีมาตรการความเสี่ยงอื่นๆ ขึ้นไปอีก ปัจจัยภายนอกมาอีก มันลดลงกว่านี้ นั่นคือสิ่งที่เราบังคับไม่ได้ แต่เราต้องเตรียมความพร้อมไว้อย่างไร มีมาตรการชดเชยไว้อย่างไร ต้องคิดไว้ล่วงหน้าทั้งหมด วันนี้รัฐบาลเขาสั่งการมาอย่างนั้นนะครับ

ในการขยายตัวของเศรษฐกิจขึ้นไปร้อยละ 3 ในไตรมาสแรกนั้น เนื่องมาจากการบริโภคภาคเอกชน การบำรุงภาครัฐ ซึ่งเป็นเรื่องแรกนะครับที่จะทำให้เศรษฐกิจมันดีขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดอยู่แล้ว การบำรุงภาครัฐ มันอยู่ที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันนะครับ การท่องเที่ยวช่วงนี้ก็เจริญเติบโตดีนะครับมีคนมาเที่ยว วันนี้คนเห็นคนมาเยอะไปหมดเลย แถวทำเนียบฯ บ้าง แถววัดพระแก้ว พระที่นั่งจักรี เยอะแยะไปหมดคนเดินกันเต็มไปหมดเลย แสดงว่าเขาเกิดความเชื่อมั่นในสถานการณ์ในเมืองไทยแล้ว ก็ต้องช่วยกันรักษาไว้ อันนี้ก็เป็นผลจากที่รัฐบาลได้พยายามเร่งรัดทุกอย่าง ตั้งแต่การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงที่ผ่านมา การสร้างความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ ความสงบเรียบร้อยภายในบ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก็ทำให้ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน และต่างชาติ รู้สึกมั่นใจในการดำเนินการธุรกิจ ทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปตามปกติ ก็ต้องแก้ปัญหากันไป เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจที่มีความผันผวนตลอดเวลาเหล่านี้

วันนี้นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวเมืองไทยเพิ่มขึ้น นำรายได้เข้าประเทศมากขึ้น การจ้างงานก็เริ่มดีขึ้น ในเดือนเมษายน 2558 มีการจ้างงานอยู่ที่ 37.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นี่เป็นผลงานที่เราได้ทำร่วมกันมา ทั้งรัฐและประชาชน

อย่างไรก็ตาม เราก็ยังคงมีปัญหาในเชิงโครงสร้างเยอะแยะ ต้องใช้เวลาในการปรับปรุงแก้ไขอีกนานพอสมควร ต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วน ภาครัฐ เอกชน ประชาชน ประชาสังคม ต่างๆ เหล่านี้ ภาคธุรกิจ ก็ต้องมาช่วยกัน เพราะว่าเราพึ่งพาการส่งออกสูงกว่าร้อยละ 73 และสินค้าส่วนใหญ่ก็เป็นด้านการเกษตรทั้งสิ้น รายได้ทั้งหมด 70 เปอร์เซ็นต์ และเป็นเรื่องธุรกิจเอสเอ็มอีด้วย ซึ่งเรายังเข้มแข็งไม่เพียงพอนัก รัฐบาลเร่งรัดมาปีหนึ่งแล้ว ปีนี้ก็จะเร่งต่อไป

ขณะนี้ประเทศคู่ค้าของเราหลายประเทศ ทั้งในอาเซียน ในประชาคมโลกต่างๆ นั้น ก็ยังคงประสบกับปัญหาเศรษฐกิจในประเทศของตน ทำให้ภาคการส่งออกของเราได้รับผลกระทบไปด้วย

ขณะเดียวกัน ภาคการเกษตรเป็นอาชีพหลักคนไทยกว่า 23 ล้านคน ร้อยละ 37 ของจำนวนประชากรทั้งหมด แต่ผลผลิตที่เกิดขึ้นนั้นคิดเป็นมูลค่าเพียง 8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี เท่านั้น แสดงว่า ราคาผลผลิตทางการเกษตรมันตกลง ถึงแม้จะขายได้มากแต่ราคามันตก เพราะเราถูกควบคุมด้วยกฎกติกา ด้วยพันธสัญญาต่างๆมากมาย การลดสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ฉะนั้นราคามันตก ต้องสร้างตรงนี้ และจะปรับโครงสร้างภาคการเกษตรอย่างไร เราต้องคิดตรงนี้เป็นเรื่องระยะยาว ส่งเสริมควบคู่กันไปด้วย กับการลงทุนในด้านอื่นๆ เพื่อให้เกษตรกรไทย ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ และมีคุณค่ากับประเทศไทยมาเป็นเวลายาวนานให้มีความเข้มแข็ง สามารถจะพึ่งพาตัวเองได้ มีความสุข มีรายได้เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ก็เป็นไปตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งเราก็ได้วางแนวทางหลายๆอย่างไว้ดูแลพี่น้องเกษตรกร ให้เวลาพวกเขามากในการพบปะแต่ละครั้ง เราได้ช่วยเขา และวางแผนเขา เช่น ในการจัดสรรที่ดินทำกินแก่เกษตรกร ที่ใดที่หนึ่งในพื้นที่ที่เหมาะสม ประเทศไทยมีพื้นที่รวมทั้งหมด 320 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร 147 ล้านไร่ ฉะนั้นก็เกือบครึ่ง ดังนั้นต้องมีการดูแลจัดสรรพื้นที่ให้เหมาะสม ให้มีการทำการเกษตรเป็นหลักเป็นแหล่ง สร้างชุมชนในชนบทให้ได้ เพื่อจะลดในภาระในการจัดตั้งสาธารณูปโภคไปท้องไร่ท้องนาเสียหมด หรือจัดน้ำอุปโภค บริโภค เพื่อการเกษตร มันต้องจัดระเบียบใหม่ทั้งหมด วันนี้เราก็ได้เริ่มต้นเท่านั้นเอง

ในส่วนของการส่งเสริมการปลูกพื้ชที่เหมาะสมตามสภาพภูมิศาสตร์ และปริมาณน้ำในพื้นที่ วันนี้ต้องยอมรับว่าพื้นที่ทางการเกษตรในเขตชลประทานนั้นครอบคลุมเพียง 30 ล้านไร่ ประมาณแค่ 20% ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ส่วนที่เหลือจะทำอย่างไรก็ต้องโซนนิ่งพื้นที่การเกษตชัดเจน รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้วยแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสม ทั้งในเขตและนอกเขตชลประทานด้วยการปลูกพืช ด้วยการจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม อะไรไม่ได้ก็ต้องไปปลูกอย่างอื่น ไปทำอย่างอื่น เลี้ยงสัตว์บ้าง หรือไปทำอะไรอย่างอื่นที่มันเป็นห่วงโซ่กัน ไปผลิตปุ๋ยอะไรเหล่านี้ เพื่อจะดูแลกันพวกเรากันเอง ในสหกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งขึ้น และเป็นห่วงโซ่กันกับธุรกิจขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และมีการพัฒนาจากสหกรณ์ไปเป็นเอสเอ็มอี เป็นบริษัทเล็กน้อยต่อไปเป็นเถ้าแก่ใหม่ทำนองนี้ มันต้องคิดในภาพรวมต่อเนื่องเชื่อมโยงกันนะครับ พี่น้องสหกรณ์ต้องอดทน ผมพยายามจะดูแลให้ดีที่สุด

ในเรื่องของการดูแลค่าลดต้นทุนการผลิต ผมดูแล้วหลายอย่างเมล็ดพันธุ์ก็แพง 2.คือเรื่องปุ๋ยแพง 3.ที่แพงมีปัญหามากที่สุดคือ การเช่าที่ดินทำกิน ผมเข้ารายละเอียดไปแล้วปรากฏว่า ได้มีการเช่านา หรือเช่าที่ทำกินโดยที่ไม่ได้ทำสัญญา ส่วนใหญ่จะไม่ทำกัน เพราะว่าขึ้นอยู่กับผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่ามักจะไม่ทำสัญญา และถ้าหากว่าชาวนาชาวไร่ไม่จ่ายค่าตอบแทนไปตามที่เขากำหนดมา เขาก็ไปให้คนอื่นทำ นี่คือสิ่งที่เหมือนกับมัดมือชกกันอยู่ ผมจะให้เข้าไปดูรายละเอียด และจะต้องมีกฎหมาย หรืออะไรซักอย่างที่จะกำกับดูแลให้เป็นไปตามนี้ว่า การเช่าที่จะต้องทำสัญญาทั้งสิ้น ในสัญญานั้นต้องระบุให้ชัดเจนว่า ถ้ากรณีที่หากว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะทำอย่างไร ทั้งผู้ให้เช่า และผู้เช่านะครับ ต้องดูแลทั้งสองฝ่ายให้เกิดความสมดุลนะครับ ไม่อย่างนั้นเขาไม่อยากให้เช่า พอให้ออกก็ไม่ออก ต้องแจ้งล่วงหน้ากี่เดือน 6 เดือนก่อนไหมอะไรทำนองนี้ และกำหนดค่าเช่าให้มันเป็นธรรม ที่ไหนมีน้ำ ที่ไหนไม่มีน้ำ

สัปดาห์นี้ ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ หรือ คทช. ได้มีมติอนุมัติลดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้ประโยชน์ที่ดินของราษฎร เดิมนั้นไร่ละ 50 บาทต่อปี เหลือไร่ละ 25 บาทต่อปี ลดไปตั้ง 50% นะครับ วัตถุประสงค์มุ่งหวังก็คือให้ทุกคนทำให้มันถูกกฎหมายนะครับ มีสัญญาให้เรียบร้อย อย่าไปบุกรุกที่ดิน มันจะได้ไปขายได้ รับซื้อได้อะไรต่อไป ถ้ามันไม่อยู่ในเขตเอกสารสิทธิ์มันลำบาก มันก็ ดีมานด์เท่าเดิม ซัพพลายมากขึ้น ทั้งในพื้นที่มีเอกสารสิทธิ์ กับไม่มีเอกสารสิทธิ์ มันทำให้เกินไปมากๆ แล้วราคามันก็ตกหมด พื้นที่ยางเวลานี้มันเกินเป็นล้านไร่ กำลังแก้ ปีนี้น่าจะได้สัก 4 แสนไร่มั้ง ที่จะลดลงไป ก็จะทำให้ราคาดีขึ้น แต่ก็เป็นห่วงประชาชนที่มีรายได้น้อยที่บุกรุกเข้าไป ก็จะหามาตรการดูแล ในส่วนของนายทุนรีบออกมามอบคืนเสียโดยเร็ว มีความผิดตามกฎหมายทุกอย่างนะ

ทั้งนี้ ได้มอบให้กรมป่าไม้ช่วยดูแลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ต่างๆ และให้มีการจัดทำแปลงเพาะชำกล้าไม้ และปลูกป่าทดแทน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีศูนย์เพาะพันธุ์ไม้ในชุมชน ในตำบล หมู่บ้าน อะไรก็แล้วแต่ กรมป่าไม้ก็จัดหาเมล็ดพันธุ์และงบประมาณที่เหมาะสม แจกจ่ายให้ราษฎรในพื้นที่เข้าได้ดูแลกันเอง สร้างศูนย์เพาะชำของเขาเอง ปลูกเอง ดูแลและหาเงินทองให้เขานิดหน่อย ผมว่ามันก็จะดีขึ้นนะ อย่าหวังว่ารัฐจะทำคนเดียว แล้วมันก็เป็นบ่อเกิดของความไม่ไว้วางใจ การทุจริตอะไรต่างๆ เยอะแยะไปหมด ท่านต้องดูแลตัวเองให้ได้ ท่านเข้มแข็งพอแล้วรัฐก็จะค่อยลดจำนวนคน จำนวนหน่วยงานลงไป แล้วก็ชุมชนมาช่วยกัน วันนี้ถ้ายังไม่เข้มแข็ง รัฐบาลกับข้าราชการก็ต้องอยู่อย่างนี้ไปก่อน ท่านต้องทำให้ได้ภายใน 1-2 ปี ถ้าเป็นอย่างนั้นค่อยว่าไปสู่การกระจายอำนาจ การใช้งบประมาณต่างๆ รวมถึงการเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพด้วย ภาษีท้องถิ่นเหล่านี้ วันนี้อัตราภาษีเราก็ต่ำที่สุดในอาเซียน ขณะนี้หลายท่านก็เป็นห่วงว่ารายได้เราจะมาจากไหน นี่ไงครับ ถ้าเราไม่สร้างความเข้มแข็งให้มากขึ้น การเก็บภาษีก็น้อยลง แล้วอัตราภาษีเราก็ต่ำที่สุดในขณะนี้ แล้วมันจะไปกันยังไง ไปคิดกันทุกระบบนะ ถ้ามันติติงบางเรื่องมันก็ไปไม่ได้อยู่ดี

ในเรื่องของการสร้างความเข้มแข็งสหกรณ์ชุมชนเกษตรกรในพื้นที่นั้น เราต้องลดการพึ่งพาพ่อค้าคนกลาง หรือบริษัทต่างๆ ที่ผลิตออกมาในเรื่องเกี่ยวกับเรื่องต้นทุน โดยการต้องช่วยกันทำ ช่วยกันรวบรวม จำหน่ายสินค้า รวมความถึงให้สหกรณ์เป็นแหล่งศูนย์กลาง รวบรวมปัจจัยการผลิต ทั้งปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ วันนั้นผมไปดูแล้วเขาก็ช่วยตัวเองกันหลายสหกรณ์แล้วนะ มีความเข้มแข็งขึ้น มีการผสมปุ๋ยใช้เองให้เหมาะกับพื้นที่ มีหน่วยงานไปตรวจสอบ ไปผลิตทั้งปุ๋ยเคมี บางอย่างก็จำเป็นอยู่ บางพื้นที่ก็ลดลง ที่มันทำให้ดินเสียนะครับ แต่มันต้องใช้ไปก่อน แต่เพิ่มสัดส่วนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น ณ วันหน้าก็ลดทั้งหมด มันต้องไปอย่างนั้นก่อน อะไรที่ลดได้ก็ลดเลย อันนั้นเป็นพื้นที่ปลูกข้าวสุขภาพ ปลูกข้าวอินทรีย์ อะไรทำนองนี้ ต้องทำให้ได้นะครับ มันจะได้เพิ่มราคามูลค่าของสินค้า เราต้องการช่วยเหลือสมาชิกเกษตรกรในพื้นที่ให้ได้ ถ้าท่านในพื้นที่ยังอยู่ไม่ได้ ขายไม่ได้ ราคาไม่ดี รายได้ท่านได้น้อย พ่อค้าคนกลางเอาเปรียบอีกนะครับ ส่งไปขายต่างประเทศราคาตก ตามตลาดโลกอีก มันก็มีปัญหาอีก เพราะฉะนั้น ถ้าเราสามารถทำได้ พึ่งพากันเอง แลกเปลี่ยนกันเอง ขายกันเอง แบ่งปันกันบ้าง และสร้างรวมกลุ่มจากสหกรณ์ กลายเป็นธุรกิจ เอสเอ็มอี ก็ได้ เป็นบริษัทขึ้นมาก็ได้

วันนี้เป็นเรื่องของการพี่จูงน้อง เพื่อนเดินกับเพื่อน ไปหาซิครับ สร้างกลไกเหล่านี้ให้ได้ เอสเอ็มอีวันนี้ถ้าไม่จดทะเบียนก็ลำบาก เหมือนสหกรณ์ มี 6 อย่างตามแนวพระราชดำริพระเจ้าอยู่หัว 6 อย่างมีความแตกต่างออกไป นับตั้งแต่ ผลิต ขาย จำหน่าย ออมทรัพย์มีหมด วันนี้ ต้องไปปรับให้เข้าที่เข้าทาง ผมสั่งกระทรวงเกษตรไปแล้ว ขอความร่วมมือจากพี่น้องชาวเกษตรกรด้วย สร้างความเข้มแข็ง เราต้องส่งเสริมวิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มการเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ เช่น แปรรูปผลิตภัณฑ์ ช่วงนี้มีงานอยู่ที่ ที่เมืองทอง เป็นการพบปะระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ผลิต นำเข้าการส่งออกมีหลายประเทศ ที่มาร่วมงาน ถือเป็นงานระดับ 4 ของโลก ให้ไปดูกันหน่อย เสาร์อาทิตย์นี้ วันธรรมดาเขาจะให้ผู้ประกอบการไปเจอกัน เสาร์อาทิตย์เขาขายจำหน่ายปลีกด้วย อยากให้ดู จะได้ภูมิใจเหมือนผมภูมิใจ เรามีบริษัททั้งใหญ่ ทั้งกลาง ทั้งเล็ก มากมาย แล้วผลิตภัณฑ์ต่างๆ ขายได้หลายหมื่นล้านในต่างประเทศ ให้รีบไปดูนะครับ แล้วอะไรที่เล็กๆ ยังไม่พร้อม ให้ไปดูบ้างว่าเราต้องปรับปรุงตัวเองยังไง ไม่ใช่ ทุกคนก็ร้องหมด ไอ้นี่ไอ้นั่นจะเอาเงินไปลงทุนแต่ท่านไม่ได้ดูความพร้อมของท่านไม่ได้

วันนี้ หลายๆ อย่าง รัฐบาลอนุมัติไปแล้ว ในการรับรองเงินกู้ต่างๆ กสย.อะไรบ้างแต่ตัวเลขต่างๆ บางทีท่านต้องดูตัวท่านเองด้วยว่าท่านมีความพร้อมแค่ไหน ท่านมีศักยภาพแค่ไหน ถ้าท่านต้องการตัวเลขเดียวกันหมด ก็ไม่ได้มั้ง มันจะเอาเงินไปอีลุ่ยฉุยแฉกอีกนะแหละ เพราะงั้นผมต้องจัดระเบียบให้ได้ ท่านต้องเข้ามาหารัฐ รัฐก็จะจัดระเบียบให้ท่าน ว่าท่านอยู่เกณฑ์ไหน ควรเป็นวงเงินเท่าไหร่ ควรช่วยเหลืออะไรบ้าง เหล่านี้เป็นเรื่องการพัฒนาด้านการเกษตร และการค้าขาย ทั้งในชุมชน ท้องถิ่น ในภูมิภาค ในชายแดนนะครับ และประชาคมต่างๆนะครับ

ขอขอบคุณตัวแทนเกษตรกรต่างๆ นะครับ ที่ผมพบมา หลายครั้งที่ผ่านมา ที่เข้าใจความตั้งใจของภาครัฐ เขาก็ชื่นชม เขาบอกว่าถ้ารัฐบาลทำแบบนี้ เขาไปได้แน่นอน ที่ผ่านมาเขาไม่ได้รับการสอนแบบนี้ ก็แก้ปัญหาเป็นขั้นๆ ไป อันนี้เป็นสิ่งที่ท่านต้องไปตัดสินใจเอาเอง ว่าท่านต้องการแบบไหนที่จะยั่งยืน ต้องคิดเป็น ต้องคิดเอง ต้องศึกษาบ้าง ฟังบ้าง แล้วก็ปรับปรุงให้ได้ อย่าไปคิดแต่เพียงราคาอย่างเดียว ราคามันไปตามสถานการณ์โลก สถานการณ์ตลาดโลก แต่สิ่งที่ท่านจะช่วยกันได้จากนี้ คือการลดต้นทุนการผลิต นั่นล่ะ ราคามันจะต่ำ แต่ถ้าต้นทุนต่ำ ยังไงมันก็กำไร ยังไงมันก็อยู่ได้ อย่าไปมองเรื่องราคา บางทีมันไม่ได้ ขอรัฐจำนำ ขอรับประกันราคา แล้วมันจะไปขายใครล่ะ เป็นภาระคลังเก็บ เสื่อมสภาพไปอีก แล้วมันก็เสียหายต่อประเทศโดยรวม มันก็มีผลเรื่องการทุจริตผิดกฎหมายเข้าไปอีก วุ่นวายไปหมดนะ เพราะฉะนั้นต้องส่งเสริมให้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง ตัวเองมีการเก็บในยุ้งฉางเองบ้าง หรือเก็บไว้ในคลังของสหกรณ์บ้างอะไรบ้าง รัฐรับผิดชอบไม่ไหวนะ ต้องคลี่คลายตรงนี้นะ เพราะว่าเราไม่ต้องการผลประโยชน์อะไรทั้งสิ้น ผมคิดว่าเราจะไปหยุดตรงไหน ไปตรงไหน ให้รัฐบาลตรงไหน หรือใคร ไม่ใช่เลย ไม่มีนะ

ขอขอบคุณนะครับที่ทุกคนจะช่วยกันแก้ปัญหาระยะยาว พี่น้องเกษตรกรหลายท่านมีการลงทุนกันแล้ว ช่วยเหลือ ร่วมมือภาครัฐ เข้าไปหาศูนย์เกษตรกรที่จังหวัด มี 882 คนเข้าไปแล้ว นี่ผมให้ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน ตำบลที่มีผลผลิต อย่างที่เห็นแล้วไง จะได้ไปดูกัน จะได้นำไปเลียนแบบเอาไปทำที่บ้าน ตรงไหนที่ยังปลูกอยู่ พัฒนาให้ดีขึ้น ให้ได้ผลผลิตมากขึ้น ตรงไหนที่ไม่ดีก็ไปดูซิว่าเขาเปลี่ยนเป็นอะไร ราคาเท่าไร อยู่ได้มั้ย ถ้าทุกคนทำนา ทำไร่ และมีที่เล็กน้อยเพียง 5 ไร่ 10 ไร่ มันก็ลงทุนแพงไปหมด ต้องรวมกลุ่มนาให้ได้ อย่างน้อยก็ 100 ไร่ขึ้นไป รัฐบาลก็พยายามจะช่วย ได้มีการประชุมหารือกันหลายครั้ง ทั้งระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว การช่วยเหลือลดต้นทุนการผลิต ทั้งเมล็ดพันธุ์ ทั้งปุ๋ย ทั้งในเรื่องของค่าเช่าที่นา ต้องเป็นรูปธรรมให้ได้ภายในปีนี้ ผมขออนุญาตสั่งการทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

สำหรับในเรื่องของการช่วยเหลืออีกอัน ก็คือการช่วยเหลือจัดหาเครื่องไม้เครื่องมือทางการเกษตรที่ทันสมัย อาจจะต้องไปอยู่กับกรมพัฒนาฯ หรือหน่วยงานของทหารช่วยดูแล แล้วก็ไปช่วยร่วมมือกับท้องถิ่น กับกระทรวงมหาดไทย ในการร่วมมือที่รวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ เป็นแปลงเกษตรใหญ่ๆ มันจะได้ปรับราคาได้เท่าเทียมกัน และไปทำให้คนที่รับจ้างไถ รับจ้างทำอยู่แล้ว ก็จะเข้ามาร่วมมือกันตรงนี้ ราคามันก็เท่าเทียมกัน เป็นธรรม อย่าไปรีดเลือดกับปูกันอีกเลย ชาวบ้านก็ลำบากพออยู่แล้ว เห็นใจเขาบ้าง

ในเรื่องของการประชุมเกี่ยวกับเรื่องยาง ก็น่ายินดีที่ตอนนี้ยางก็ราคาขึ้นพอสมควร ก็ไม่มากมายนัก 50 ขึ้นไป 55-56-57 มันก็เป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็ดีขึ้น มันดีขึ้นเราก็ต้องเตรียมมาตรการลดความเสี่ยงว่าจะทำยังไง สิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องทำให้มันเกิดผลเป็นรูปธรรมก็คือการลดการผลิตยางในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ต้องไปดูแลว่าคนจนจะทำยังไง นายทุนจะทำยังไง นายทุนนี่มาได้เลย คืนมาได้เลย ไม่คืนก็ผิดกฎหมาย คนจนเดี๋ยวหามาตรการก่อนว่าจะทำยังไง เราก็ต้องช่วยลดต้นทุน เรื่องยางนี่สำคัญ เหมือนข้าว เหมือนทุกอัน ถ้าต้นทุนมันสูง วันนี้ต้องไปดูต้นทุนการทำยาง นอกจากคนเป็นเจ้าของยางแล้ว ต้องไปดูคนกรีดอีกต่างหาก บางไร่ บางสวน ก็ไม่ได้กรีดเอง ต้องไปจ้างคนมากรีด ไปดูซิว่ามีบริษัทมาหาคนมากรีดหรือเปล่า แล้วเงินทั้งหมดที่รัฐบาลทุ่มเทลงไป มันถึงเกษตรกร ถึงเจ้าของสวนยางเท่าไร ถึงผู้กรีดเท่าไร ไม่ใช่วันนี้ให้เจ้าของสวนยางไปแล้ว บอกผู้ผลิตเดือดร้อน ผู้ผลิตก็จะเอาอีก อันนี้ไม่ได้นะ ท่านต้องไปจัดระเบียบของท่านให้ได้ เมื่อวานพูดไปแล้วกับนายกกองทุนสวนยาง เขาก็รับปากว่าจะไปดูแลให้ ไปจดทะเบียนให้ แล้วท่านประธานสมาคมเกษตรกรแห่งชาติ ก็มาช่วยดูด้วยนะ คุณประพัฒน์ ท่านก็รับผิดชอบไปแล้ว ท่านต้องช่วยรัฐ อย่าให้รัฐไปตามอยู่คนเดียว ไม่ได้ เอาข้อมูลมาเปรียบเทียบ มาเช็กกันถึงความถูกต้อง เราจะทำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการทั้งหมดมีรายได้เพิ่มขึ้น สร้างวงจร สร้างห่วงโซ่ทางคุณค่า (Value chain) ขึ้นมาให้ได้ เสร็จแล้วก็ไปสร้าง community กับเอสเอ็มอีอื่นๆ กับบริษัทใหญ่ ส่งออก นำเข้า อะไรก็แล้วแต่ มันต้องเชื่อมโยงแบบนั้น เราก็จะต้องรับและถอยมากำกับดูแล หากฎหมายให้ สร้างความเข้มแข็งให้ หาทุนหาอะไรให้ อันนี้มันต้องเป็นอย่างนี้ อย่าไปทำแบบเดิมเลย

ขอขอบคุณนะครับพี่น้องเกษตรกรทุกประเภท และผู้ประกอบการภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ ข้าราชการทุกคน ที่ได้ร่วมมือร่วมใจกันแบบนี้ ภาคการเกษตรของเราจะเข้มแข็งได้ในเร็ววัน แล้วก็ไม่ต้องไปเสี่ยงต่อการที่เศรษฐกิจโลกมันผันผวน ราคามันลด อะไรต่างๆ ถ้าเราขายกันเองได้ กินกันเองได้ ราคามันไม่ตกหรอกครับ แล้วถ้าไปต่างประเทศ ถ้าเราไปรวมกับต่างประเทศเขาได้ หลายๆ ประเทศที่ทำกิจการร่วมกัน ถ้าโตมาได้ ร่วมมือกันได้ มันก็จะทำให้เรามีอำนาจในการต่อรอง เรื่องอาหาร เรื่องยาง เรื่องอะไรต่างๆ ซึ่งเราเป็นประเทศที่ผลิตได้เป็นลำดับ 4 ตัวเลขในโลก ถ้าอาเซียนนี้อยู่อันดับ 2 เพราะฉะนั้นก็ไปดูด้วยตรงนี้นะครับ

เพราะฉะนั้นการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของโลก มีความจำเป็นนะครับ ไปดูที่ผมบอกที่เมืองทอง น่าสนใจนะครับ ร้านค้ามากมาย สิ่งของหลายประเภท ทั้งสัตว์น้ำ ทั้งพืชพันธุ์ธัญญาหารทั้งหมด ประเทศไทยไม่ใช่ดินแดนที่ไม่มีความหวัง ไม่มีอนาคตนะครับ มีอนาคตทั้งสิ้น แต่โอกาสที่มีอยู่นั้นเราได้ไขว่คว้ากันมาหรือยัง ท่านต้องเอาวิกฤตต่างนี้เป็นโอกาสนะครับ อย่ามาสร้างความหวังให้กับผม กับรัฐบาล ท่านต้องเอาสิ่งที่รัฐบาลพูดไปปฏิบัติให้ได้ทั้งรัฐ เอกชน ประชาชน ประชาสังคม สร้างความเข้มแข็งให้ได้ เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน อย่ามามองว่า เอ๊ะทำอย่างนี้เดี๋ยวจะให้เงินไปอย่างนี้ จะทุจริตอย่างนี้ อย่างนี้ไม่เอา ถ้าอย่างนี้ไปไม่ได้ มาตรการที่ออกไปต้องทำไป ถ้ามันทุจริตก็ว่ามา ถ้ามาทำให้ผมต้องยกเลิก มันก็มีอยู่แค่นี้ ถ้ารัฐไม่เข้าไปมันก็จบแล้ว การจำหน่ายสินค้าการเกษตรของไทยนั้น เราต้องนำมาแปรรูปให้ได้ อย่างวันก่อนผมไปดูเรื่องอะไรนะ ผมสั่งเขาให้เอาข้าวไปทำขนมปัง ขนมปังข้าว เขาก็ทำให้ดู เมื่อวานผมเลยไปพูดว่า ผมก็ทานขนมปังตอนเช้าเหมือนกัน ทุกวันเลย ผมพูดเพื่อให้กำลังใจเขาไง เขาทำ ทางนี้ก็มีคนมาติว่า ไปขัดค่านิยมของผม ผมกะไว้แล้วว่า ต้องใช้ของไทย กลายเป็นผมไปกิน ไปทานขนมปังฝรั่ง อะไรกันผมว่ามันไม่ถูก อะไรที่ผมพูด บางครั้งเป็นการพูดเพื่อการยกตัวอย่าง เพื่อแสดง เพื่อจะข้อเปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเรื่องไหนก็แล้วแต่ แถลงการณ์ในสภาฯ บ้าง หรือพูดในห้องประชุมบ้าง บางทีสื่อเอาออกไปตีความผิดๆ หมด มันเหมือนกับจับผิดผมทุกอย่างเลย ไม่ใช่ ผมพูดต้องดูว่า ผมพูดเจตนาของผมคืออะไร และไปช่วยทำความเข้าใจกับผม ไม่ใช่เตือนผมมาว่า เรื่องนี้ไม่ดี พูดไปแล้วต้องไปแก้เอาเอง ไอ้อย่างนี้้แล้วมันจะเป็นสื่อไทยได้อย่างไร มันเป็นสื่อต่างประเทศหรือเปล่า เป็นสื่อไทยต้องช่วยกันสิครับ ถ้ารู้ว่าอะไรมันจะมีปัญหาท่านก็ไปแก้ให้ผม เพราะท่านก็รู้ว่า ผมเจตนาอะไร ถ้าท่านเตือนผมแล้วท่านไม่แก้ให้ผม แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น

งานสินค้าอาหาร 2558 ที่ทำเนียบคือ THAI FEX ที่เมืองทอง รีบไปนะ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดงานร่วมกับภาคเอกชน จัดครั้งที่ 11 เป็นการจัดสินค้าที่ต่อเนื่องกับอาหาร จากผู้ประกอบการในประเทศ ต่างประเทศ ครอบคลุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอาหารทุกประเภท อาหารฮาลาล เป็นการจัดเลี้ยงทั้งมีอาหาร การบริการต้อนรับ อาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วน สำเร็จมีหมด ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจแฟรนไชส์ การจัดงานครั้งนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานประมาณ 112,000 ราย ถ้าผมพูดวันนี้น่าจะเป็น 200,000 แล้วนะ ผมพูดนี่คือผมไปมาแล้วเดิน 2 ชั่วโมงกว่า ชิมทุกร้านเลย อร่อยทุกร้าน น่าปลื้มใจนะครับ มีหลายๆ ประเทศ นานาประเทศ งานนี้ผมดูแล้วไทยยังมีศักยภาพอยู่ ดูดี ดูสวยงาม น่าซื้อน่ากิน แล้วส่งออกเป็นหลายหมื่นล้าน หลายแสนล้าน นั่นแหละ คือธุรกิจการส่งออกด้านอาหารที่มันมีมูลค่าสูงขึ้น อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋องเหล่านี้ แต่ทำยังไงเกษตรกรเราที่อยู่ตรงนี้ที่ปลูก เป็นคนปลูกจริงๆ ทำไงจะไปถ่วงโซ่เชื่อมต่อเขาตรงนี้ได้ ถ้าบริษัทใหญ่ๆ ต่างๆ แบ่งส่วนหนึ่งครับ ส่วนหนึ่งช่วยเกษตรกร รับซื้อไปนะครับ ไปผลิต ส่วนที่สองคือท่านจะปลูกเอง อันที่สามจะจ้างปลูกก็เรื่องของท่าน ท่านทำมาแต่ให้เกิดสมดุลตรงนี้ ชาวไร่ ชาวนาก็ไม่รังเกียจ ก็ไม่มาโต้แย้ง ขัดแย้ง ทุกอย่างการค้าปลีก ค้าส่งต้องช่วยกันแบบนี้ ขอร้องภาคธุรกิจใหญ่ๆ นะครับ ผมพยายามอำนวยความสะดวกท่านอยู่แล้ว เพราะท่านเป็นการสร้างธุรกิจแบบข้ามชาติ ข้ามชาติคือข้ามไปทำธุรกิจที่ต่างประเทศ มีรายได้เข้าประเทศ ผมยินดี แต่ทำไงท่านจะช่วยเราในประเทศ ไม่งั้นในประเทศล้มฟุบไปหมด เพราะเขาสู้ต้นทุนกันไม่ไหว ท่านแบ่งมาให้ผมหน่อย ขอเลยนะครับ

เพราะงั้นเราคาดว่า งานนี้ เราน่าจะมีการสร้างมูลค่าการซื้อขายจากการเจรจาธุรกิจภายในงานนี้กว่า 8,000 ล้านบาท อาจจะมากขึ้นกว่านี้ด้วยซ้ำ ถ้าไปดูกันแล้ว ไปช่วยอุดหนุน ไปซื้อปลีกก็ได้ รัฐบาลหวังว่า การสนับสนุนครั้งนี้จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาหารโลกได้ในโลกใบนี้ และเราก็ไปเอาสินค้าประเทศอื่นที่เขาทำได้ดี และเราก็เป็นศูนย์กระจายสินค้าก็ได้ ศูนย์รวบรวมผลผลิตก็ได้ โรงงานอาจอยู่ไหนก็แล้วแต่ ประเทศไหนก็ได้ เราก็รับสินค้าเขามา แล้วทำให้เกิดมูลค่าสูงขึ้น ส่งออกก็ว่ามา เราทำธุรกิจได้ทุกอย่าง เป็นประเทศเสรีประชาธิปไตยอยู่แล้ว วันนี้ ถือว่าเป็นนะ ผมให้ทุกอย่างเดินหน้าไปหมด เราจะต้องวางรากฐานการพัฒนาให้ยั่งยืนทุกมิตินะครับ

พ่อแม่พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ วันนี้ เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง นับเป็นเวลา 1 ปี เต็มที่ คสช.ได้เข้ามาบริหารประเทศไทยของเราร่วมกับประชาชนทุกกลุ่ม ทุกคนที่เป็นคนไทยนะครับ ครบรอบ 1 ปี พอดี สถานการณ์ประเทศไทยเราก่อน 22 พฤษภาคม 2557 ทุกคนทราบดีถึงปัญหาความขัดแย้งการเมือง ความแตกต่างทางความคิด แล้วก็ซึ่ง มันเกิดเป็นเวลานานมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ในช่วงที่เกิดขึ้นมาแล้วนั้น คงไม่ต้องหาสาเหตุนะมาจากอะไร มันยุติให้ได้แล้วกัน อย่าให้เกิดขึ้นอีก โดยเฉพาะช่วงปลายปี 2556 ถึงต้นปี 57 นั้น มันเกิดสถานการณ์ทางการเมือง ทำให้เกิดปิดล็อค ทำให้สถานการณ์ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ แล้วเราพยายามให้ไปสู่การเลือกตั้งอยู่แล้วเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย แต่ทำไม่ได้อีก เพราะฝ่ายหนึ่งว่าไม่ผิด อีกฝ่ายหนึ่งก็ว่าผิด ผมถือว่าทั้งสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายที่ต่อต้านก็มีความตั้งใจอีกอย่าง ในการที่จะทำให้ทุกอย่างชัดเจน ฝ่ายอยู่ในรัฐบาลก็พยายามที่จะรักษาอำนาจในการบริหารแผ่นดิน ก็เดินหน้าไม่ได้จริงๆด้วยกฎหมาย ด้วยรัฐธรรมนูญต่างๆที่กำหนดไว้ มันก็ติดขัดไปหมด ในเชิงบริหาร ในแง่มุมทางกฎหมาย กติกาต่างๆ ก็อาจจะเรียกได้ว่า ประเทศไทยติดเดดล็อก ติดกับคำว่า กับดักประชาธิปไตย

ในส่วนสำคัญที่ทุกท่านคงจำได้ คือการแสดงออกทางการเมือง ผู้เห็นต่างนั้นจำเป็นที่จะต้องได้รับการปฏิบัติที่เป็นไปตามกฎหมาย ดูแลความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สิน มันเกิดมาหลายครั้งแล้วทุกรัฐบาล ยิ่งห้วงที่ผ่านมาต่างฝ่ายต่างก็เกิดทุกครั้งไป สลับกันไปมา ต่างฝ่ายต่างก็ใช้อาวุธสงครามผู้ที่ไม่หวังดี ก็ทราบดีอยู่แล้ว มีอาวุธสงคราม มีการต่อสู้ด้วยความรุนแรง เจ้าหน้าที่ถูกพาดพิงต่างๆมากมาย ต้องไปต่อสู้คดีทั้งที่เป็นการทำตามคำสั่ง ตามสิ่งที่ควรกระทำ ผมดูแล้วทั้งโลกเขาก็ทำแบบนั้น ถ้ามันเกิดการจลาจล เกิดการใช้อาวุธสงคราม ก็ต้องมาดูแลความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน มีการประกาศกฎหมายพิเศษอะไรต่างๆก็ว่ากันมา แต่เราข้ามาทุกอย่างแล้ว พ.ร.บ.ความมั่นคง พ.ร.บ.ฉุกเฉิน ก็เอาไม่อยู่ ฉะนั้นจะทำไงได้ ผมว่าเป็นอดีต อย่าให้เกิดขึ้นอีกเลย อดีตคืออดีต อะไรที่ไม่ดีก็อย่าไปทำอีก เราทำปัจจุบันให้ดีกว่า เพื่อสร้างปัจจุบันอันนี้มให้เป็นอนาคต และอดีตเหล่านั้นอย่าให้เกิดขึ้นอีกเท่านั้นเอง เราแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่เราสร้างอนาคตได้ สร้างปัจจุบันได้

สถานการณ์ต่างๆที่ผมกล่าวมานั้นมันไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งแรงขึ้นๆมาตามลำดับ เหมือนกับประเทศชาติจะล่มสลายลงไป ในช่วงเวลานั้นประชาชนชาวไทยเกือบทั้งประเทศก็ไม่ยอมรับในกติกาทั้งปวง ต่างคนต่างมีความคิดเห็นของตัวเอง เจ้าหน้าที่รัฐทำงานไม่ได้ บังคับใช้กฎหมายไม่ได้ รัฐบาลก็แก้ปัญหาไม่ได้ ก็เลยเกิดคณะรักษาความสงบแห่งชาติขึ้นมา เข้ามาควบคุมสถานการณ์โดยใช้กฎหมายพิเศษบ้าง และเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้ทุกอย่างเดินหน้าไปได้ เร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วน สิ่งที่บกพร่อง ไม่ถูกต้องนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ไปต่อสู้กันอย่างเป็นธรรม ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งอันที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีกับต่างประเทศ ทั้งนี้เราก็ต้องแก้ปัญหานี้ทั้งหมด บางอย่างตกลงเขาไว้แล้วไม่ได้ทำ บางอย่างก็ไม่ได้ปรับปรุงให้ทันสมัย วันนี้ต้องแก้ไขทั้งหมดนะครับ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง สร้างความเชื่อมั่นและกำลังใจในการค้า การลงทุนให้กับประเทศไทยของเรา ระยะแรกทุกคนทราบดี คสช.ได้เข้ามาบริหารราชการประมาณ 5 เดือน ได้ดำเนินการยุติความรุนแรง ปราบปรามจากอาวุธสงคราม สิ่งที่ผิดกฎหมาย บ่อนการพนัน ยาเสพติด การจัดระเบียบสังคม ปราบปรามผู้มีอิทธิพล และทำให้กระบวนการยุติธรรมสามารถทำงานได้ โดยไม่มีแรงกดดัน

ระยะที่ 2 คือหลังจากมีรัฐธรรมนูญชั่วคราว 57 แล้ว จัดตั้งรัฐบาล รัฐบาล ข้าราชการทุกคนได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการบริหารราชการ สร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศ อาจจะมีปัญหาอยู่บ้าง ความไม่เข้าใจกันบ้าง ความไม่ไว้วางใจกันบ้าง ก็ยังมีหลงเหลืออยู่ ผมพยายามที่จะให้ความเป็นธรรมทุกภาคส่วน ทุกคน อะไรที่ถูกก็ว่าไป อันไหนที่มันผิด หรือยังไม่ชัดเจนก็เข้ากระบวนการไป ปัญหาสำคัญที่เรากังวลมากก็คือ ปากท้องพี่น้องประชาชนนะครับ และพอดีปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่โชคดีที่ราคาน้ำมันตกต่ำ ต่ำลง แต่มันก็มีผลกับเรื่องภาษีสรรพสามิต ภาษีน้ำมัน ทั้งทำให้รายได้ของประเทศลดลงอีก มันมีทั้งวิกฤต และโอกาสนะครับ ปัญหาการค้ามนุษย์ก็โผล่เข้ามาอีก ทำประมงผิดกฎหมายก็เข้ามาอีก ปัญหาโรฮีนจาอีก ซ้อนเข้ามาอีกหลายๆ อย่าง ปัญหาเหล่านี้มันไม่ได้เพิ่งเกิดนะครับ เป็นปัญหาที่เกิดมานานแล้ว หมักหมมมานานแล้ว ฝ่ายความมั่นคงเขาพยายามแก้มาอยู่ตลอด วันนี้ต้องให้ทั้งฝ่ายการเมือง ฝ่ายความมั่นคง และประชาชนทุกภาคส่วนมาร่วมมือกันทั้งหมดนะครับ ต้องแก้ไขจริงจัง โปร่งใส เป็นธรรมนะครับ

รัฐบาลได้จัดกลุ่มงานเป็น 5 กลุ่ม เรียนอีกครั้งหนึ่ง กลุ่มงานความมั่นคง กระทรวงหลักก็มีอยู่แล้ว กลาโหม มหาดไทย และกระทรวงทรัพยากรฯ อะไรต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งมีผลกับทรัพยากร กับคน เรื่องเศรษฐกิจก็กระทรวงคลังบ้างอะไรบ้าง ด้านเศรษฐกิจนะครับ คงทราบอยู่แล้วแหละ 6-7 กระทรวง สังคม จิตวิทยา เรื่องการศึกษา สาธารณสุขอะไรเหล่านี้ การต่างประเทศจะมีการท่องเที่ยวด้วยอะไรด้วย และพัฒนาความมั่นคงมนุษย์ ซึ่งมันมีความติดต่อเชื่อมโยงกับต่างประเทศด้วย และที่สำคัญที่สุดก็คือ กลุ่มงานกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม ของกระทรวงยุติธรรม ปรับทุกอย่าง ทั้งระยะสั้น ระยะยาวก็เตรียมแผนในการปฏิรูปไว้ให้ สร้างบรรทัดฐานไว้ให้ แสวงหาความร่วมมือกับทุกประเทศรอบบ้าน สร้างเครือข่ายในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ให้มีความใกล้เคียงกัน เราจะได้ขจัดได้ทั้งระบบ เรื่องการทุจริตผิดกฎหมาย การลักลอบเข้าเมืองบ้าง ยาเสพติดที่มันไปทุกประเทศ ทุกภูมิภาคแล้วขณะนี้ ไทยต้องดำเนินการให้ได้ ร่วมมือกัน และบางอย่างก็ต้องแข่งขันกันกับนานาอารยประเทศได้ด้วย มันต้องมีความเชื่อมโยงกันอยู่แล้ว

เพราะฉะนั้นมันต้องอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน ร่วมมือกันในลักษณะที่ไว้วางใจกันซึ่งกันและกัน ลดความหวาดระแวง และมีส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่เป็นธรรมกับทุกประเทศที่ทำการค้า การลงทุน หรือว่าเป็นพันธมิตรกัน

ในส่วนของการปฏิรูปประเทศนั้น มันมีระยะต่อไป ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการ อันนี้ผมกราบเรียนอีกครั้งว่า สภาปฏิรูปจะมีหน้าที่ในการไปทำกระบวนการปฏิรูปต่อจากรัฐบาลผม จาก คสช. ให้ต่อออกไป ไม่ใช่รื้อของผมตั้งแต่แรก เพราะฉะนั้น รัฐบาลเดินหน้ามาอย่างนี้ เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล คสช. ผมต้องการวางรูปแบบนี้ แล้วท่านก็ไปวางว่าต่อไปเป็นยังไง ท่านก็ไปแก้รัฐธรรมนูญ แก้วันหน้านู้น แก้ผมตั้งแต่ต้น ก็บกพร่องหมดเลย ไม่ได้ ผมไม่ยอม รัฐบาลวางแนวทางให้เกิดความต่อเนื่อง จากรัฐบาลนี้ทำไว้ คสช.ทำไว้ หาแนวทาง วิธีการที่เหมาะสม มีกลไกที่จะควบคุมไม่ให้ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม อย่าให้ผมเป็นคนตัดสินใจทั้งหมด ท่านคิดมา ผมจะได้มีทางเลือก ว่าประชาชนต้องการอย่างนี้ ทุกคนบอกตกลงกันไม่ได้ และให้ คสช.ตัดสิน และผมต้องใช้อำนาจ มันจะจบไหมละครับ ตอบผมหน่อย ผมไม่อยากให้เกิดปัญหาอีกในอนาคต

วันนี้ เป็นวันครบรอบ 1 ปี เพราะฉะนั้น คสช.มีเจตนารมณ์ที่แนวแน่ในการคืนความสุขให้คนในชาติตลอดมา คืนมากบ้างน้อยบ้าง ตามลำดับปัญหา ปัญหาน้อยคืนได้เร็ว ปัญหามากคืนได้ช้า ปัญหาซับซ้อนยิ่งกว่า คืนไม่ได้ ต้องใช้เวลานะครับ ขอขอบคุณในความร่วมมือร่วมใจจากพี่น้องประชาชนทุกท่านอย่างสูง ขอบคุณสื่อทุกสื่อที่มีความหวังดี มีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการช่วยรัฐบาล แต่ขอให้ระวังหน่อย การเสนอข่าวต่างๆ ขอให้เสนอแนวทางแก้ไขด้วย นอกจากเสนอปัญหาอย่างเดียว บางครัง ผมก็ใช้คำชี้แจงค่อนข้างละเอียด ท่านต้องตีความผมให้เข้าใจให้ถูกต้อง สงสัยก็ถามมา เสนอปัญหา เสนอความรุนแรงอย่างเดียวมันก็รังแต่จะสร้างความขัดแย้งไปภูมิภาค ไปโน้นต่างชาติ เขามองประเทศไทยเป็นอะไร ตรงนี้ขอแค่นี้ ไม่ให้ปกปิดอะไรทั้งสิ้น ช่วยกันเดิน และบอกว่ารัฐบาลกำลังทำเรื่องนี้นะ กำลังแก้เรื่องนี้ อย่างนี้ เรื่องอะไร ศูนย์อพยพที่พักพิงต้องไม่เกิด เพราะวันนี้เรามีศูนย์อพยพพักพิงอยู่แล้ว ตั้งเท่าไหร่ 9 ศูนย์ 8 จังหวัด 140,000 คน 20 ปี แล้วนะครับ แต่ก่อนมี 4-5 แสน ต่อมาได้ 20 กว่าปี ยังเหลืออยู่แสนเลย จะทำยังไง นี่คือหน้าที่ ที่เรามีต่อยูเอ็นอยู่แล้วนะครับ

อันที่สองคือ นิวซีแลนด์ เนื่องจากประเทศรอบบ้านเรามีประชาชนอยู่ใกล้กับเขตแดนไทย เพราะฉะนั้น การศึกษาเล่าเรียน การเข้าโรงพยาบาลต่างๆ รัฐบาลไทยดูแลทั้งสิ้น อันนี้ หน้าที่ของเราที่มีต่อประชาคมโลกในเรื่องของที่จะทำ เพราะฉะนั้น เราไม่สามารถไปรับเพิ่มเติมมากกว่านี้ โดยไม่จำเป็นนะครับ แต่อะไรก็ตาม เราต้องเริ่มการแก้ปัญหาด้วยการดูแลเรื่องมนุษยธรรมก่อน ต่อไปก็สอบถามความสมัครใจเขา มีกฎของยูเอ็นอยู่แล้ว เขาอยากทำอะไร อยากไปไหน ต้องถามเขาก่อน แต่ถ้าเข้ามาในเขตไทย มีกฎหมายไทยอยู่นะ ชัดเจน เข้ามาก็ต้องอยู่ในพื้นที่ควบคุม ดำเนินคดีไปตามกฎหมาย อันนี้ไม่ใช่ศูนย์อพยพพักพิงนะ เป็นพื้นที่ควบคุมนะ ขอทำความเข้าใจด้วย กฎหมายไทยเป็นอย่างนั้น ถ้าสมมุติว่าอยู่ตรงนี้มากขึ้นเรื่อยๆ มันก็จะบานปลายไปเรื่อย แล้วทำยังไง ฉะนั้นวันนี้ก็มีการหารือกันในการประชุมวันที่ 29 ก็ไปคุยกันในนั้นต่อว่าจะทำยังไงต่อไป ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ไทยก็จะต้องเอาปัญหาของเราให้เขาทราบด้วย ว่าคน 1 แสน 7 หมื่นจะทำยังไงต่อไป แล้วที่กำลังควบคุมอยู่ในเรื่องของการผิดกฎหมายข้ามแดน มีทั้งโรฮีนจา มีทั้งหลายๆ ประเทศ อยู่ในที่ควบคุมของ ตม.เยอะแยะเลย เราก็ต้องขยับขยายให้มันมีความสุขความสบายขึ้น ไม่อย่างนั้นเราก็โดนองค์กรต่างๆ มาตำหนิอีก นี่คือสิ่งที่เราดูแลอยู่แล้ว หนึ่ง ต้องตามหลักมนุษยธรรม ตามกฎกติกาของโลก เป็นมติ ก็ทำทั้งหมดนะ แต่เรื่องที่จะรับผิดชอบอะไรอย่างนี้ ขอว่ากันอีกทีนะ ตามเหตุผลและความจำเป็น ของเราก็มีเยอะอยู่แล้ว บางคนก็ลืมไปแล้วว่าเรามีศูนย์ที่พักพิงอยู่แล้ว 9 ศูนย์

เพราะฉะนั้น ความหวังของเรา เราก็จะดำเนินการทุกเรื่องให้ประเทศเรามีความสงบเรียบร้อยแบบนี้ เพื่อจะมีอนาคต มีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในภายภาคหน้า วันนี้เราก็ได้มีการปรับรูปแบบการบริหารราชการ การใช้จ่ายงบประมาณ การวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว และประชาชนจะต้องมีความสุข มีความพึงพอใจ เรากำหนดวิสัยทัศน์ของเราไว้แล้วว่า ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ก็ขอให้ประชาชนทุกคน ทุกภาคส่วน กรุณาให้ความร่วมมือ ให้กำลังใจกันบ้าง กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และอย่ายอมให้ใครมาทำให้บ้านเมืองเสียหายอีกต่อไป แล้วก็อย่าไปฟังคำพูดต่างๆ ที่มีการบิดเบือน สงสัยอะไรถามผมมาทุกเรื่องผมตอบได้ทั้งหมด ก็ขอให้ร่วมมือกับเราต่อไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศชาติของเราจะมีอนาคตที่ดี และประชาชนทุกคนมีความสุข ก็ขอขอบคุณครับ สวัสดีครับ

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล

สวัสดีครับท่านผู้ชม วันนี้ผมพาทีมงานเศรษฐกิจมาเล่าเรื่องบางเรื่องให้ฟังนะครับ เรื่องที่จะเล่าให้ฟังวันนี้จะเป็นเฉพาะเรื่องด้านของกระทรวงคมนาคม ก็เป็นกระทรวงที่ทำอะไรไว้เยอะมากมาย และในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงนั้น เฉพาะกระทรวงนี้กระทรวงเดียวก็สามารถจะเล่าอะไรให้ฟังมากมายแล้ว

ท่านรัฐมนตรีที่ผมขอแรงให้มาช่วย ทางขวาผมคือท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง คนซ้ายของผมคือ ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ

ก่อนอื่นผมอยากจะเล่าให้ฟังสิ่งที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้แถลงไปเมื่อวันจันทร์ สิ่งที่แถลงไปคือ ได้เล่าให้ฟังว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้ อัตราการเจริญเติบโตนั้น เราได้เขยิบขึ้นมาจาก 2.1 เปอร์เซ็นต์ ในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว มาเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ ในไตรมาสแรกของปีนี้ ถามว่า 3 เปอร์เซ็นต์ นั้นมาจากไหน ถ้าจะดูในรายละเอียดที่ปรากฏบนจอ จะเห็นว่าในไตรมาสแรกของปีนี้ การส่งออกของเราหดตัวลง ซึ่งการหดตัวของการส่งออกมีความสำคัญมาก เพราะการส่งออกมีถึง 56 เปอร์เซ็นต์ ของยอดรายได้ประชาชาติทั้งหมด ฉะนั้นการส่งออกสินค้าที่หดตัวลงถึง -2.5 เปอร์เซ็นต์ นั้น มีผลกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจมาก

แต่บังเอิญที่เราได้สิ่งที่มาช่วยทำให้เศรษฐกิจปีนี้สามารถโตขึ้นมาได้ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ สองตัวนี้สำคัญนะครับ ตัวแรกก็คือการส่งออกบริการ หรือส่วนใหญ่ก็คือการท่องเที่ยวนั่นเอง ซึ่งเติบโตถึง 14.3 เปอร์เซ็นต์ อีกตัวหนึ่งก็คือการลงทุนภาครัฐ การลงทุนภาครัฐในไตรมาสแรกของปีนี้ เทียบกับไตรมาสแรกปีก่อน เติบโตถึง 37 เปอร์เซ็นต์ สองตัวนี้ที่ฉุดให้เศรษฐกิจที่แทนที่จะติดลบ กลายมาเป็นบวก 3 เปอร์เซ็นต์ ได้

หน้าที่ผมจะมาเล่าให้ฟังว่า ในการลงทุนภาครัฐที่เติบโต 3.7 เปอร์เซ็นต์นั้น ต้องบอกว่าโครงการใหญ่ๆ นั้นอยู่ในมือของกระทรวงคมนาคมเป็นสำคัญ ผมก็เลยจะขอให้ท่านรัฐมนตรีทั้งสองท่านช่วยเล่าให้ฟังว่า ในโครงการแต่ละด้าน อะไรที่ลงไปแล้วบ้าง อะไรที่จะลงเพิ่มเติมได้อีก เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เรามั่นใจว่าในการจะลงเพิ่มเติมนี้จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศชาติน่าจะเดินต่อไปได้ในอัตราที่ขยายตัวเป็นบวกตลอดไปได้อีก

ก่อนอื่นผมคงต้องขอแรงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก่อนครับว่า สิ่งใดที่ท่านเห็นว่าทำไปแล้วมันออกมาดี ทำไปแล้ว ลงทุนไปแล้ว และจะทำอะไรอีก

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง

ขอบพระคุณครับ ผมอยากจะเรียนขั้นต้นให้ทราบก่อนว่า ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง 8 ปี ฉบับปี พ.ศ.2558-2565 นั้น ได้กำหนดครอบคลุมไว้ทั้ง 5 ด้าน ก็คือ ด้านการแก้ไขปัญหาการจราจรในเมืองใหญ่ เรื่องของการขนส่งทางบก การขนส่งทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ โดยมีมูลค่าในช่วง 8 ปีนี้ประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท

สำหรับโครงการนั้นมีเป้าหมายที่จะให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ทั้งทางด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ โอกาสในการแข่งขัน และในเรื่องของการเชื่อมโยงโครงข่ายกับ AEC

ในส่วนที่ผมจะนำเรียนในวันนี้ก็จะขออนุญาตพูดเฉพาะ 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือเรื่องของระบบการส่งทางราง และระบบการส่งทางอากาศ ในส่วนของการขนส่งทางรางนั้น มี 3 ระบบ ระบบแรกคือ ระบบ 1 เมตร ซึ่งเป็นการขนส่งในปัจจุบัน ก็จะมีการปรับปรุงพัฒนาใน 2 หลักการใหญ่ หลักการแรกก็คือ การที่จะสร้างให้เกิดความแข็งแรง ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของระบบการวางราง ระบบไม้หมอน และระบบการยึดต่างๆ จะทำให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น และเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่องของการบริการและความปลอดภัยให้มากขึ้นในส่วนของการเดินรถขนาด 1 เมตร

ส่วนที่ 2 ก็คือในเรื่องของการวางทางคู่ ในปัจจุบันเรามีเส้นทางรถไฟทั้งหมด 4,043 กิโลเมตร เป็นส่วนที่เป็นทางเดี่ยวเกือบทั้งหมด 91 เปอร์เซ็นต์ เป็นทางคู่เพียง 9 เปอร์เซ็นต์ คือ 300 กว่ากิโลเมตร เราก็จะดำเนินการในประมาณ 3-4 ปีนี้ ให้เป็นทางคู่ทั้งหมด รวมระยะทางในปี 58 900 กิโลเมตร และในปี 59-60 อีก 1,600 กิโลเมตร ทั้งหมดนั้นก็จะเป็นโครงการที่มีความสำคัญ ทำให้เกิดการขนส่ง ทั้งผู้โดยสารและสินค้าได้ จะเกิดความรวดเร็วในการเดินทางมากขึ้น และสามารถนัดหมายได้ตรงเวลา

ส่วนต่อไปก็คือในส่วนของระบบที่เรียกว่า Standard gate 1.435 เมตร เป็นความเร็วปานกลาง ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างไทย-จีน เส้นนี้ก็จะเป็นเส้นกรุงเทพฯ ไปที่แก่งคอย แก่งคอยไปนครราชสีมา แล้วก็ไปที่นครพนม รวมทั้งแก่งคอยไปมาบตาพุดด้วย ระยะทางรวม 873 กิโลเมตร ในส่วนนี้ได้มีการลงนามร่วมกับทางรัฐบาลจีนเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 ขณะนี้ได้ประชุมไปแล้ว ในลักษณะของคณะกรรมการ Joint Committee 4 ครั้ง มีความก้าวหน้าในการสำรวจออกแบบมากพอสมควร คาดว่าในเรื่องของการออกแบบนั้น จะเสร็จในปลายเดือนสิงหาคม ปี 58 และจะใช้เวลาในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ในเรื่องการเวนคืนที่ดิน ให้เสร็จภายในกันยายน-ตุลาคม ปี 58 เช่นกัน คาดว่าจะสามารถได้ราคากลางและเริ่มการทำสัญญา ซึ่งเราคาดหวังว่า ถ้าตุลาคม หรือธันวาคม ปี 58 นั้น เริ่มก่อสร้างได้ในตอนที่ 1 นั้น ก็จะเป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งหมดนั้นจะเสร็จในเวลาประมาณ 3 ปี นับตั้งแต่มกราคม ปี 58 เป็นต้นไป วงเงินนั้นจะทราบอีกครั้งหนึ่งในช่วงประมาณหลังสิงหาคม

เส้นที่ 2 คือเส้นที่เราคาดว่าจะร่วมมือกับทางรัฐบาลญี่ปุ่น เป็นลักษณะจีทูจีเช่นเดียวกับทางด้านรัฐบาลจีน เส้นนี้จะมีส่วนสำคัญอยู่ 2 เส้น เส้นแรกคือเส้นที่เป็นการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 700 กิโลเมตร คาดว่าจะเป็นความเร็วตั้งแต่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป อยู่ระหว่างการเจรจาเตรียมการเรื่องการศึกษา และการวางคณะทำงานไว้ข้างต้นแล้ว อีกเส้นคือ เส้นที่เชื่อมกับกาญจนบุรีมากรุงเทพฯ ไปสระแก้ว และจากกรุงเทพฯ ไปแหลมฉบัง เส้นนี้จะเป็นการเสริมมของเส้นทาง เนื่องจากเป็นการเชื่อมพื้นที่อุตสาหกรรม เชื่อมการขนส่งสินค้า และอนาคตเมื่อสร้างเสร็จ เชื่อมระหว่างแหลมฉบับ กับท่าเรือทวาย ที่เมียนมาร์ ทั้ง 2 เส้น จะอยู่ในข้อตกลงที่เรียกว่า เอ็มโอซี คอร์เปอเรชั่น คาดว่า จะเสนอเข้า ครม. ในสัปดาห์หน้า ถ้าเป็นมติของ ครม.เรียบร้อย จะเดินทางไปลงนาม เอ็มโอซีกับทางผู้แทนกระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่น ในปลายเดือนพฤษภาที่จะถึงนี้ เช่นกัน ทั้งหมดจะเป็นความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในช่วงอนาคตอันใกล้

สำหรับทางอื่นนั้น จะมีการพัฒนาไปตลอดทุกเส้นทาง เพราะให้การเดินทางทั้งหมดปลอดภัย ได้มาตรฐาน 2 ได้มาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด 3 เรื่องการบริการดีขึ้น 4 เรื่องการประหยัดพลังงาน และ 5 เรื่องการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับอีกกลุ่มงานหนึ่ง คือเรื่องการขนส่งทางอากาศ ผมเรียนว่าปริมาณการขนส่งทางอากาศในประเทศไทยปัจจุบันมีปริมาณสูงมาก จึงต้องควบคุมการจราจรทางอากาศให้ดีขึ้น เรื่องการขึ้นลงของท่าอากาศยาน และ สนามบินต่างๆ ในประเทศ และดูแลเรื่องมาตรฐานสายการบิน

ผมเรียนว่า ในส่วนสายการบินนั้น เป็นที่รับรองความมั่นใจสูงคือ ความปลอดภัยการเดินทางแน่นอน ส่วนสนามบินก็เช่นกัน เรามีสนามบินทั้งหมด 38 แห่ง ในส่วนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยนั้น อยู่ 6 แห่ง และส่วนของกรมการบินพลเรือนดูแล 28 แห่ง เป็นของเอกชน 1 แห่ง ทั้งหมดนั้นรับรองว่า ให้เรื่องเซฟตี้สูงสุดสำหรับผู้โดยสาร

การพัฒนานั้น เราจะเน้นอย่างน้อย 3-4 แห่งดังนี้ แห่งแรกคือ ที่สุวรรณภูมิ เราจะมีการสร้างทางวิ่งที่สามเพิ่มเติม อาจเป็นระยะ 2-9 กิโลเมตร หรือ 3-7 กิโลเมตร เพื่อจะรองรับการขึ้นลงของเครื่องบินที่สุวรรณภูมิครับ และเพิ่มเติมในเรื่องการสร้างเทอร์มินอล สร้างหลุมจอด รวมทั้งลานจอดรถด้านหน้า และจะเพิ่มผู้โดยสารจากปริมาณ 45 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปี วงเงินส่วนนี้ ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท ในส่วนสนามบินดอนเมืองนั้น จะเป็นการพัฒนาระยะที่ 2 ได้แก่ พัฒนาหลุมจอด การพัฒนาพื้นที่เทอร์มินอล และลาจอดรถ ที่เป็นอาคาร 7 ชั้น และสิ่งอำนวยประโยชน์ต่างๆ พัฒนางบประมาณ 19,000 ล้านบาท จะเริ่มได้ต้นปี 59 เช่นกัน

ผมย้อนกลับไปสุวรรณภูมินั้น ขณะนี้ยังอยู่ในเรื่องการทำอีเอสไอเอ หากทำอีเอสไอเอเสร็จ จะดำเนินการได้ทันที โดยคาดว่า ปี 59 เป็นต้นไป จะสามารถทำงานนี้ได้ ในส่วนที่เป็นสนามบินอู่ตะเภานั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับกองทัพเรือ มีกำหนดการลงนามเอ็มโอยู ร่วมกัน 2 ฝ่าย ระหว่างกระทรวงคมนาคม กับกองทัพเรือ ต้นเดือนมิถุนานี้ เพื่อจะตกลงว่า สนามบินอู่ตะเภานั้นจะทำ 2 ภารกิจ คือภารกิจทางทหาร และภารกิจพลเรือน เพื่อจะดูแลสายการบินต่างๆ ให้ลงด้านอู่ตะเภามากขึ้น เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยว นักลงทุนที่จะไปด้านชลบุรี ระยอง จันทบุรีนั้น ใช้สนามบินอู่ตะเภามากขึ้น

สนามบินที่สำคัญอีกแห่งคือ สนามบินภูเก็ต ขณะนี้มีการปรับปรุงในเรื่องหลุมจอด เรื่องเทอร์มินอล คาดว่าจะเปิดบริการเต็มรูปแบบเดือนกุมภาพันธ์ ปี 59 จะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 12.5 ล้านคน ส่วนที่เชียงใหม่ เช่นกัน จะสามารถรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจาก 6 ล้าน เป็น 8 ล้านเช่นกัน ทั้งหมดนั้น เป็นส่วนที่กระทรวงคมนาคม ใน 2 กลุ่มงาน เร่งดำเนินการให้เป็นตามเป้าหมาย ขอบคุณครับ

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล

ท่านรัฐมนตรีครับ ในของสุวรรณภูมิที่จะมีลงทุนทั้งทางวิ่งที่สาม ทั้งหลุมจอดอะไรนี่ครับ ใช้เงินประมาณแสนล้านเลยหรือครับ

ประจิน - ครับ

ปรีดิยาธร - ใช้เวลากี่ปี ที่เงินแสนล้านจะออกลงไปในการก่อสร้าง

ประจิน - ครับผม เรียนว่าในส่วนของสุวรรณภูมิ กรณีเริ่มต้นการก่อสร้างทางวิ่งที่สาม จะใช้เวลา 3 ปี เราคาดว่า ถ้ากรณี อีเอสไอเอ แล้วเสร็จภายในต้นปี 59 จะใช้เวลาอีกประมาณ 3 เดือน ลงมือได้เลย ดังนั้น กลางปี 59 เราหวังว่า จะสามารถก่อสร้างโครงการนี้ได้ บวกไปอีก 3 ปี ครับ จะเสร็จในส่วนนี้ ส่วนเทอร์มินอล หลุมจอดต่างๆ รวมทั้งลานจอดรถนั้น คงใช้เวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง ถึง 4 ปี เช่นกันครับ ทั้งหมดจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ตามเป้าหมายคือ 60 ล้านคนครับ

ปรีดิยาธร- เริ่มลงมือได้ในปี 59

ประจิน - ประมาณปี 59 ครับผม

ปรีดิยาธร - ครับ ท่านผู้ชมก็แปลว่า สุวรรณภูมิ ปี 59 จะมีการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้มีความจุที่จะรับผู้โดยสารมากขึ้น ทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจของเรา จะกระตุ้นทั้งปีนี้ โยงถึงปี 59 ด้วย นะครับ ส่วนเรื่องที่น่าสนใจคือ รถไฟรางคู่ที่ท่านรัฐมนตรีว่าการได้พูดถึง รถไฟรางคู่ คนไม่ค่อยรู้หรอกว่าสำคัญอย่างไร สำคัญคือว่า เป็นเส้นทางสำคัญที่จะลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า เดิมทีเรามี รางคู่อยู่ 350 360 กิโล คราวนี้ท่านจะเพิ่มเฉพาะภายในปีนี้ กับปี 59 อีก 100 กิโล และหลังจากมีนา 59 ไป อีก 2-3 ปี นั้น เป็นพันกิโลเลย อันนี้นอกจากเงินจะไหลในการก่อสร้างกระตุ้นเศรษฐกิจอีกแล้ว ในที่สุดเราจะมีเส้นทางรถไฟ สำหรับลดค่าขนส่งในการส่งสินค้าด้วย ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ จีน อันนี้ต้องบอกว่าแปลกใจมาก เพราะผมเห็นท่านเริ่มเจรจากับจีนเมื่อเดือนมีนาคมนี้เอง แปลกใจ และดีใจด้วยนะครับ ที่ได้ข่าวว่าจะมีการลงมือก่อสร้างได้ประมาณพฤศจิกายน อันนี้ก็เอาใจช่วยให้ เพราะอะไรที่เร่งได้มันดี เพราะมันไม่ใช่แค่เห็นความสะดวกภายในประเทศ มันจะเชื่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้าน มันเข้าจังหวะที่เกิดเออีซีพอดี

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง

ขออนุญาตเสริมท่านรองนายกฯ ครับ ในส่วนของโครงการรถไฟไทย-จีน เป็นการเชื่อมระหว่างคุนหมิงมายังเวียงจันทน์ของลาวครับ และจะเชื่อมตามที่สำคัญ อย่างสำคัญก็จะมีกรุงเทพฯ แล้วไปที่มาบตาพุดครับ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงพื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว จะมีการขับเคลื่อนทั้งสังคม และทางด้านเศรษฐกิจด้วยนะครับ

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล

อีกหน่อยท่านผู้ชมสามารถเดินทางด้วยรถไฟความเร็วปานกลาง 180 เร็วนะสำหรับเรา ผ่านไปเที่ยวในลาว และผ่านไปเที่ยวถึงสิบสองปันนา และคุนหมิงได้ อันนี้เป็นสิ่งที่สนใจ เข้าใจว่าประมาณ 4 ปีเศษ

ประจิน- เรานับจากมกราฯ 59 ไป 3 ปีเท่านั้นเอง

ปรีดิยาธร- ขอบพระคุณมากที่ช่วยทำงานให้ ท่านผู้ชมอาจจะนึกว่า เอ๊ะท่านรัฐมนตรีหายไปทำอะไรอยู่ ความจริงช่วงที่ผ่านมาเตรียมการพวกนี้ทั้งนั้นเลย วันนี้สามารถประกาศได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า เราจะเดิน และรู้กำหนดจะเดินแล้ว ขอบคุณมากครับ ท่านรัฐมนตรีช่วยครับ ผมฟังเรื่องรถไฟรางคู่แล้ว ฟังเรื่องของรถไฟความเร็วสูง ความเร็วกลางแล้ว ฟังเรื่องท่าอากาศยาน มันยังเหลือหลายเรื่อง ทางหลวง ท่านลองเล่าให้ฟัง

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ

ในภารกิจของกระทรวงคมนาคมอีกส่วนหนึ่ง ผมขออนุญาตเรียน 3 เรื่องด้วยกัน เรื่องที่ 1 เป็นในเรื่องของรถไฟขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร อันนี้แน่นอนนะครับ เป็นเรื่องที่สร้างความสะดวกสบาย และเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางของประชาชนที่ทำงานในกรุงเทพมหานคร ส่วนที่ 2 เป็นในเรื่องของทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงชนบท ส่วนที่ 3 เป็นเรื่องของการขนส่งคมนาคมทางน้ำนะครับ

ในส่วนของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร สิ่งที่ท่านผู้ชม พี่น้องประชาชนที่เดินทางในกรุงเทพมหานคร ท่านจะเห็นว่าในระยะนี้นั้นมีการก่อสร้างมากมาย แต่หนึ่งในโครงการก่อสร้างต่างๆ นั้นจะเป็นเรื่องของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร สิ่งที่เราเห็นนั้นคงจะมีอยู่ 5 เส้นที่อยู่ระหว่างดำเนินการ และแล้วเสร็จด้วย อย่างเช่นเส้นที่ 1 เป็นในเรื่องเส้นสายสีม่วง การก่อสร้างงานโยธานั้นก็เสร็จเรียบร้อย ซึ่งเป็นที่น่าดีใจนะครับ เมื่อ 3 อาทิตย์ที่แล้ว ผมมีโอกาสไปที่ญี่ปุ่นได้ไปดูโรงงานประกอบรถไฟฟ้าสายสีม่วงนะครับ ทางญี่ปุ่นได้รับปากทางท่านนายกฯว่า อยากจะได้รถมาให้ทันในช่วงปีใหม่ 2559 นะครับ แต่ไปที่โรงงานแล้วเขาบอกว่า ขณะนี้เขาเริ่มประกอบ และ 3 ขบวนแรกนั้นจะเดินทางถึงกรุงเทพมหานครในเดือนตุลาคม และจะมีการทดลองวิ่งในวันเฉลิมพระชนมพรรษาในเดือนธันวาคมนี้

อันที่ 2 นั้นจะเป็นในเรื่องของสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายนะครับ ซึ่งขณะนี้งานโยธานั้นแล้วเสร็จไป 60% ขณะนี้อยู่ในช่วงของการหาผู้เดินรถ ซึ่งคาดว่าจะได้ตัวผู้เดินรถในเร็วๆ วันนี้ ประมาณ 1-2 เดือนนี้คงน่าจะเรียบร้อยนะครับ

เส้นที่ 3 นั้นคือเส้นสีเขียวนะครับ เป็นเรื่องที่ต่อขยายจากรถไฟฟ้าของบีทีเอส มี 2 ด้านครับ ด้านที่ 1 ไปทางด้านเหนือ จากหมอชิตไปคูคต ซึ่งอันนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง เขียวอันที่ 2 คือจากแบริ่ง สมุทรปราการ เป็นการต่อขยายในเรื่องของบีทีเอสออกไป อันนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างนะครับ ส่วนสุดท้ายในกรุงเทพมหานครจะเป็นรถไฟฟ้าสายสีแดง อันนี้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย อันนี้จะเป็นการเชื่อมระหว่างสถานีบางซื่อมาที่หัวลำโพง ซึ่งคนในกรุงเทพฯ อาจจะค่อนข้างหงุดหงิดว่า มีจุดทางผ่าน ทางตัดระหว่างถนนกับรถไฟ บ่อยครั้งที่ลงจากถนนจะเจอรถติดตรงนี้ เส้นทางตรงนี้เชื่อมระหว่างบางซื่อกับหัวลำโพงตรงนี้จะแก้ปัญหาเรื่องของจุดตัดตรงนี้ให้หมด วิธีการคือการที่เราจะทำเป็นอุโมงค์ เป็นอุโมงค์ลงไปใต้ดิน จากบางซื่อลงไปที่สถานีรถไฟหัวลำโพง อันนี้ก็เป็นโครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ

ทีนี้ในส่วนที่กำลังจะมา เรียนพี่น้องประชาชนว่า สิ่งที่กำลังจะมานั้น อันที่ 1 ก็เป็นในเรื่องของการเชื่อมต่อในสนามบินสุวรรณภูมิ และสถานีมักกะสันไปที่ดอนเมือง เป็นจุดเชื่อมระหว่าง 2 สนามบิน ส่วนที่กำลังจะตามมาและอยู่ในระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรี ก็จะมีสายสีส้ม สายสีชมพู สายสีเหลือง และมีส่วนต่อขยายของแอร์พอร์ตเรลลิงก์อย่างที่ผมกราบเรียนเมื่อสักครู่นี้

ในส่วนของต่างจังหวัดนั้นถนนของเรา เอาเฉพาะที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง กับกรมทางหลวงชนบท ความยาวทั้งหมด 114,000 กิโลเมตร เป็นทางหลวงแผ่นดินอยู่ที่ 67,000 กิโลเมตร และอยู่ในทางหลวงชนบทอีก 47,000 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือนั้นก็จะอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เฉพาะ 2 กรมนี้ก็ขออนุญาตกราบเรียนพี่น้องประชาชนว่า รัฐบาลโดยท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เห็นว่า คนของเราไม่ได้รับการดูแลมานาน 3 ปีที่แล้วนั้น งบประมาณทางด้านการซ่อมแซมถนน หรือการขยายถนนนั้นน้อยมาก ในรัฐบาลชุดนี้ก็ได้เติมงบประมาณให้กับกรมทางหลวงชนบทในงบประมาณประจำปี รวมทั้งในงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 40,000 ล้าน ดังนั้นอยากจะกราบเรียนว่า ในส่วนของทางหลวงปี 2558 นั้น จะมีการก่อสร้างอยู่จำนวนทั้งหมด 1,000 กิโลเมตร ปี 59 ก็จะต่อไปอีก 1,000 กิโลเมตร ซึ่งในส่วนที่เติมให้นั้นถือว่าเป็นการเติมจากที่ในอดีตที่ผ่านมานั้น ปีหนึ่งได้ 500 กิโลเมตร คณะรัฐบาลชุดนี้ก็ได้เติมเข้าไปอีก 500 ก็เป็นเท่าตัว ทั้งของกรมทางหลวง และของทางหลวงชนบท

กรมทางหลวงชนบทนั้นในส่วนของที่เป็นเส้นทางที่ก่อสร้างใหม่ก็จะอยู่ที่ประมาณ 1,000 กิโลเมตร ส่วนอีก 47,000 นั้น จะเป็นการบำรุง เรียกว่าซ่อมแซม ปะ ผุ เล็กๆน้อยๆพวกนี้ให้คืนสภาพเดิม ทั้งหมด 46,000 กิโลเมตรนั้น ทำอยู่ตลอด ปี 2558 และ 2559 ก็จะมีการซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลา นั่นคือส่วนของถนนหนทางที่เป็นทางหลวงแผ่นดิน กับทางหลวงชนบท

อีกอันที่อยากกราบเรียนพี่น้องประชาชนก็คือในเรื่องของมอเตอร์เวย์ ซึ่งในช่วงเทศกาลนั้น พี่น้องประชาชนที่เดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปภาคเหนือ ก็จะเจอปัญหารถติดยาวเป็น 10 กิโลฯ ขณะนี้นั้นทางกระทรวงคมนาคมก็ได้เสนอเรื่องนี้ต่อคณะรัฐมนตรี และทางสภาพัฒน์เองก็ได้ให้ความเห็นชอบ เพื่อจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติต่อไป 2 เส้นด้วยกันคือ มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 196 กิโลเมตร เส้นนี้ก็จะเป็นมอเตอร์เวย์

เส้นที่ 2 ก็จะเป็นในเรื่องของการเชื่อมระหว่าง จ.กาญจนบุรี มาที่วงแหวนตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งก็จะสามารถทำให้การขนส่งสินค้า การเดินทางไปสู่ภาคตะวันออกของเรา มีความสะดวกสบายมากขึ้น รวมทั้งเรื่องของการต่อเชื่อมไปที่ชายแดนกาญจนบุรี ต่อเชื่อมไปที่ประเทศเมียนมาร์ ระยะทางตรงที่ก็ 96 กิโลเมตร ทั้ง 2 โครงการนี้ก็พร้อมที่จะนำเสนอให้รัฐมนตรีอนุมัติการ การก่อสร้างนั้นก็คาดว่า จะเริ่มต้นได้ภายในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้

อีกเส้นก็คือมอเตอร์เวย์ระหว่างพัทยา - มาบตาพุด ถ้าพี่น้องประชาชนเดินทางไปทางภาคตะวันออก ท่านจะเห็นว่าการก่อสร้างนั้น ขณะนี้ก็จะมีช่วงจากด่านพานทองไปที่ท่าเรือแหลมฉบัง ตรงนี้ก็จะแล้วเสร็จในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ แล้วก็เปิดในเรื่องการให้บริการการเก็บค่าธรรมเนียบผ่านทางด้วย แต่จากพัทยาตรงนี้ไปที่มาบตาพุดนั้นก็อีกประมาณ 30 กิโลเมตร ตรงนี้ก็จะดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

ฉะนั้นเราก็จะมีโครงข่ายในเรื่องของมอเตอร์เวย์ ที่เชื่อมระหว่างจังหวัด อีกส่วนคือในเรื่องของทางพิเศษ หรือทางด่วนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยนั้นขณะนี้ทางด่วนเส้นทางระหว่างสายศรีรัชวงแหวนตะวันตกนั้น การก่อสร้างอยู่ที่ประมาณ 60% คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณช่วงมิถุนายนปีหน้า อันนี้ก็จะเป็นการที่จะทำให้การเดินทางบนทางด่วนของการทางพิเศษมีความสะดวกสบายมากขึ้น ทางซีกตะวันตกนั้นก็สามารถจะผ่องถ่ายปริมาณของการจราจรได้ ทางซีกตะวันออกก็สามารถดำเนินการได้

สิ่งที่ทางกระทรวงคมนาคมกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ก็มีอีกเส้นหนึ่ง พี่น้องประชาชนที่ใช้เส้นทาง ถ.พระราม 2 เชื่อมต่อสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาพระราม 9 ตรงนี้ขณะนี้ก็ทำการศึกษาออกแบบ ก็คาดว่าจะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีได้ภายในสิ้นปีนี้ เป็นเส้นทางที่จะต่อจากสะพานพระราม 9 ข้ามวงแหวนตะวันตก และไปที่แสมดำไปเลย ตรงนี้ก็จะทำให้ปริมาณการจราจรตรงนี้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

ในส่วนสุดท้ายคือการคมนาคมขนส่งทางน้ำ ท่าเรือแหลมฉบังนั้นถือว่าเป็นท่าเรือส่งออกที่สำคัญของประเทศ ขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคมก็ได้เตรียมแผนไว้ 3 แผนด้วยกัน อันที่ 1 เรื่องของการสร้างท่าเรือชายฝั่ง ท่าเรือชายฝั่งตรงนี้ก็จะสามารถรองรับปริมาณขนส่งทางน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา จากแม่น้ำป่าสักลงมาที่ท่าเรือแหลมฉบังเพื่อที่จะขึ้นเรือใหญ่ อันนี้ก็เป็นโครงการหนึ่งที่อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรี คาดว่าภายใน 1 - 2 เดือนนี้ก็คงนำเสนอได้

อันที่ 2 ก็เป็นในเรื่องของการปรับปรุงในเรื่องของระบบรถไฟในท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ และลดความแออัดในเรื่องของปริมาณรถบรรทุกที่เข้าสู่ท่าเรือ

ส่วนที่ 3 นั้นก็จะเป็นการพัฒนาท่าเรือชายฝั่งตลอดริมฝั่งของอ่าวไทย ยกตัวอย่าง เช่นที่ท่าเรือสงขลา รวมทั้งในเรื่องของท่าเรือทางซีกตะวันตกของประเทศ ที่ท่าเรือระนองก็จะมีการปรับปรุง นี่จะเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของท่าเรือชายฝั่ง

ในส่วนของการคมนาคมขนส่งทางน้ำเรื่องหนึ่งสำหรับพี่น้องประชาชน กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะ จ.นนทบุรี ปทุมธานี ในปี 2558 นั้นเราก็จะมีการปรับปรุงในเรื่องของท่าเรือที่สำคัญ 3 ท่าเรือ คือท่าเรือพรานนก ท่าเรือราชวงศ์ ท่าเรือสี่พระยา 3 ท่าเรือตรงนี้จะมีการปรับปรุง หลักการปรับปรุงของกระทรวงคมนาคมนั้น ก็จะเน้นในเรื่องของความปลอดภัยของผู้โดยสาร แยกระหว่างโป๊ะเรือ ผู้โดยสารไม่ต้องลงที่โป๊ะเรือ มีห้องโดยสารให้ เหมือนในสนามบิน เป็นที่พักผู้โดยสาร มีระบบการจำหน่ายตั๋วที่เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็จะสร้างความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

ในปี 2559 นั้น ก็จะมีอีก 6 ท่าเรือ ที่จะมีการปรับปรุง ยกตัวอย่าง ปี 2559 นั้น ก็ได้ตั้งงบประมาณไว้ในส่วนของท่าเรือนนท์ และท่าเรือสาทร ท่าเรือสาทรถือว่าเป็นท่าเรือท่องเที่ยวด้วย ที่นักท่องเที่ยวและพี่น้องประชาชนชาวไทยก็ใช้ในจำนวนที่ค่อนข้างที่จะสูงมาก และยังมีอีกท่าเรือที่เป็นของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ตรงสะพานพระนั่งเกล้า ก็จะสร้างความสะดวกสบายให้กับการเดินทางของพี่น้องประชาชนที่เดินทางทางเรือ และต่อเชื่อมกับระบบขนส่งรถไฟฟ้าบีทีเอสกับระบบขนส่งมวลชนของ ขสมก. อันนี้ก็เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องของกระทรวงคมนาคม

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล

ขอบพระคุณแทนคนกรุงเทพฯ และคนไทย ท่านตามครบทุกเรื่องเลย ถามจริงๆว่า ท่านเห็นปัญหานี้ตั้งแต่อยู่สภาพัฒน์ใช่ไหม และอัดอั้นอยากทำหรือเปล่า

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ

ปกติผมก็เดินทางสำรวจเส้นทางอยู่ตลอด ยกตัวอย่าง เช่น สิ่งที่รัฐบาลได้ไปตกลงกับสมาชิกในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง อีสต์-เวสต์คอริดอร์ส ผมขออนุญาติยกตัวอย่าง อีสต์-เวสต์คอริดอร์ส เส้นหนึ่งที่เป็นปัญหามาก คือ เดินทางไม่สะดวกเลย คือช่วงแม่สอดไปมุกดาหาร ระยะทาง 700 กิโลเมตรเดินทางได้ บางช่วงเป็น 2 เลน บางช่วงเป็น 4 เลน แต่ช่วงที่มีปัญหามากคือ ช่วงพิษณุโลก-หล่มสัก 100 กิโลเมตร จะแล้วเสร็จเดือนกรกฎาคมปีนี้ ถนนนะ เป็น 4 ช่องจราจร และอยากเรียนเชิญชวนนะครับ เพราะช่วงพิษณุโลก-หล่มสัก เป็น พื้นที่ที่สวยงามมาก เป็นเส้นทางหนึ่งสำหรับการท่องเที่ยวได้ด้วย

ปรีดิยาธร - เส้นทางนี้จะเชื่อมระหว่างพม่ากับลาวเลยใช่ไหม

อาคม- ใช่ครับ

ปรีดิยาธร - เป็นเรื่องของอาเซียนด้วย เป็นเรื่องของทั้งกลุ่มแม่น้ำโขง และอาเซียน เส้นบางปะอิน ไปโคราช นะครับ ที่ท่านพูดถึงนะครับ ผมดูแล้ว อีกหน่อยคนไปเที่ยวเขาใหญ่ ปากช่อง จะกลับโดยรถไม่ติดเท่าไหร่ ผมถามนิดเดียว ท่าน ผมชอบเรื่องขนส่งมวลชนมากนะ หนึ่งชัดเจน สีม่วง ปลายปีนี้ รถเสร็จนานแล้ว คนอยากให้วิ่งนานแล้ว ปลายปีนี้มีรถทดลองวิ่ง และเปิดจริงๆ ต้นปีหน้า อันนี้จะเป็นข่าวดีของพวกอสังหาริมทรัพย์นะครับ

อันที่สอง สีน้ำเงิน เสร็จเยอะแล้ว แต่ยังไม่มีคนเดินรถ ท่านจะเลือกคนเดินรถเลย

อาคม- ครับ ทางกระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการเรื่องนี้ จะหาคนเดินรถ คาดว่า ภายใน ปีสองปี

ปรีดิยาธร - อันนี้ก็ดีครับ เกิดความแน่นอน สำหรับคนที่จะอยู่ตามเส้นทางเหล่านั้น และจะมีอย่างอื่นอีก สิ่งหนึ่งที่ขาดไปคือเส้นสีแดง นอกจาก ท่านที่พูดเป็นอุโมงค์ อันนั้นดีนะ ลงยมราชจะไม่ติดละ มันมีสีแดงอีกอันตรงตลิ่งชัน วิ่งมาบางซื่อ อันนี้ เสร็จแล้วหรือเปล่าครับ

อาคม - บางซื่อ-ตลิ่งชันตรงนี้ ของรถการรถไฟแห่งประเทศไทยเสร็จแล้ว ขณะนี้ เปิดให้บริการเป็นรถไฟชานเมืองอยู่

ปรีดิยาธร - และอีกหน่อยจะเข้าสวมเข้ามาระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพหรือเปล่า หรือเชื่อมต่อได้ไหม

อาคม- จะเชื่อมต่อที่สถานีบางซื่อ จะเป็นสถานีใหญ่ ที่เชื่อมต่อทั้งรถไฟฟ้า รถไฟชานเมือง และรถไฟความเร็วปานกลางระหว่างจังหวัดตรงนี้ จะเป็นสถานี เรียกว่าเทอร์มินอลใหญ่เลยครับ

ปรีดิยาธร - ขออีกเรื่องเดียวนะครับ แอร์พอร์ตลิงก์ ขณะนี้จากสุวรรณภูมิมาพญาไท ท่านพูดถึงพญาไท ไปดอนเมือง ในที่สุดอันนี้ มันบริหารโดยคนเดียวกันหรือเปล่า ผมกลัว คนสองคน เราต้องต่อรถกันเหนื่อย

อาคม- ขณะนี้เป็นบริษัท พูดง่ายๆ คือ บริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย ขณะนี้นั้น ทางกระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดเรื่องของ แอร์พอร์ตลิงก์ ขณะนี้จำนวนขบวนรถไม่เพียงพอ เนื่องจากแต่เดิมเราออกแบบไว้ว่า มี Express กับในเรื่องของรถปกติ ซึ่งขณะนี้เราเริ่ม Express ไป เพราะจำนวนรถไม่พอ แต่พี่น้องประชาชนที่เดินทางเข้ามาชานเมือง ไม่ใช่เฉพาะที่สุวรรณภูมิใช้มาก เพราะฉะนั้นขณะนี้เร่งรัดในเรื่องของการจัดหาขบวนรถเพิ่มเติม และอีกหน่อยจะให้ใช้วิ่งเชื่อมบริษัทเดียวกัน 2 สนามบินเลยหรือเปล่าครับ

ประจิน- จะเป็นบริษัทเดียวกัน ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทยครับ

ปรีดิยาธร- ประชาชนเห็นว่าเดี๋ยวมีปัญหาอีก ไม่มีทางที่จะให้บริษัทเอกชนเข้ามาแข่งบ้างหรืออย่างไรครับ

ประจิน- เรียนกับรองรัฐมนตรีในส่วนนี้ เนื่องจากว่าในส่วนของ ร.ฟ.ท. เป็นบริษัทลูกของการรถไฟฯ ก็รับผิดชอบในการเดินรถ ในส่วนของสุวรรณภูมิ พญาไท อยู่ช่วงนี้นะครับ มีปัญหาในเรื่องของขบวนรถที่ไม่พอ ซึ่งมีอยู่ 9 คัน ขณะนี้เรากำลังหาเพิ่มอีก 10 ขบวน คาดว่าในอีกครึ่งข้างหน้าเราจะได้เพิ่มเติม สำหรับการต่อเชื่อมจากพญาไทมาดอนเมืองนั้น เราหวังว่าจะมีส่วนให้เอกชนเข้ามาร่วมในเรื่องของการลงทุน และการเดินรถ เรากำลังคิดแค่ว่า ทำอย่างไรถึงจะให้เอกชนเข้ามาแล้วควบคุมการเดินรถได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งส่วนเดิม และส่วนใหม่ ขอเวลาอีกนิดหนึ่งครับ

ปรีดิยาธร- อยากจะร่วมมือกันก็ได้ แหมเวลาวันนี้มันน้อย มีอะไรอีกเยอะ แต่วันนี้เอาแค่นี้ก่อนนะครับท่านผู้ชม และผมขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีทั้ง 2 ท่าน และขอเป็นกำลังใจขอให้ทำงานหนักอย่างนี้ต่อไป ขอบคุณมากครับ สวัสดีครับท่านผู้ชม
กำลังโหลดความคิดเห็น