นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นำคณะ กกต.แถลงถึงจุดยืนต่อการเสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและอำนาจหน้าที่ของ กกต.8 ประเด็น อาทิ เสนอให้ กกต.มีอำนาจประกาศงดเว้นการเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกา แล้วให้กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ โดยให้นายกรัฐมนตรีเสนอพระราชกฤษฎีกาตามที่ กกต.เสนอ เพื่อป้องกันปัญหาวิกฤตที่อาจทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ให้ กกต.สามารถกำหนดวันลงคะแนนใหม่ได้ หรืองดเว้นการลงคะแนน หากเห็นว่าไม่ทำให้ผลการเปลี่ยนแปลง กรณีเกิดเหตุสุดวิสัยหรือจลาจล ลงคะแนนไม่ได้
นอกจากนี้ ให้ยกเลิกการมีคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง (กกจ.) แล้วให้ กกต.ควบคุมการเลือกตั้งเช่นเดิม ยกเลิกการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) แบบโอเพ่นลิสต์ และกลับไปใช้ระบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำบัญชีพรรคเดียวตามเดิม เพราะเห็นว่าอาจส่งผลเสียต่อการเลือกตั้งโดยรวม ให้ยกเลิกกลุ่มการเมือง เพราะทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ ไม่พัฒนาไปเป็นสถาบันทางการเมือง และเกิดการต่อรองผลประโยชน์ ให้คงอำนาจในการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) และสั่งเลือกตั้งใหม่ได้ก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง เพิ่มอำนาจ กกต.ในการเรียกบุคคลและและเอกสารที่เกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้งมาให้ข้อมูลได้
ขณะเดียวกัน เสนอให้กำหนดเรื่องการนับคะแนน หลังนับที่หน่วยแล้ว ให้ส่งผลไปรวมที่เขตเลือกตั้ง แล้วประกาศโดยเปิดเผย เว้นแต่มีเหตุสมควรอื่น ให้อำนาจกกต.ประกาศเป็นอย่างอื่นได้ และให้แก้ไของค์ประกอบคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ ที่มีตัวแทนฝ่ายการเมือง 4 คน คือ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน คณะรัฐมนตรี ร่วมเป็นกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ เพราะทำให้เกิดการแทรกแซงได้ เนื่องจากการมีประธานผู้แทนรัฐสภา และผู้นำฝ่ายค้าน เป็นคณะกรรมการสรรหา ถือว่ายึดโยงกับประชาชนแล้ว
ทั้งนี้ ประธาน กกต.ยืนยันว่า การเสนอปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอำนาจ กกต. ไม่ใช่การหวงอำนาจ แต่จะทำอย่างไรเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม
นอกจากนี้ ให้ยกเลิกการมีคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง (กกจ.) แล้วให้ กกต.ควบคุมการเลือกตั้งเช่นเดิม ยกเลิกการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) แบบโอเพ่นลิสต์ และกลับไปใช้ระบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำบัญชีพรรคเดียวตามเดิม เพราะเห็นว่าอาจส่งผลเสียต่อการเลือกตั้งโดยรวม ให้ยกเลิกกลุ่มการเมือง เพราะทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ ไม่พัฒนาไปเป็นสถาบันทางการเมือง และเกิดการต่อรองผลประโยชน์ ให้คงอำนาจในการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) และสั่งเลือกตั้งใหม่ได้ก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง เพิ่มอำนาจ กกต.ในการเรียกบุคคลและและเอกสารที่เกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้งมาให้ข้อมูลได้
ขณะเดียวกัน เสนอให้กำหนดเรื่องการนับคะแนน หลังนับที่หน่วยแล้ว ให้ส่งผลไปรวมที่เขตเลือกตั้ง แล้วประกาศโดยเปิดเผย เว้นแต่มีเหตุสมควรอื่น ให้อำนาจกกต.ประกาศเป็นอย่างอื่นได้ และให้แก้ไของค์ประกอบคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ ที่มีตัวแทนฝ่ายการเมือง 4 คน คือ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน คณะรัฐมนตรี ร่วมเป็นกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ เพราะทำให้เกิดการแทรกแซงได้ เนื่องจากการมีประธานผู้แทนรัฐสภา และผู้นำฝ่ายค้าน เป็นคณะกรรมการสรรหา ถือว่ายึดโยงกับประชาชนแล้ว
ทั้งนี้ ประธาน กกต.ยืนยันว่า การเสนอปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอำนาจ กกต. ไม่ใช่การหวงอำนาจ แต่จะทำอย่างไรเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม