นายประสาท พงษ์ศิวาภัย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงจุดยืนของ ป.ป.ช. ต่อร่างรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับ ป.ป.ช. รวมทั้งการปฎิรูปประเทศ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการปราบปรามการทุจริต ว่า ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (UNCAC) ดังนั้น จุดยืนของ ป.ป.ช.ต้องมีความเป็นอิสระ เพราะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจภาครัฐ และให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านการป้องกันการทุจริต การปราบปรามและตรวจสอบทรัพย์สินเชื่อมโยงการทุจริตอย่างเป็นระบบ อีกทั้งเป็นองค์กรหลักในการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยด้านการปราบปรามการทุจริต และควรได้รับการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานให้เพียงพอโดยกำหนดไว้ในงบประมาณประจำปีในรูปแบบร้อยละ เพื่อไม่ให้อยู่ภายใต้อำนาจฝ่ายบริหาร เพราะมีหน้าที่ในการตรวจสอบทุจริตหน่วยงานรัฐด้วย
ส่วนคณะกรรมการสรรหา ป.ป.ช.ควรจะยึดตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ประกอบด้วยประธานศาลีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้าน เพราะมีความรัดกุมไม่มีส่วนอื่นเกี่ยวข้อง ขณะที่การตั้งคณะกรรมการร่วมพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ของกฎหมาย 3 ฝ่าย ที่ประกอบด้วย ป.ป.ช. อัยการสูงสุด และผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ควรบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเหมาะสมมากกว่า เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า สับสน เช่น เดียวกับการฟ้องคดีอาญา
ส่วนคณะกรรมการสรรหา ป.ป.ช.ควรจะยึดตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ประกอบด้วยประธานศาลีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้าน เพราะมีความรัดกุมไม่มีส่วนอื่นเกี่ยวข้อง ขณะที่การตั้งคณะกรรมการร่วมพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ของกฎหมาย 3 ฝ่าย ที่ประกอบด้วย ป.ป.ช. อัยการสูงสุด และผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ควรบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเหมาะสมมากกว่า เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า สับสน เช่น เดียวกับการฟ้องคดีอาญา