นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงมาตรการดูแลและติดตามพฤติกรรมผู้พ้นโทษ จากการอภัยโทษเพื่อส่งคนดีคืนสู่สังคมว่า สืบเนื่องจากการปล่อยตัวผู้ต้องขังที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษและผู้ที่พ้นโทษในปี 2558 ที่ได้รับการปล่อยตัวออกไปแล้วรวม 56,000 คน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้นายวิษณุ เครืองามรองนายกรัฐมนตรี หารือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการจัดหาอาชีพหลังพ้นโทษ และติดตามดูแลพฤติกรรม โดยจัดมหกรรมเจรจาธุรกิจ คืนคนดีสู่สังคม เสนอมาตรการภาษีจูงใจเอกชน เปิดโอกาสจ้างงานผู้พ้นโทษ พร้อมทั้งประสานกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ผู้นำระดับท้องถิ่นเช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้ช่วยติดตามพฤติกรรมผู้พ้นโทษ
นอกจากนี้ยังให้กรมราชทัณฑ์จัดทำรายชื่อผู้ที่เข้าข่ายได้รับการพักลงโทษพร้อมที่อยู่ และอาชีพที่เตรียมจะออกไปประกอบเป็นวิชาชีพล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี เพื่อส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมการรองรับ โดยในระยะยาวจะให้กรมราชทัณฑ์จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ โดยศึกษาดูงานในต่างประเทศเช่น ญี่ปุ่น และสิงคโปร์เพื่อจัดตั้งหน่วยงานเพื่อให้การสงเคราะห์ผู้พ้นโทษเป็นการเฉพาะ
ทั้งนี้กระทรวงยุติธรรมจะเร่งพิจารณาข้อกฎหมายเกี่ยวกับประเด็น การดูแลผู้ต้องขังกลุ่มที่เป็นภาระของเรือนจำเช่น ผู้ต้องขังสูงอายุ ป่วยเรื้อรัง และผู้พิการซึ่งกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ พักการลงโทษไว้แล้ว เช่นมีอายุไม่น้อยกว่า 65 ปี ป่วยเรื้อรังจนอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ แต่ต้องรับโทษมาแล้ว1 ใน 3 ของโทษที่ได้รับ ดังนั้นจะเร่งแก้หลักเกณฑ์ที่ไม่เอื้อกับการปล่อยตัวผู้ต้องขัง หรืออาจใช้มาตรการที่ออกโดยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเพื่อเปิดช่อง ทั้งนี้ส่วนตัวเห็นว่าหลักเกณฑ์ที่ออกมาควรใช้ครอบคลุมทุกฐานความผิด ไม่ยกเว้นคดีใด รวมถึงความผิดตามมาตรา 112 ด้วย
ด้านนายเรืองศักดิ์ สุวารี รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า ปัจจุบันกรมราชทัณฑ์มีผู้ต้องขังสูงอายุ ป่วยเรื้อรัง และพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้จำนวนมาก ซึ่งตกเป็นภาระการดูแลของเรือนจำ เช่นผู้ต้องโทษคดีอนาจารบางรายมีอายุ 85 ปีไม่มีศักยภาพไปก่อเหตุอีก หรือผู้ต้องโทษบางรายที่พิการไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง แต่แพทย์ระบุว่าอาการยังไม่ถึงระดับ 4 ทำให้ไม่สามารถปล่อยตัวได้ โดยขั้นตอนการพิจารณาจะผ่านทั้งคณะกรรมการพักการลงโทษของเรือนจำ ส่งต่อให้คณะกรรมการพักการลงโทษราชทัณฑ์เป็นผู้อนุมัติ ซึ่งปี 2558 มีการพักการลงโทษเป็นพิเศษแก่กลุ่มผู้ต้องขังสูงอายุ 187 คน ซึ่งหลังจากนี้มองว่า หากมีการนำมาตรา 44 มาปรับใช้จะทำให้ปล่อยตัวได้ทันที พร้อมกันนี้ยังมีแนวคิดหาเหตุทุเลาในส่วนของผู้ต้องขังตั้งครรภ์ ด้วยการกำหนดสถานที่ควบคุมระหว่างตั้งครรภ์ ให้ไปคลอดนอกเรือนจำแล้วค่อยกลับมารับโทษ
ส่วนกรณีการใช้มาตรา 44 กับผู้ต้องขังสูงอายุ ผู้ต้องขังป่วยเรื้อรัง และผู้ต้องขังพิการ เพื่อได้รับการปล่อยตัวไม่เป็นภาระของเรือนจำจะมีผลกับนายสมชาย คุณปลื้ม หรือกำนันเป๊าะ ผู้ต้องขังคดีจ้างวานฆ่าผู้อื่น และคดีทุจริตซื้อที่ดินเขาไม้แก้ว ซึ่งหลังจับกุมยังไม่เคยถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ แต่พักรักษาอาการป่วยอยู่ในโรงพยายาลมาตลอด จะเข้าข่ายหลักเกณฑ์ปล่อยตัวหรือไม่นั้น รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ชี้แจงว่า การปล่อยตัวตามมาตรา 44 ไม่ได้พิจารณาจากรายชื่อผู้ต้องขัง แต่ดูการเข้าข่ายหลักเกณฑ์เป็นหลัก เช่นหากออกการดูแลของแพทย์ไปอยู่ในเรือนจำแล้วอาจเสี่ยงกับชีวิต
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาในส่วนการดูแลกำนันเป๊าะที่พักรักษาอาการในโรงพยาบาล เรือนจำต้องสูญเสียกำลังผู้คุมในการดูแลมากถึง 6 คนต่อวัน เพื่อเฝ้าผู้ต้องขังตลอด 24 ชั่วโมง แบ่งเป็น 3 ผลัด ๆ ละ 2 คน ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ต้องขังตนไม่แน่ใจว่าเป็นภาระของงบประมาณรัฐหรือไม่
นอกจากนี้ยังให้กรมราชทัณฑ์จัดทำรายชื่อผู้ที่เข้าข่ายได้รับการพักลงโทษพร้อมที่อยู่ และอาชีพที่เตรียมจะออกไปประกอบเป็นวิชาชีพล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี เพื่อส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมการรองรับ โดยในระยะยาวจะให้กรมราชทัณฑ์จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ โดยศึกษาดูงานในต่างประเทศเช่น ญี่ปุ่น และสิงคโปร์เพื่อจัดตั้งหน่วยงานเพื่อให้การสงเคราะห์ผู้พ้นโทษเป็นการเฉพาะ
ทั้งนี้กระทรวงยุติธรรมจะเร่งพิจารณาข้อกฎหมายเกี่ยวกับประเด็น การดูแลผู้ต้องขังกลุ่มที่เป็นภาระของเรือนจำเช่น ผู้ต้องขังสูงอายุ ป่วยเรื้อรัง และผู้พิการซึ่งกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ พักการลงโทษไว้แล้ว เช่นมีอายุไม่น้อยกว่า 65 ปี ป่วยเรื้อรังจนอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ แต่ต้องรับโทษมาแล้ว1 ใน 3 ของโทษที่ได้รับ ดังนั้นจะเร่งแก้หลักเกณฑ์ที่ไม่เอื้อกับการปล่อยตัวผู้ต้องขัง หรืออาจใช้มาตรการที่ออกโดยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเพื่อเปิดช่อง ทั้งนี้ส่วนตัวเห็นว่าหลักเกณฑ์ที่ออกมาควรใช้ครอบคลุมทุกฐานความผิด ไม่ยกเว้นคดีใด รวมถึงความผิดตามมาตรา 112 ด้วย
ด้านนายเรืองศักดิ์ สุวารี รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า ปัจจุบันกรมราชทัณฑ์มีผู้ต้องขังสูงอายุ ป่วยเรื้อรัง และพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้จำนวนมาก ซึ่งตกเป็นภาระการดูแลของเรือนจำ เช่นผู้ต้องโทษคดีอนาจารบางรายมีอายุ 85 ปีไม่มีศักยภาพไปก่อเหตุอีก หรือผู้ต้องโทษบางรายที่พิการไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง แต่แพทย์ระบุว่าอาการยังไม่ถึงระดับ 4 ทำให้ไม่สามารถปล่อยตัวได้ โดยขั้นตอนการพิจารณาจะผ่านทั้งคณะกรรมการพักการลงโทษของเรือนจำ ส่งต่อให้คณะกรรมการพักการลงโทษราชทัณฑ์เป็นผู้อนุมัติ ซึ่งปี 2558 มีการพักการลงโทษเป็นพิเศษแก่กลุ่มผู้ต้องขังสูงอายุ 187 คน ซึ่งหลังจากนี้มองว่า หากมีการนำมาตรา 44 มาปรับใช้จะทำให้ปล่อยตัวได้ทันที พร้อมกันนี้ยังมีแนวคิดหาเหตุทุเลาในส่วนของผู้ต้องขังตั้งครรภ์ ด้วยการกำหนดสถานที่ควบคุมระหว่างตั้งครรภ์ ให้ไปคลอดนอกเรือนจำแล้วค่อยกลับมารับโทษ
ส่วนกรณีการใช้มาตรา 44 กับผู้ต้องขังสูงอายุ ผู้ต้องขังป่วยเรื้อรัง และผู้ต้องขังพิการ เพื่อได้รับการปล่อยตัวไม่เป็นภาระของเรือนจำจะมีผลกับนายสมชาย คุณปลื้ม หรือกำนันเป๊าะ ผู้ต้องขังคดีจ้างวานฆ่าผู้อื่น และคดีทุจริตซื้อที่ดินเขาไม้แก้ว ซึ่งหลังจับกุมยังไม่เคยถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ แต่พักรักษาอาการป่วยอยู่ในโรงพยายาลมาตลอด จะเข้าข่ายหลักเกณฑ์ปล่อยตัวหรือไม่นั้น รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ชี้แจงว่า การปล่อยตัวตามมาตรา 44 ไม่ได้พิจารณาจากรายชื่อผู้ต้องขัง แต่ดูการเข้าข่ายหลักเกณฑ์เป็นหลัก เช่นหากออกการดูแลของแพทย์ไปอยู่ในเรือนจำแล้วอาจเสี่ยงกับชีวิต
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาในส่วนการดูแลกำนันเป๊าะที่พักรักษาอาการในโรงพยาบาล เรือนจำต้องสูญเสียกำลังผู้คุมในการดูแลมากถึง 6 คนต่อวัน เพื่อเฝ้าผู้ต้องขังตลอด 24 ชั่วโมง แบ่งเป็น 3 ผลัด ๆ ละ 2 คน ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ต้องขังตนไม่แน่ใจว่าเป็นภาระของงบประมาณรัฐหรือไม่