ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดเมื่อคืนวันศุกร์ (15 พ.ค.)ดาวโจนส์ปรับขึ้น 20.32 จุด หรือ 0.11% ปิดที่ 18,272.56 จุด ดัชนี S&P 500 ปรับขึ้น 1.63 จุด หรือ 0.08% ปิดที่ 2,122.73 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 2.50 จุด หรือ 0.05% ปิดที่ 5,048.29 จุด
ตลาดปิดในแดนบวกได้แม้มีแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐอาทิ ธนาคารกลางสหรัฐเปิดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.3% ในเดือนเม.ย. เป็นการร่วงลงเป็นเดือนที่ 5 หลังจากปรับตัวลง 0.3% ในเดือนมี.ค. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% โดยได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวลงของภาคเหมืองแร่และสาธารณูปโภค อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนเม.ย.ปรับตัวลงสู่ระดับ 78.2% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ในปีที่แล้ว จาก 78.6% ในเดือนม.ค.
ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ยังคงปิดในแดนบวก เนื่องจากนักลงทุนประเมินว่าข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่ไม่มีความชัดเจนได้สร้างความกังขาเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะยังไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์ประเมินกันว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงกลางปีนี้
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสอินเตอร์มีเดียต (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดอ่อนแรงลงเมื่อคืนวันศุกร์ (15 พ.ค.) ท่ามกลางความวิตกที่ว่าการทะยานขึ้นของราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมาอาจจะส่งผลให้มีการผลิตเพิ่มมากขึ้น
ด้านน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน ลดลง 19 เซนต์ ปิดที่ 59.69 ดอลลาร์
ส่วนเบรนต์ทะเลเหนือ งวดส่งมอบเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้น 11 เซนต์ ปิดที่ 66.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
นักวิเคราะห์เชื่อว่าการดีดตัวขึ้นของราคาน้ำมันในช่วงกว่า 1 เดือนที่ผ่านมา ยังคงกระตุ้นให้มีการผลิตเพิ่มมากขึ้น
สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า สหรัฐผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 5,000 บาร์เรล สู่ระดับ 9.374 ล้านบาร์เรล/วันในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งยังคงเป็นระดับสูงเป็นประวัติการณ์
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อคืนวันศุกร์ (15 พ.ค.) เนื่องจากดอลลาร์ร่วงลง ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอ ซึ่งทำนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเลื่อนการตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไป
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดบวก 10 เซนต์ หรือ 0.01% ที่ 1,225.30 ดอลลาร์/ออนซ์
ตลาดปิดในแดนบวกได้แม้มีแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐอาทิ ธนาคารกลางสหรัฐเปิดเผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.3% ในเดือนเม.ย. เป็นการร่วงลงเป็นเดือนที่ 5 หลังจากปรับตัวลง 0.3% ในเดือนมี.ค. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% โดยได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวลงของภาคเหมืองแร่และสาธารณูปโภค อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนเม.ย.ปรับตัวลงสู่ระดับ 78.2% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ในปีที่แล้ว จาก 78.6% ในเดือนม.ค.
ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์ยังคงปิดในแดนบวก เนื่องจากนักลงทุนประเมินว่าข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่ไม่มีความชัดเจนได้สร้างความกังขาเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะยังไม่รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์ประเมินกันว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงกลางปีนี้
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสอินเตอร์มีเดียต (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดอ่อนแรงลงเมื่อคืนวันศุกร์ (15 พ.ค.) ท่ามกลางความวิตกที่ว่าการทะยานขึ้นของราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมาอาจจะส่งผลให้มีการผลิตเพิ่มมากขึ้น
ด้านน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน ลดลง 19 เซนต์ ปิดที่ 59.69 ดอลลาร์
ส่วนเบรนต์ทะเลเหนือ งวดส่งมอบเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้น 11 เซนต์ ปิดที่ 66.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
นักวิเคราะห์เชื่อว่าการดีดตัวขึ้นของราคาน้ำมันในช่วงกว่า 1 เดือนที่ผ่านมา ยังคงกระตุ้นให้มีการผลิตเพิ่มมากขึ้น
สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า สหรัฐผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 5,000 บาร์เรล สู่ระดับ 9.374 ล้านบาร์เรล/วันในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งยังคงเป็นระดับสูงเป็นประวัติการณ์
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อคืนวันศุกร์ (15 พ.ค.) เนื่องจากดอลลาร์ร่วงลง ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอ ซึ่งทำนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเลื่อนการตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไป
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ปิดบวก 10 เซนต์ หรือ 0.01% ที่ 1,225.30 ดอลลาร์/ออนซ์