วันนี้ (17 พ.ค.) พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะรอง ผอ.รมน.ได้เดินทางลงพื้นที่ภาคใต้ เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยต่างๆ พร้อมเป็นประธานการประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยระหว่างการประชุมได้มีการบรรยายสรุปการ รักษาความปลอดภัยเขตเมือง และเหตุการณ์การลอบวางระเบิดในพื้นที่ อ.เมือง จ.ยะลา
ทั้งนี้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ชี้แจงยุทธศาสตร์ประชาชนมีส่วนร่วมตามแนวทาง ทุ่งยางแดงโมเดล มาตรการ รักษาความปลอดภัย เขตเมืองเศรษฐกิจ จะแบ่งเป็นพื้นที่ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก กำหนดแผนการปฏิบัติ 3 ขั้นตอนคือ ขั้นปกติ ขั้นเกิดเหตุ และขั้นปฏิบัติหลังเกิดเหตุ
สำหรับในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา ได้กำหนดพื้นที่ชั้นในอันเป็นเขตควบคุมความปลอดภัยพิเศษ หรือเซฟตีโซน จำนวน 2 เขต ซึ่งในคราวนี้ไม่ปรากฏเหตุระเบิดในพื้นที่ดังกล่าว โดยการเกิดเหตุระเบิดขนาดเล็กในช่วงวันที่ 14-16 พฤษภาคม เป็นการลอบวางไว้ตั้งแต่ 14 พฤษภาคม ด้วยการใช้เครื่องโทรศัพท์มือถือตั้งเวลาตามที่กำหนด ขณะที่มาตรการที่ใช้ รักษาความปลอดภัยเมือง จะใช้ทุกมาตรการที่มี เช่น ด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด การเฝ้าตรวจ การลาดตระเวน และเครือข่ายภาคประชาชนมีส่วนร่วม โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนเสี่ยง
ผู้บัญชาการทหารลก ได้สั่งการให้ ผบ.เฉพาะกิจจังหวัด บูรณาการกำลังตามแผนการ รักษาความปลอดภัยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่-เส้นทางทั้งในพื้นที่เขตเมืองและนอกเมือง โดยงานการข่าวต้องเน้นการปฏิบัติการเชิงรุกให้มากขึ้น รวมทั้งนำมาตรการด้านการข่าวเชิงลึกมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับพื้นที่ และเร่งติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุในครั้งนี้มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเร็ว และ หลังจากนี้ให้เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น ทุกส่วนราชการต้องเร่งสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นในเรื่องการ รปภ.ในชีวิตและทรัพย์สินให้กลับคืนมาโดยเร็ว พร้อมขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันดูแลเพื่อลดความเสี่ยงในพื้นที่ตัวเอง
นอกจากนี้ ผู้บัญชาการทหารบก ได้กล่าวแสดงความรู้สึกเห็นใจ เจ้าหน้าที่ที่ต้องหมุนเวียนทำงานตลอด 24 ชั่วโมง จึงขอให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นให้ความสำคัญเรื่องขวัญกำลังใจของกำลังพล เพื่อให้พร้อมปฏิบัติงานทั้งด้านร่างกายและจิตใจด้วย
ทั้งนี้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ชี้แจงยุทธศาสตร์ประชาชนมีส่วนร่วมตามแนวทาง ทุ่งยางแดงโมเดล มาตรการ รักษาความปลอดภัย เขตเมืองเศรษฐกิจ จะแบ่งเป็นพื้นที่ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก กำหนดแผนการปฏิบัติ 3 ขั้นตอนคือ ขั้นปกติ ขั้นเกิดเหตุ และขั้นปฏิบัติหลังเกิดเหตุ
สำหรับในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา ได้กำหนดพื้นที่ชั้นในอันเป็นเขตควบคุมความปลอดภัยพิเศษ หรือเซฟตีโซน จำนวน 2 เขต ซึ่งในคราวนี้ไม่ปรากฏเหตุระเบิดในพื้นที่ดังกล่าว โดยการเกิดเหตุระเบิดขนาดเล็กในช่วงวันที่ 14-16 พฤษภาคม เป็นการลอบวางไว้ตั้งแต่ 14 พฤษภาคม ด้วยการใช้เครื่องโทรศัพท์มือถือตั้งเวลาตามที่กำหนด ขณะที่มาตรการที่ใช้ รักษาความปลอดภัยเมือง จะใช้ทุกมาตรการที่มี เช่น ด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด การเฝ้าตรวจ การลาดตระเวน และเครือข่ายภาคประชาชนมีส่วนร่วม โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนเสี่ยง
ผู้บัญชาการทหารลก ได้สั่งการให้ ผบ.เฉพาะกิจจังหวัด บูรณาการกำลังตามแผนการ รักษาความปลอดภัยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่-เส้นทางทั้งในพื้นที่เขตเมืองและนอกเมือง โดยงานการข่าวต้องเน้นการปฏิบัติการเชิงรุกให้มากขึ้น รวมทั้งนำมาตรการด้านการข่าวเชิงลึกมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับพื้นที่ และเร่งติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุในครั้งนี้มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเร็ว และ หลังจากนี้ให้เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น ทุกส่วนราชการต้องเร่งสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นในเรื่องการ รปภ.ในชีวิตและทรัพย์สินให้กลับคืนมาโดยเร็ว พร้อมขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันดูแลเพื่อลดความเสี่ยงในพื้นที่ตัวเอง
นอกจากนี้ ผู้บัญชาการทหารบก ได้กล่าวแสดงความรู้สึกเห็นใจ เจ้าหน้าที่ที่ต้องหมุนเวียนทำงานตลอด 24 ชั่วโมง จึงขอให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นให้ความสำคัญเรื่องขวัญกำลังใจของกำลังพล เพื่อให้พร้อมปฏิบัติงานทั้งด้านร่างกายและจิตใจด้วย