คณะลูกขุนสหรัฐฯ ตัดสินประหารชีวิตนายโชคาร์ ซาร์นาเยฟ มือระเบิดบอสตันมาราธอน เมื่อปี 2556 ในความผิดอุกฉรรจ์ 6 กระทง จากทั้งหมด 17 กระทง หลังจากใช้เวลานานกว่า 14 ชั่วโมงในการตัดสิน
คณะลุกขุน 12 คน ตัดสินใจเลือกระหว่างประหารชีวิต กับจำคุกตลอดชีวิต โดยไม่มีโอกาสปล่อยตัวในเรือนจำที่เข้มงวดที่สุดของประเทศที่รัฐโคโลราโด คณะลูกขุนชุดนี้ตัดสินเมื่อเดือนเมษายน ว่าเขามีความผิดทั้ง 30 กระทง ในเหตุระเบิดบอสตันมาราธอน เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2556 ฆาตกรรมเจ้าหน้าที่ตำรวจ จี้รถ และยิงต่อสู้ขณะหลบหนี
เหตุระเบิด 2 ลูกซ้อนใกล้เส้นชัยการแข่งขันบอสตันมาราธอน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บ 264 คน ในจำนวนนี้ 17 คน สูญเสียแขนหรือขา
นายซาร์นาเยฟ วัย 21 ปี และนายทาเมอร์ลัน ซาร์นาเยฟ พี่ชายเป็นชาวเชเชนที่อพยพมาสหรัฐตั้งแต่เด็กและได้รับสัญชาติอเมริกัน พี่ชายของเขายิงต่อสู้กับตำรวจและเสียชีวิต ขณะที่เขาถูกจับกุมหลังหลบหนีไปได้ 4 วัน และอ้างว่าก่อเหตุเพื่อแก้แค้นที่สหรัฐฯ ทำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน
ด้านนางลอเรตตา ลินช์ รัฐมนตรียุติธรรมสหรัฐฯ กล่าวว่า เป็นการลงโทษที่เหมาะสมแล้ว
อย่างไรก็ตาม ชาวเมืองบอสตันในรัฐแมสซาชูเซตส์ส่วนใหญ่คัดค้านการประหารชีวิตนายซาร์นาเยฟ เนื่องจากรัฐนี้ยกเลิกโทษประหารไปตั้งแต่ปี 2490 ขณะที่ครอบครัวผู้เสียชีวิตก็ไม่อยากให้ประหารชีวิตเพราะเกรงว่าการอุทธรณ์ต่อสู้คดียืดเยื้ออีกหลายปีจะทำให้ความเจ็บปวดของพวกเขาไม่สงบลงเสียที
คณะลุกขุน 12 คน ตัดสินใจเลือกระหว่างประหารชีวิต กับจำคุกตลอดชีวิต โดยไม่มีโอกาสปล่อยตัวในเรือนจำที่เข้มงวดที่สุดของประเทศที่รัฐโคโลราโด คณะลูกขุนชุดนี้ตัดสินเมื่อเดือนเมษายน ว่าเขามีความผิดทั้ง 30 กระทง ในเหตุระเบิดบอสตันมาราธอน เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2556 ฆาตกรรมเจ้าหน้าที่ตำรวจ จี้รถ และยิงต่อสู้ขณะหลบหนี
เหตุระเบิด 2 ลูกซ้อนใกล้เส้นชัยการแข่งขันบอสตันมาราธอน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บ 264 คน ในจำนวนนี้ 17 คน สูญเสียแขนหรือขา
นายซาร์นาเยฟ วัย 21 ปี และนายทาเมอร์ลัน ซาร์นาเยฟ พี่ชายเป็นชาวเชเชนที่อพยพมาสหรัฐตั้งแต่เด็กและได้รับสัญชาติอเมริกัน พี่ชายของเขายิงต่อสู้กับตำรวจและเสียชีวิต ขณะที่เขาถูกจับกุมหลังหลบหนีไปได้ 4 วัน และอ้างว่าก่อเหตุเพื่อแก้แค้นที่สหรัฐฯ ทำสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน
ด้านนางลอเรตตา ลินช์ รัฐมนตรียุติธรรมสหรัฐฯ กล่าวว่า เป็นการลงโทษที่เหมาะสมแล้ว
อย่างไรก็ตาม ชาวเมืองบอสตันในรัฐแมสซาชูเซตส์ส่วนใหญ่คัดค้านการประหารชีวิตนายซาร์นาเยฟ เนื่องจากรัฐนี้ยกเลิกโทษประหารไปตั้งแต่ปี 2490 ขณะที่ครอบครัวผู้เสียชีวิตก็ไม่อยากให้ประหารชีวิตเพราะเกรงว่าการอุทธรณ์ต่อสู้คดียืดเยื้ออีกหลายปีจะทำให้ความเจ็บปวดของพวกเขาไม่สงบลงเสียที