นางสดศรี สัตยธรรม อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงข้อเสนอการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า การจัดทำประชามติจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) 2557 ก่อน ซึ่งนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่าขั้นตอนการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญส่วนนี้ใช้เวลาประมาณ 15 วัน เมื่อเสร็จแล้วจะใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออก เสียงประชามติ พ.ศ. 2552 ซึ่งยังมีผลบังคับใช้อยู่ขึ้นมาดำเนินการ แต่มีข้อสังเกตว่ามาตรา 9 ของ พ.ร.บ.นี้ อาจจะส่งผลให้การทำประชามติทำได้ยาก เนื่องจากกำหนดให้ผู้มาออกเสียงต้องมาออกเสียงเกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีสิทธิออกเสียง ขณะเดียวกันคะแนนเสียงที่จะเป็นที่ยุติได้นั้นต้องเกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้มาใช้สิทธิออกเสียง
นางสดศรี กล่าวต่อว่า ทางออกหนึ่งที่น่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว ) 2557 จากนั้นให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร่างระเบียบการออกเสียงประชามติขึ้นใหม่ ซึ่งอาจจะอิงตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว ) 2549 และระเบียบของสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 โดยใช้แค่เงื่อนไขเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเพียงอย่างเดียว เพราะหากใช้พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 โอกาสที่รัฐธรรมนูญจะผ่านการเห็นชอบเป็นไปได้ยากแน่นอน
นางสดศรี กล่าวต่อว่า ทางออกหนึ่งที่น่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว ) 2557 จากนั้นให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร่างระเบียบการออกเสียงประชามติขึ้นใหม่ ซึ่งอาจจะอิงตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว ) 2549 และระเบียบของสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 โดยใช้แค่เงื่อนไขเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเพียงอย่างเดียว เพราะหากใช้พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 โอกาสที่รัฐธรรมนูญจะผ่านการเห็นชอบเป็นไปได้ยากแน่นอน