นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กระทรวงการคลัง มีมติไล่ออกจากราชการนายสิริพงศ์ ริยะการธีรโชติ ชื่อเดิมนายศุภกิจ ริยะการ สรรพากรพื้นที่นราธิวาส ซึ่งถูกโอนย้ายจากเดิมดำรงตำแหน่งสรรพากรพื้นที่กรุงเทพฯ 22 (บางรัก) กระทำความผิดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จึงได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและตั้งคณะกรรมการสอบวินัยวันที่ 22 สิงหาคม 2556 พบว่ามีความผิดใน 4 ประการ คือ ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และฐานละเว้นการกระทำหรือกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง จึงมีมติไล่ออกจากราชการ
จากการสอบสวนอย่างละเอียดของคณะกรรมการฯ เป็นที่ยุติว่า ได้มีกลุ่มบริษัทที่ประกอบกิจการส่งออกโลหะและแร่โลหะที่เพิ่งจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นผู้ประกอบการจำนวน 30 ราย ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยมิชอบ ในท้องที่กรุงเทพฯ 22 ซึ่งกลุ่มบริษัททั้ง 30 รายนี้ มีกรรมการหรือผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลซ้ำกัน และใช้ที่ตั้งในการจดทะเบียนสถานประกอบการซ้ำกัน แต่ไม่ได้ประกอบการจริง และยังพบว่ากลุ่มบริษัททั้ง 30 รายนี้ ได้มีการซื้อสินค้าจากผู้ขายซ้ำรายกันจากบริษัทผู้ขาย 6 ราย ซึ่งได้ตรวจสอบแล้วไม่พบว่ากลุ่มบริษัททั้ง 6 รายนี้มีการประกอบการจริง
บริษัทที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 30 รายนี้ ทางสำนักงานสรรพากรพื้นที่ 22 ได้จ่ายคืนภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้ว 25 ราย ส่วนอีก 5 ราย ได้แจ้งระงับการจ่าย เนื่องจากปรากฏข่าวการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเท็จ โดยได้มีการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีแรกให้บริษัท 25 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 339 ล้านบาท และหลังจากนั้น ผู้ถูกกล่าวหาในฐานะสรรพากรพื้นที่ 22 ได้อนุมัติให้คืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปให้กับกลุ่มบริษัททั้ง 25 รายอีกจำนวน 2,869 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นได้มีการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มบริษัทผู้ประกอบการส่งออกโลหะและแร่โลหะที่ไม่ได้ประกอบการจริง 3,209 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังเตรียมเอาผิดผู้บริหารระดับซี 9 ขึ้นไปและต่ำกว่าที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิดดังกล่าว เนื่องจากต้องการแก้ปัญหาการทุจริตในกระทรวงการคลัง และต้องขยายผลสอบสวนไปยังผู้ประกอบการขอคืนภาษีเท็จในจังหวัดสมุทรปราการและพื้นที่อื่น คาดว่าจะสรุปทั้งหมดเดือนมิถุนายนนี้
จากการสอบสวนอย่างละเอียดของคณะกรรมการฯ เป็นที่ยุติว่า ได้มีกลุ่มบริษัทที่ประกอบกิจการส่งออกโลหะและแร่โลหะที่เพิ่งจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นผู้ประกอบการจำนวน 30 ราย ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยมิชอบ ในท้องที่กรุงเทพฯ 22 ซึ่งกลุ่มบริษัททั้ง 30 รายนี้ มีกรรมการหรือผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลซ้ำกัน และใช้ที่ตั้งในการจดทะเบียนสถานประกอบการซ้ำกัน แต่ไม่ได้ประกอบการจริง และยังพบว่ากลุ่มบริษัททั้ง 30 รายนี้ ได้มีการซื้อสินค้าจากผู้ขายซ้ำรายกันจากบริษัทผู้ขาย 6 ราย ซึ่งได้ตรวจสอบแล้วไม่พบว่ากลุ่มบริษัททั้ง 6 รายนี้มีการประกอบการจริง
บริษัทที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 30 รายนี้ ทางสำนักงานสรรพากรพื้นที่ 22 ได้จ่ายคืนภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้ว 25 ราย ส่วนอีก 5 ราย ได้แจ้งระงับการจ่าย เนื่องจากปรากฏข่าวการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเท็จ โดยได้มีการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีแรกให้บริษัท 25 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 339 ล้านบาท และหลังจากนั้น ผู้ถูกกล่าวหาในฐานะสรรพากรพื้นที่ 22 ได้อนุมัติให้คืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปให้กับกลุ่มบริษัททั้ง 25 รายอีกจำนวน 2,869 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นได้มีการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มบริษัทผู้ประกอบการส่งออกโลหะและแร่โลหะที่ไม่ได้ประกอบการจริง 3,209 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังเตรียมเอาผิดผู้บริหารระดับซี 9 ขึ้นไปและต่ำกว่าที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิดดังกล่าว เนื่องจากต้องการแก้ปัญหาการทุจริตในกระทรวงการคลัง และต้องขยายผลสอบสวนไปยังผู้ประกอบการขอคืนภาษีเท็จในจังหวัดสมุทรปราการและพื้นที่อื่น คาดว่าจะสรุปทั้งหมดเดือนมิถุนายนนี้