ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(6-8 พ.ค.)เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 5 ปี ใกล้ 33.60 บาทต่อดอลลาร์ โดยเงินบาทยังเผชิญแรงขายอย่างต่อเนื่อง หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการประกาศมาตรการผ่อนคลายเงินทุนไหลออกของธปท. ประกอบกับนักลงทุนต่างชาติกลับมามีสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้รับแรงซื้อคืน เพื่อปรับโพสิชั่นก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม เงินบาทลดช่วงติดลบลงบางส่วนในช่วงท้ายสัปดาห์สอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ซึ่งมีแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่า จีนอาจดำเนินมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจเพิ่มเติม
สำหรับในวันศุกร์ (8 พ.ค.) เงินบาทอยู่ที่ 33.50 เทียบกับระดับ 32.94 บาทต่อดอลลาร์ ในวันพฤหัสบดีก่อนหน้า (30 เม.ย.)
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (11-15 พ.ค.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 33.40-33.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยที่นักลงทุนทั่วโลกรอจับตาก็คือ การตอบรับของตลาดหลังตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ผลการประชุมยูโรกรุ๊ป (ซึ่งจะมีการหารืออีกครั้งในประเด็นมาตรการปฏิรูปของกรีซ) กำหนดเวลาการจ่ายคืนหนี้ IMF ของรัฐบาลกรีซ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/58 ของยูโรโซน และข้อมูลเศรษฐกิจเดือนเมษายนของจีน ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ดัชนีภาวะการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนเมษายน และข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิสู่ตลาดการเงินสหรัฐฯ เดือนมีนาคม
นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้รับแรงซื้อคืน เพื่อปรับโพสิชั่นก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม เงินบาทลดช่วงติดลบลงบางส่วนในช่วงท้ายสัปดาห์สอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย ซึ่งมีแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่า จีนอาจดำเนินมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจเพิ่มเติม
สำหรับในวันศุกร์ (8 พ.ค.) เงินบาทอยู่ที่ 33.50 เทียบกับระดับ 32.94 บาทต่อดอลลาร์ ในวันพฤหัสบดีก่อนหน้า (30 เม.ย.)
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (11-15 พ.ค.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 33.40-33.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยที่นักลงทุนทั่วโลกรอจับตาก็คือ การตอบรับของตลาดหลังตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ผลการประชุมยูโรกรุ๊ป (ซึ่งจะมีการหารืออีกครั้งในประเด็นมาตรการปฏิรูปของกรีซ) กำหนดเวลาการจ่ายคืนหนี้ IMF ของรัฐบาลกรีซ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/58 ของยูโรโซน และข้อมูลเศรษฐกิจเดือนเมษายนของจีน ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ดัชนีภาวะการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนเมษายน และข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิสู่ตลาดการเงินสหรัฐฯ เดือนมีนาคม