นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โรดแมปเศรษฐกิจ-การเมืองไทย" ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี ตอน หนึ่งว่า ในวันที่ 19 พฤษภาคม ทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะประชุมกัน เพื่อตัดสินใจว่า จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (รธน.) ชั่วคราวหรือไม่ แต่ยังไม่มีการพูดถึงการทำประชามติ แต่ถ้าตัดสินใจว่าไม่แก้ไขคือ ปิดประตูทำประชามติ
อย่างไรก็ตาม หากทุกฝ่ายต้องการทำประชามติร่าง รธน.ฉบับใหม่ ก็ต้องกลับไปแก้ รธน.ฉบับชั่วคราวที่ใช้อยู่ขณะนี้ ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างยืดเยื้อออกไปอีก และ จุดอ่อนการทำประชามติ คือ 1.ใช้ งบประมาณมาก 3,000 ล้านบาท 2.ทุกอย่างแทนที่จะเร็ว จะถูกทำให้ยืดออกไปอีก 3-4 เดือน 3.หากไม่ผ่านต้องกลับมาร่างใหม่ ไม่รู้ว่าจะใช้เวลาอีกเท่าไร และหากร่างใหม่เสร็จสิ้นในอนาคตก็จะทำประชามติกันอีก
สำหรับจุดแข็งมี 2 ประการ คือ 1.ตอบสนองความต้องการของประชาชน 2.สร้างความชอบธรรมให้ รธน.ฉบับนี้ เป็นเกราะคุ้มกันให้การแก้ในอนาคตทำได้ยากขึ้น ดังที่เคยเกิดขึ้นกับ รธน.ฉบับปี 2550 มาแล้ว
นายวิษณุ กล่าวอีกว่า ขั้นตอนการโหวตรับ หรือไม่รับร่าง รธน.ของสมาชิกสภาปฏิรูป (สปช.) ในวันที่ 6 สิงหาคมนี้ จะทำให้โรดแมปทางการเมืองของไทยเป็นไปได้ 2 กรณี คือ 1.หาก สปช.โหวตรับร่าง รธน. จากนั้นจะมีการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธย จากนั้นก็ออกกฎหมายลูก เพื่อเตรียมการเลือกตั้ง กระบวนการนี้จะส่งผลให้มีการ เลือกตั้งประมาณเดือน มี.ค. 2559 และน่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และเปิดสภาประมาณเดือนพฤษภาคมปีหน้า ขณะที่กรณีที่ 2.หาก สนช.โหวตไม่ผ่านร่าง รธน.ต้องร่างกันใหม่
อย่างไรก็ตาม หากทุกฝ่ายต้องการทำประชามติร่าง รธน.ฉบับใหม่ ก็ต้องกลับไปแก้ รธน.ฉบับชั่วคราวที่ใช้อยู่ขณะนี้ ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างยืดเยื้อออกไปอีก และ จุดอ่อนการทำประชามติ คือ 1.ใช้ งบประมาณมาก 3,000 ล้านบาท 2.ทุกอย่างแทนที่จะเร็ว จะถูกทำให้ยืดออกไปอีก 3-4 เดือน 3.หากไม่ผ่านต้องกลับมาร่างใหม่ ไม่รู้ว่าจะใช้เวลาอีกเท่าไร และหากร่างใหม่เสร็จสิ้นในอนาคตก็จะทำประชามติกันอีก
สำหรับจุดแข็งมี 2 ประการ คือ 1.ตอบสนองความต้องการของประชาชน 2.สร้างความชอบธรรมให้ รธน.ฉบับนี้ เป็นเกราะคุ้มกันให้การแก้ในอนาคตทำได้ยากขึ้น ดังที่เคยเกิดขึ้นกับ รธน.ฉบับปี 2550 มาแล้ว
นายวิษณุ กล่าวอีกว่า ขั้นตอนการโหวตรับ หรือไม่รับร่าง รธน.ของสมาชิกสภาปฏิรูป (สปช.) ในวันที่ 6 สิงหาคมนี้ จะทำให้โรดแมปทางการเมืองของไทยเป็นไปได้ 2 กรณี คือ 1.หาก สปช.โหวตรับร่าง รธน. จากนั้นจะมีการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธย จากนั้นก็ออกกฎหมายลูก เพื่อเตรียมการเลือกตั้ง กระบวนการนี้จะส่งผลให้มีการ เลือกตั้งประมาณเดือน มี.ค. 2559 และน่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และเปิดสภาประมาณเดือนพฤษภาคมปีหน้า ขณะที่กรณีที่ 2.หาก สนช.โหวตไม่ผ่านร่าง รธน.ต้องร่างกันใหม่