นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า หากคณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นชอบให้ทำประชามติด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 คาดว่า จะเริ่มกระบวนการได้หลังจากที่ สปช.มีมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 สิงหาคมแล้ว และจะส่งผลให้กรอบเวลาตามโรดแมปเดิมต้องขยายออกไปอีกประมาณ 6 เดือน
อย่างไรก็ตาม ตนไม่เห็นด้วยหากจะเสนอให้ทำประชามติในเวลานี้ เพราะการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญยังไม่แล้วเสร็จ อีกทั้งบรรดาพรรคการเมืองยังไม่เห็นด้วยหลายมาตรา จึงเกรงว่า เมื่อมีกระแสข่าวการทำประชามติออกไป อาจทำให้เกิดการไปพูดคุยกับประชาชน จนกระทั่งประชาชนไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แล้วจะทำให้สูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ จึงเห็นว่า ควรแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญจนเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ก่อน แล้วจึงมาพูดคุยกันเรื่องประชามติ ถึงเวลานั้นอาจไม่ต้องเสียงบประมาณทำประชามติเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม ต้องเป็นการตัดสินใจของ ครม.และคสช.เรื่องการทำประชามติ
นอกจากนี้ นายเสรี กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อทำประชามติว่า จะต้องกำหนดขั้นตอนหลังจากที่ประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญไว้ด้วย ซึ่งมี 2 ทางเลือก คือ เมื่อประชาชนไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ต้องยุติการทำงานของ สปช.และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้วสรรหาคณะใหม่เข้ามาทำงานเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ทางเลือกนี้มีข้อเสีย คือ จะทำให้เสียเวลาและเสียงบประมาณจำนวนมาก ขณะที่อีกทางหนึ่งจะประหยัดเวลาและงบประมาณได้มากกว่า คือ เมื่อประชาชนไม่รับร่างใหม่ ให้หยิบรัฐธรรมนูญฉบับเก่าที่เป็นที่ยอมรับในแนวปฏิบัติของคนส่วนใหญ่มาบังคับใช้ ซึ่งวิธีนี้จะคล้ายกับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2549 ที่ระบุว่า หากประชามติไม่ผ่าน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และ ครม.จะพิจารณานำรัฐธรรมนูญที่เคยประกาศใช้ฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุง และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป โดยอำนาจการตัดสินใจเรื่องการกำหนดขั้นตอนต้องขึ้นอยู่กับ ครม. คสช.และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่จะหารือกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม ตนไม่เห็นด้วยหากจะเสนอให้ทำประชามติในเวลานี้ เพราะการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญยังไม่แล้วเสร็จ อีกทั้งบรรดาพรรคการเมืองยังไม่เห็นด้วยหลายมาตรา จึงเกรงว่า เมื่อมีกระแสข่าวการทำประชามติออกไป อาจทำให้เกิดการไปพูดคุยกับประชาชน จนกระทั่งประชาชนไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แล้วจะทำให้สูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ จึงเห็นว่า ควรแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญจนเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ก่อน แล้วจึงมาพูดคุยกันเรื่องประชามติ ถึงเวลานั้นอาจไม่ต้องเสียงบประมาณทำประชามติเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม ต้องเป็นการตัดสินใจของ ครม.และคสช.เรื่องการทำประชามติ
นอกจากนี้ นายเสรี กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อทำประชามติว่า จะต้องกำหนดขั้นตอนหลังจากที่ประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญไว้ด้วย ซึ่งมี 2 ทางเลือก คือ เมื่อประชาชนไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ต้องยุติการทำงานของ สปช.และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้วสรรหาคณะใหม่เข้ามาทำงานเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ทางเลือกนี้มีข้อเสีย คือ จะทำให้เสียเวลาและเสียงบประมาณจำนวนมาก ขณะที่อีกทางหนึ่งจะประหยัดเวลาและงบประมาณได้มากกว่า คือ เมื่อประชาชนไม่รับร่างใหม่ ให้หยิบรัฐธรรมนูญฉบับเก่าที่เป็นที่ยอมรับในแนวปฏิบัติของคนส่วนใหญ่มาบังคับใช้ ซึ่งวิธีนี้จะคล้ายกับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2549 ที่ระบุว่า หากประชามติไม่ผ่าน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และ ครม.จะพิจารณานำรัฐธรรมนูญที่เคยประกาศใช้ฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุง และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป โดยอำนาจการตัดสินใจเรื่องการกำหนดขั้นตอนต้องขึ้นอยู่กับ ครม. คสช.และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่จะหารือกันต่อไป