นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า วิป สปช.ได้มอบหมายให้นายไพโรจน์ พรหมสาร นายอลงกรณ์ พลบุตร และตน ช่วยประสานงานกับสมาชิก สปช. ในการรวบรวมประเด็นการของยื่นญัตติเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การยื่นมีเอกภาพ สามารถจัดลำดับที่สอดคล้องและทั่วถึง ทั้งนี้จากจำนวนสมาชิกสามารถแบ่งได้เพียง 8 กลุ่ม หรือ ยื่นได้เพียง 8 ญัตติเท่านั้น และเท่าที่ทราบเบื้องต้นมี สปช. บางส่วนได้จัดกลุ่มกับบ้างแล้ว และในวันที่ 6 พ.ค.นี้ที่ ประชุมวิป สปช.จะมีการหารือในเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง และคาดว่าจะมีความชัดเจน
นายวันชัย กล่าวว่า ตอนนี้มีการจับกลุ่มยื่นญัตติกันแล้ว ที่มีการพูดกับมากคือเรื่องของการเมือง การปฎิรูป และการสร้างความปรองดอง บางกลุ่มมี 5 คน 10 คน มากสุดมี ถึง 30 คน ดังนั้น จึงต้องมาจับกลุ่มจัดหมวดหมู่ประเด็นกันใหม่
หลังจากได้รับมอบหมายจากวิป สปช.ก็ได้ส่งแบบฟอร์มไปในกลุ่มของ สปช. โดยสอบถามถึงประเด็นที่จะเสนอยื่นญัตติ เรื่องที่จะเสนอขอแก้ไข และมีกลุ่มแล้วหรือไม่ โดยให้สมาชิก สปช.ส่งกลับมาภายในวันที่ 6 พ.ค. เพื่อนำมาจัดเรียงให้เกิดความเหมาะสม เพราะตามกฎหมายกำหนดให้ยื่นญัตติ ภายในวันที่ 25 พ.ค.และการยื่นญัติต้องใช้เสียงของสมาชิก 26 คนต่อ 1 ญัตติ
เมื่อเสนอญัตติไปแล้ว กรรมาธิการยกร่างฯ ก็ต้องเชิญกลุ่มที่เสนอญัตติแต่ละกลุ่ม ไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อเสนอแนะอีกครั้ง หลังจากนั้น สปช.จึงจะโหวตว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ เชื่อว่า กรรมาธิการยกร่างฯ จะรับฟัง จะเอาตัวเองเป็นที่ตั้งเป็นใหญ่อย่างเดียว โดยไม่ฟังเสียงคนอื่นคงไม่ได้ เพราะการทำงานควรต้องสอดรับกันกับส่วนอื่นด้วย เพื่อให้รัฐธรรมนูญออกมาดีที่สุด และหากยังดึงดัน เราก็อาจจะเห็นการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญของ สปช.ก็ได้ และตนไม่มีปัญหา หากจะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการทำงานของ สปช.ไม่มีใครมาสั่ง ทำงานเป็นอิสระ ดังนั้น หากเห็นว่าอะไรที่ไม่ถูกต้อง ก็ต้องคัดค้าน
นายวันชัย กล่าวว่า ตอนนี้มีการจับกลุ่มยื่นญัตติกันแล้ว ที่มีการพูดกับมากคือเรื่องของการเมือง การปฎิรูป และการสร้างความปรองดอง บางกลุ่มมี 5 คน 10 คน มากสุดมี ถึง 30 คน ดังนั้น จึงต้องมาจับกลุ่มจัดหมวดหมู่ประเด็นกันใหม่
หลังจากได้รับมอบหมายจากวิป สปช.ก็ได้ส่งแบบฟอร์มไปในกลุ่มของ สปช. โดยสอบถามถึงประเด็นที่จะเสนอยื่นญัตติ เรื่องที่จะเสนอขอแก้ไข และมีกลุ่มแล้วหรือไม่ โดยให้สมาชิก สปช.ส่งกลับมาภายในวันที่ 6 พ.ค. เพื่อนำมาจัดเรียงให้เกิดความเหมาะสม เพราะตามกฎหมายกำหนดให้ยื่นญัตติ ภายในวันที่ 25 พ.ค.และการยื่นญัติต้องใช้เสียงของสมาชิก 26 คนต่อ 1 ญัตติ
เมื่อเสนอญัตติไปแล้ว กรรมาธิการยกร่างฯ ก็ต้องเชิญกลุ่มที่เสนอญัตติแต่ละกลุ่ม ไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อเสนอแนะอีกครั้ง หลังจากนั้น สปช.จึงจะโหวตว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ เชื่อว่า กรรมาธิการยกร่างฯ จะรับฟัง จะเอาตัวเองเป็นที่ตั้งเป็นใหญ่อย่างเดียว โดยไม่ฟังเสียงคนอื่นคงไม่ได้ เพราะการทำงานควรต้องสอดรับกันกับส่วนอื่นด้วย เพื่อให้รัฐธรรมนูญออกมาดีที่สุด และหากยังดึงดัน เราก็อาจจะเห็นการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญของ สปช.ก็ได้ และตนไม่มีปัญหา หากจะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการทำงานของ สปช.ไม่มีใครมาสั่ง ทำงานเป็นอิสระ ดังนั้น หากเห็นว่าอะไรที่ไม่ถูกต้อง ก็ต้องคัดค้าน