ไอเอ็มเอฟระบุในรายงานล่าสุดว่า เศรษฐกิจเอเชียซึ่งจะมีอัตราการขยายตัว 5.6% ในปีนี้ ยังคงสามารถที่จะเป็นตัวหนุนนำการเติบโตของทั่วโลก ทั้งนี้ถึงแม้จีนจะชะลอตัว แต่ก็ได้ชดเชยจากการฟื้นตัวในอินเดียและญี่ปุ่น นอกจากนั้นรายงานยังระบุว่า ภาคธุรกิจและภาคผู้บริโภคของไทย จีน และญี่ปุ่น ต่างจะได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันขาลง
เมื่อวันพฤหัสบดี (7พ.ค.) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เผยแพร่รายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ฉบับล่าสุด ซึ่งระบุคาดการณ์ว่า ภูมิภาคนี้จะมีอัตราเติบโต 5.6% ในปีปัจจุบัน ก่อนชะลอลงเล็กน้อยอยู่ที่ 5.5% ในปีหน้า
รายงานบอกว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเอเชีย มีอัตราเติบโตลดลงมาอยู่ที่ 5.5% ในปี 2014 ที่ผ่านมา จากที่ทำได้ 5.9% ในปี 2013 โดยมีแนวโน้มชะลอลงตามเศรษฐกิจจีน ซึ่งเข้าสู่ช่วงการเติบโตอย่างยั่งยืนแทนการเติบโตอย่างร้อนแรงในอัตราเลข 2 หลักในตลอด 10 ปีหลังมานี้ ดังจะเห็นได้จากจีดีพีในไตรมาสแรกของปีนี้ก็อยู่ที่ระดับ 7%
ชางยอง รี ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชีย-แปซิฟิกของไอเอ็มเอฟ แถลงว่า อัตราเติบโตปัจจุบันของจีนสอดคล้องกับการคาดการณ์ของทางกองทุนฯ แต่ถึงแม้เป็นการชะลอตัวโดยตั้งใจ ก็อาจส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ อยู่ดี
รีชี้ว่า ระดับหนี้ที่เพิ่มพูนขึ้นและการชะงักงันในตลาดการเงิน ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตต่อไปของแดนมังกร อย่างไรก็ดี ความพยายามของผู้คุมกฎการเงินจีนในการเข้าควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินที่กู้ยืมมา ตลอดจนการเข้าควบคุมพวกกองทุนรวมประเภท umbrella trust ถือว่าเป็นมาตรการที่ดี
สำหรับในภาพรวม รายงานประเมินว่า ราคาน้ำมันที่ถูกลงอาจช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจโลกได้ 0.3-0.7% ในปีนี้ และแม้ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันจะประสบปัญหาจากรายได้ที่ลดลง แต่ประเทศอย่างญี่ปุ่น จีน และไทย จะได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันขาลงทั้งในแง่ธุรกิจและการบริโภค
เมื่อวันพฤหัสบดี (7พ.ค.) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เผยแพร่รายงานทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ฉบับล่าสุด ซึ่งระบุคาดการณ์ว่า ภูมิภาคนี้จะมีอัตราเติบโต 5.6% ในปีปัจจุบัน ก่อนชะลอลงเล็กน้อยอยู่ที่ 5.5% ในปีหน้า
รายงานบอกว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเอเชีย มีอัตราเติบโตลดลงมาอยู่ที่ 5.5% ในปี 2014 ที่ผ่านมา จากที่ทำได้ 5.9% ในปี 2013 โดยมีแนวโน้มชะลอลงตามเศรษฐกิจจีน ซึ่งเข้าสู่ช่วงการเติบโตอย่างยั่งยืนแทนการเติบโตอย่างร้อนแรงในอัตราเลข 2 หลักในตลอด 10 ปีหลังมานี้ ดังจะเห็นได้จากจีดีพีในไตรมาสแรกของปีนี้ก็อยู่ที่ระดับ 7%
ชางยอง รี ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชีย-แปซิฟิกของไอเอ็มเอฟ แถลงว่า อัตราเติบโตปัจจุบันของจีนสอดคล้องกับการคาดการณ์ของทางกองทุนฯ แต่ถึงแม้เป็นการชะลอตัวโดยตั้งใจ ก็อาจส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ อยู่ดี
รีชี้ว่า ระดับหนี้ที่เพิ่มพูนขึ้นและการชะงักงันในตลาดการเงิน ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตต่อไปของแดนมังกร อย่างไรก็ดี ความพยายามของผู้คุมกฎการเงินจีนในการเข้าควบคุมการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินที่กู้ยืมมา ตลอดจนการเข้าควบคุมพวกกองทุนรวมประเภท umbrella trust ถือว่าเป็นมาตรการที่ดี
สำหรับในภาพรวม รายงานประเมินว่า ราคาน้ำมันที่ถูกลงอาจช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจโลกได้ 0.3-0.7% ในปีนี้ และแม้ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันจะประสบปัญหาจากรายได้ที่ลดลง แต่ประเทศอย่างญี่ปุ่น จีน และไทย จะได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันขาลงทั้งในแง่ธุรกิจและการบริโภค