นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เปิดเผยถึงกรณีที่รพ.เอกชน เรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลแพงว่า ระหว่างปี 2556-2557 มีประชาชนร้องเรียนเรื่องดังกล่าว เข้ามายังเครือข่ายฯ ประมาณ 10 ราย โดยพบว่าต้องเสียค่ารักษาพยาบาลถึงวันละ 4 แสนบาท ซึ่งรายที่ต้องจ่ายมากที่สุดอยู่ที่ 1.3 ล้านบาท ขณะที่ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ก็มีประชาชนจำนวนมาก เข้าไปร้องเรียนเช่นเดียวกัน ซึ่งทราบว่า สปสช.เอง ได้พยายามแก้ปัญหาอยู่ แต่ไม่สำเร็จ เพราะไม่สามารถไปบังคับ รพ.เอกชนได้ นอกจากนี้ยังมีการร้องเรียนไปยังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.), สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) อีกจำนวนไม่น้อย แต่สุดท้ายกลับไม่มีหน่วยงานไหนออกมาทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทางเครือข่ายฯ จึงได้ล่ารายชื่อประชาชน เพื่อจะนำไปยื่นต่อผู้มีหน้าที่ในการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาควบคุมเรื่องค่ารักษาพยาบาล และออกเป็นกฎหมายควบคุมอย่างจริงจัง เพราะพ.ร.บ.สถานพยาบาล 2545 ระบุเพียงแค่ให้สถานพยาบาลเปิดเผยค่ารักษาเท่านั้น
“ตอนนี้เราสามารถล่ารายชื่อประชาชนมาได้กว่า 32,000 รายชื่อแล้ว นัดหมายกันว่า ในวันที่ 12 พ.ค.นี้ จะเดินทางไปยื่นเรื่องต่อ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข ที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 12.30 น. จากนั้นจะไปยื่นต่อ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) และ รศ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานกรรมาธิการสาธารณสุข สปช. เพื่อผลักดันให้ตั้งกรรมการ คุมราคาค่ารักษาพยาบาลอย่างจริงจัง”นางปรียนันท์กล่าว
สำหรับกรณีตัวอย่างเมื่อปี 2557 นางปรียนันท์ กล่าวว่า มีคนไข้เป็นผู้ชายหมดสติระหว่างการซาวด์น่า และถูกนำส่งไปรพ.เอกชนแห่งหนึ่ง ปฐมพยาบาลก่อนจะส่งไปรักษาตัวต่อที่ รพ.เอกชนแห่งที่ 2 แพทย์เอ็กซ์เรย์ไม่พบ เลือดออกที่ก้านสมองแต่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อยากระตุ้นหัวใจ จึงวินิจฉัยว่า เป็นภาวะ "ฮีทสโตรก" แต่ทางภรรยายังไม่หมดหวัง ได้ประสานไปยัง รพ.เอกชนแห่งที่ 3 ซึ่งรับปากว่า สามารถรักษาได้ โดยฉีดยากระตุ้นหัวใจ เข็มละ 7 หมื่นบาท จากนั้นแพทย์บอกว่า คนไข้มีภาวะเลือดข้น จำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือด แต่ระหว่างการฟอกเลือด คนไข้กลับมีเลือดไหลออกทางปาก จมูก และทวารหนัก เพราะร่างกายไม่ตอบสนองต่อยาที่ให้ไป สุดท้ายก็ทำได้เพียงประคองลมหายใจ และเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งภรรยาของชายคนดังกล่าว เชื่อว่ารพ.เอกชนแห่งที่ 3 ยื้อชีวิตสามีไว้เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าเท่านั้น
นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้ว ยังพบว่า รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง กักตัวคนไข้เอาไว้ไม่ยอมให้ออกจากรพ. หากไม่มีเงินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลกว่า 8 แสนบาท โดยผู้ป่วยหญิงรายนี้ บ้านอยู่ต่างจังหวัด อายุ 78 ปี เกิดล้มฟุบลิ้นจุกปากในงานแต่งงาน ญาติในพื้นที่กทม. ฝ่ายญาติเร่งนำตัวส่งรพ.เอกชนที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งทางรพ.แจ้งว่าผู้ป่วยไม่มีญาติใกล้ชิด หากจะรักษาต้องจ่ายคืนละ 3 หมื่นบาท ญาติที่พาไปเห็นว่าสามารถรวมเงินกันได้จึงยินยอม
ต่อมารพ.แจ้งอีกว่า ผู้ป่วยต้องทำบอลลูนหัวใจและให้เซ็นยินยอมจ่ายค่ารักษาหลายแสนบาท โดยให้เหตุผลว่า เป็นเคสฉุกเฉิน หากถึงแก่ชีวิตสามารถเรียกเก็บเงินจากสปสช.ได้ แต่ไม่บอกกับญาติผู้ป่วยให้หมดว่า สปสช. ไม่สามารถจ่ายได้ตามจำนวนที่ รพ.เรียกเก็บ จนเกิดความเข้าใจผิดและเซ็นรับเงื่อนไขดังกล่าว ภายหลังบุตรชายของคนไข้ ต้องการจะย้ายผู้ป่วยไปรักษาตัวต่อที่รพ.ของรัฐ เนื่องจากเห็นว่าค่ารักษาพยาบาลแพงมาก แต่รพ.บอกว่า ยังไม่สามารถย้ายได้เพราะอันตราย กระทั่งพ้นขีดอันตรายแล้ว ก็ยังไม่ยอมให้ออก โดยให้เหตุผลว่า ต้องเอาเงินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อน สุดท้ายลูกชายคนไข้รายนี้ ก็ต้องเซ็นรับสภาพหนี้ เพื่อที่จะได้พามารดาไปรักษาตัวที่รพ.อื่นต่อไป ทั้งหมดนี้เป็นปัญหามาก ถ้าหากมีกรรมการมาวินิจฉัย ก็จะทำให้ทราบได้ว่าหัตการต่าง ๆ ที่ทำไปนั้นเหมาะสมหรือไม่
ด้าน นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า รพ.เอกชน เป็นเสมือนกับการให้บริการทางเลือกโดยต้องรับผิดชอบค่า ใช้จ่ายของ รพ.เองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ, ค่าไฟและค่าบุคลากรแตกต่างจาก การทำงานของรพ.รัฐ ที่มีรัฐช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าค่ารักษาที่สูงนั้น ส่วนใหญ่มาจากค่ายา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์เป็นหลัก โดยเฉพาะค่ายานั้นพบว่าใน รพ.เอกชนบางแห่ง สูงกว่าราคาท้องตลาด 100-200 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งประเด็นนี้มีกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ดูแล ในขณะที่อัตราค่าธรรมเนียมแพทย์ ยังค่อนข้างถูก ดังนั้นแพทยสภาโดยราชวิทยาลัยต่าง ๆ อยู่ระหว่างการร่างอัตราค่าธรรมเนียมแพทย์ใหม่
“ตอนนี้เราสามารถล่ารายชื่อประชาชนมาได้กว่า 32,000 รายชื่อแล้ว นัดหมายกันว่า ในวันที่ 12 พ.ค.นี้ จะเดินทางไปยื่นเรื่องต่อ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข ที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 12.30 น. จากนั้นจะไปยื่นต่อ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) และ รศ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ประธานกรรมาธิการสาธารณสุข สปช. เพื่อผลักดันให้ตั้งกรรมการ คุมราคาค่ารักษาพยาบาลอย่างจริงจัง”นางปรียนันท์กล่าว
สำหรับกรณีตัวอย่างเมื่อปี 2557 นางปรียนันท์ กล่าวว่า มีคนไข้เป็นผู้ชายหมดสติระหว่างการซาวด์น่า และถูกนำส่งไปรพ.เอกชนแห่งหนึ่ง ปฐมพยาบาลก่อนจะส่งไปรักษาตัวต่อที่ รพ.เอกชนแห่งที่ 2 แพทย์เอ็กซ์เรย์ไม่พบ เลือดออกที่ก้านสมองแต่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อยากระตุ้นหัวใจ จึงวินิจฉัยว่า เป็นภาวะ "ฮีทสโตรก" แต่ทางภรรยายังไม่หมดหวัง ได้ประสานไปยัง รพ.เอกชนแห่งที่ 3 ซึ่งรับปากว่า สามารถรักษาได้ โดยฉีดยากระตุ้นหัวใจ เข็มละ 7 หมื่นบาท จากนั้นแพทย์บอกว่า คนไข้มีภาวะเลือดข้น จำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือด แต่ระหว่างการฟอกเลือด คนไข้กลับมีเลือดไหลออกทางปาก จมูก และทวารหนัก เพราะร่างกายไม่ตอบสนองต่อยาที่ให้ไป สุดท้ายก็ทำได้เพียงประคองลมหายใจ และเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งภรรยาของชายคนดังกล่าว เชื่อว่ารพ.เอกชนแห่งที่ 3 ยื้อชีวิตสามีไว้เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าเท่านั้น
นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้ว ยังพบว่า รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง กักตัวคนไข้เอาไว้ไม่ยอมให้ออกจากรพ. หากไม่มีเงินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลกว่า 8 แสนบาท โดยผู้ป่วยหญิงรายนี้ บ้านอยู่ต่างจังหวัด อายุ 78 ปี เกิดล้มฟุบลิ้นจุกปากในงานแต่งงาน ญาติในพื้นที่กทม. ฝ่ายญาติเร่งนำตัวส่งรพ.เอกชนที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งทางรพ.แจ้งว่าผู้ป่วยไม่มีญาติใกล้ชิด หากจะรักษาต้องจ่ายคืนละ 3 หมื่นบาท ญาติที่พาไปเห็นว่าสามารถรวมเงินกันได้จึงยินยอม
ต่อมารพ.แจ้งอีกว่า ผู้ป่วยต้องทำบอลลูนหัวใจและให้เซ็นยินยอมจ่ายค่ารักษาหลายแสนบาท โดยให้เหตุผลว่า เป็นเคสฉุกเฉิน หากถึงแก่ชีวิตสามารถเรียกเก็บเงินจากสปสช.ได้ แต่ไม่บอกกับญาติผู้ป่วยให้หมดว่า สปสช. ไม่สามารถจ่ายได้ตามจำนวนที่ รพ.เรียกเก็บ จนเกิดความเข้าใจผิดและเซ็นรับเงื่อนไขดังกล่าว ภายหลังบุตรชายของคนไข้ ต้องการจะย้ายผู้ป่วยไปรักษาตัวต่อที่รพ.ของรัฐ เนื่องจากเห็นว่าค่ารักษาพยาบาลแพงมาก แต่รพ.บอกว่า ยังไม่สามารถย้ายได้เพราะอันตราย กระทั่งพ้นขีดอันตรายแล้ว ก็ยังไม่ยอมให้ออก โดยให้เหตุผลว่า ต้องเอาเงินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อน สุดท้ายลูกชายคนไข้รายนี้ ก็ต้องเซ็นรับสภาพหนี้ เพื่อที่จะได้พามารดาไปรักษาตัวที่รพ.อื่นต่อไป ทั้งหมดนี้เป็นปัญหามาก ถ้าหากมีกรรมการมาวินิจฉัย ก็จะทำให้ทราบได้ว่าหัตการต่าง ๆ ที่ทำไปนั้นเหมาะสมหรือไม่
ด้าน นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า รพ.เอกชน เป็นเสมือนกับการให้บริการทางเลือกโดยต้องรับผิดชอบค่า ใช้จ่ายของ รพ.เองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ, ค่าไฟและค่าบุคลากรแตกต่างจาก การทำงานของรพ.รัฐ ที่มีรัฐช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าค่ารักษาที่สูงนั้น ส่วนใหญ่มาจากค่ายา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์เป็นหลัก โดยเฉพาะค่ายานั้นพบว่าใน รพ.เอกชนบางแห่ง สูงกว่าราคาท้องตลาด 100-200 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งประเด็นนี้มีกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ดูแล ในขณะที่อัตราค่าธรรมเนียมแพทย์ ยังค่อนข้างถูก ดังนั้นแพทยสภาโดยราชวิทยาลัยต่าง ๆ อยู่ระหว่างการร่างอัตราค่าธรรมเนียมแพทย์ใหม่