ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา ที่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,379 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของความจุอ่าง มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,579 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,981 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,131 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 308 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่าง มีปริมาณน้ำใช้การได้ 265 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 285 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 282 ล้านลูกบาศก์เมตร
อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการน้ำของแหล่งน้ำต้นทุนในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จะเน้นการใช้น้ำจากเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เป็นหลัก โดยจะสำรองน้ำไว้ที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ให้มากที่สุด สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน หากเกิดมีน้ำเค็มรุกล้ำเข้ามาถึงปากคลองสำแล ซึ่งเป็นจุดสูบน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง เนื่องจากอยู่ในระยะทางที่ใกล้สามารถปล่อยน้ำมาเจือจางน้ำเค็มได้เร็วกว่าเขื่อนอื่นๆที่อยู่ทางตอนบน
อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการน้ำของแหล่งน้ำต้นทุนในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จะเน้นการใช้น้ำจากเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เป็นหลัก โดยจะสำรองน้ำไว้ที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ให้มากที่สุด สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน หากเกิดมีน้ำเค็มรุกล้ำเข้ามาถึงปากคลองสำแล ซึ่งเป็นจุดสูบน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง เนื่องจากอยู่ในระยะทางที่ใกล้สามารถปล่อยน้ำมาเจือจางน้ำเค็มได้เร็วกว่าเขื่อนอื่นๆที่อยู่ทางตอนบน