ในการประชุมสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกในวันนี้ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า จะเริ่มอภิปรายในหมวดทั่วไปที่มี 7 มาตราก่อน และจากการที่มีสมาชิกสปช.ยื่นแสดงความจำนงในการอภิปรายกว่า 165 คน ดังนั้นสมาชิกแต่ละคนจะมีเวลาในการอภิปรายได้ไม่เกินคนละ 20 นาที และจะอภิปรายเป็นรายภาค
จากนั้น นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิก สปช.และเลขาธิการวิป สปช. กล่าวอภิปรายว่า หมวดทั่วไปถือเป็นสิ่งสำคัญในรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นโครงสร้างของรัฐธรรมนูญที่จะต้องตอบโจทย์ต่างๆของประเทศ และความคาดหวังว่าจะต้องแก้ไขปัญหาความแตกแยก การทุจริตคอร์รัปชัน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคม รวมถึงจะต้องแก้ไขปัญหาความยากจนในอดีตให้ได้
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังมีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ เพราะถือเป็นครั้งแรกที่มีการบัญญัติการปฎิรูปและการปรองดองไว้ในรัฐธรรมนูญ พร้อมระบุด้วยว่า การอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้มีการตั้งธงไว้ล่วงหน้า และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตลอดจนคณะรัฐมนตรี ก็ไม่ได้ตั้งธงกับ สปช. ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงทำงานอย่างเป็นอิสระ อย่างไรก็ตาม อยากให้ทางคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ตอบข้อสงสัยต่างๆ ผ่านที่ประชุม เพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดความสบายใจ ทั้งเห็นว่าควรทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนและเป็นการพิสูจน์ให้ทุกฝ่ายยอมรับ
ด้านนางพันธุ์ทิพย์ สายสุนทร สมาชิก สปช.อภิปรายถึงหมวดทั่วไปของรัฐธรรมนูญ ว่า ต้องการให้มีการบัญญัติการคุ้มครองคนสัญชาติไทยที่ชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้นในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งควรมีกฎหมายกำหนดการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน การรับรองสถานะสำหรับคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ที่มีอยู่กว่า 3 ล้านคนในขณะนี้ เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ด้วย
จากนั้น นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิก สปช.และเลขาธิการวิป สปช. กล่าวอภิปรายว่า หมวดทั่วไปถือเป็นสิ่งสำคัญในรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นโครงสร้างของรัฐธรรมนูญที่จะต้องตอบโจทย์ต่างๆของประเทศ และความคาดหวังว่าจะต้องแก้ไขปัญหาความแตกแยก การทุจริตคอร์รัปชัน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคม รวมถึงจะต้องแก้ไขปัญหาความยากจนในอดีตให้ได้
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังมีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ เพราะถือเป็นครั้งแรกที่มีการบัญญัติการปฎิรูปและการปรองดองไว้ในรัฐธรรมนูญ พร้อมระบุด้วยว่า การอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้มีการตั้งธงไว้ล่วงหน้า และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตลอดจนคณะรัฐมนตรี ก็ไม่ได้ตั้งธงกับ สปช. ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงทำงานอย่างเป็นอิสระ อย่างไรก็ตาม อยากให้ทางคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ตอบข้อสงสัยต่างๆ ผ่านที่ประชุม เพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดความสบายใจ ทั้งเห็นว่าควรทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนและเป็นการพิสูจน์ให้ทุกฝ่ายยอมรับ
ด้านนางพันธุ์ทิพย์ สายสุนทร สมาชิก สปช.อภิปรายถึงหมวดทั่วไปของรัฐธรรมนูญ ว่า ต้องการให้มีการบัญญัติการคุ้มครองคนสัญชาติไทยที่ชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้นในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งควรมีกฎหมายกำหนดการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน การรับรองสถานะสำหรับคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ที่มีอยู่กว่า 3 ล้านคนในขณะนี้ เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ด้วย