นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือวิปสปช. กล่าวกรณีที่ตนยังไม่ทราบว่า มีสมาชิก สปช. ที่มีการแต่งตั้งเครือญาติ เป็นผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ช่วยดำเนินการประจำตัวกันทั้งหมดกี่คน เพราะเมื่อการประชุม วิปสปช.ครั้งที่ผ่านมา ทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้รายงานว่า หลายฝ่ายยื่นเรื่องเพื่อขอข้อมูลในเรื่องดังกล่าว ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร แต่ไม่ได้มีการแจ้งรายระเอียดต่อที่ประชุมว่า มีกี่คน แล้วมีใครบ้างที่แต่งตั้งเครือญาติเข้ามาช่วยงานบ้าง แต่เมื่อปรากฏรายชื่อเพิ่มเติมมาอีก สมาชิก สปช. ก็ต้องยึดตามแนวทางที่ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. และ มติวิปสปช. ที่ได้วางไว้
"ยอมรับว่า กรณีดังกล่าวจะปรากฏว่ามีรายชื่อสมาชิกมากหรือน้อย ก็กระทบต่อภาพลักษณ์ของสปช. แน่นอน ต้องไม่ลืมว่าสปช. เป็นผู้นำในการปฏิรูป ดังนั้นประชาชนจึงคาดหวังว่า สปช. จะมีมาตรฐานที่สูงกว่าสภาฯในอดีต แต่เมื่อมีข้อวิจารณ์ของสังคม สมาชิกก็ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเรื่องดังกล่าว ถือว่าเป็นบทเรียนที่ สปช. จะต้องพึงระมัดระวัง รวมถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย" นายอลงกรณ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมในวันที่ 26 มี.ค.นี้ จะมีการหยิบยกเรื่องนี้ ขึ้นมาสอบถามถึงข้อมูลที่แท้จริง รวมถึงความคืบหน้า หลังจากที่วิปสปช. มีมติออกมาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้วว่า สมาชิกได้ปฏิบัติตามมติวิปแล้วหรือไม่ อย่างไร
**สปช.ให้"ลูก-เมีย-ญาติ"ลาออกแล้ว
ด้านพ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย สปช. ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวถึงกรณีที่ปรากฏรายชื่อเป็นหนึ่งในสมาชิกสปช. ที่แต่งตั้งเครือญาติเข้าดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำชาญการ และผู้ช่วยดำเนินการประจำตัว จำนวน 4 คนว่า ตั้งแต่มีข้อท้วงติงถึงความเหมาะสม ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีการแต่งตั้งเครือญาติเข้ามาเป็นผู้ช่วยประจำตัว และทางวิป สนช. ก็ได้มีความเห็นร่วม เพื่อแนะนำให้ออกลาออก ซึ่งในเมื่อสังคมได้ท้วงติง และทางสนช. ก็มีความเห็นเช่นนั้น ตนฐานะที่เป๊น สมาชิกสปช. ก็ได้ให้ทั้ง 4 คน ลาออกทั้งหมดไปตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว ก่อนที่วิปสปช. จะมีมติดังกล่าวออกมา
ขณะที่พล.ท.นคร สุขประเสริฐ สมาชิก สปช. จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ตนได้ให้น้องชายลาออกตั้งแต่กรณีของสนช.แล้ว ซึ่งการที่แต่งตั้งให้น้องชายเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ เนื่องจากตนเป็นสมาชิกสชป.จังหวัด และยังต้องทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย จึงไม่มีเวลาลงพื้นที่ ทำเวทีภาคประชาชนเกี่ยวกับการปฏิรูป จึงต้องให้น้องชายที่มีความรู้ความสามารถ และยังมีความเชี่ยวชาญในพื่นที่ เข้ามาทำงานดังกล่าวแทน อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ขัดระเบียบของ สปช. แต่ในเมื่อสังคมมองว่าไม่เหมาะสม ก็ไม่ขัดข้องแต่อย่างใด
นายนิรันดร์ พันทรกิจ สมาชิก สปช. ด้านอื่นๆ กล่าวว่า ตนได้แต่งตั้งภรรยาเป็นผู้ช่วยผู้ดำเนินงานประจำตัว คนที่ 3 แต่ในเมื่อสังคมมองไม่ดี ก็ได้ให้ภรรยาลาออกไปแล้ว ตั้งแต่เกิดกรณีของสนช. ซึ่งเห็นว่า หากการแต่งตั้งเครือญาติเข้ามาทำหน้าที่แล้วไม่เหมาะสม แม้จะไม่ผิดข้อบังคับ ก็ควรจะบอกกันตั้งแต่แรก เพราะมาบอกภายหลังก็เกิดปัญหาเช่นนั้น เพราะทุกคนก็เข้าใจว่า การแต่งตั้งคนใกล้ชิด ก็จะสามารถทำให้ทำงานได้คล่องตัว ทั้งนี้ การแต่งตั้งดังกล่าวจะเหมาะสมหรือไม่ คิดว่าอยู่ที่การทำงานมากกว่า เพราะกรณีของตน ภรรยาก็มาช่วยงานตลอดเวลา
"ยอมรับว่า กรณีดังกล่าวจะปรากฏว่ามีรายชื่อสมาชิกมากหรือน้อย ก็กระทบต่อภาพลักษณ์ของสปช. แน่นอน ต้องไม่ลืมว่าสปช. เป็นผู้นำในการปฏิรูป ดังนั้นประชาชนจึงคาดหวังว่า สปช. จะมีมาตรฐานที่สูงกว่าสภาฯในอดีต แต่เมื่อมีข้อวิจารณ์ของสังคม สมาชิกก็ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเรื่องดังกล่าว ถือว่าเป็นบทเรียนที่ สปช. จะต้องพึงระมัดระวัง รวมถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย" นายอลงกรณ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมในวันที่ 26 มี.ค.นี้ จะมีการหยิบยกเรื่องนี้ ขึ้นมาสอบถามถึงข้อมูลที่แท้จริง รวมถึงความคืบหน้า หลังจากที่วิปสปช. มีมติออกมาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้วว่า สมาชิกได้ปฏิบัติตามมติวิปแล้วหรือไม่ อย่างไร
**สปช.ให้"ลูก-เมีย-ญาติ"ลาออกแล้ว
ด้านพ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย สปช. ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวถึงกรณีที่ปรากฏรายชื่อเป็นหนึ่งในสมาชิกสปช. ที่แต่งตั้งเครือญาติเข้าดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำชาญการ และผู้ช่วยดำเนินการประจำตัว จำนวน 4 คนว่า ตั้งแต่มีข้อท้วงติงถึงความเหมาะสม ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีการแต่งตั้งเครือญาติเข้ามาเป็นผู้ช่วยประจำตัว และทางวิป สนช. ก็ได้มีความเห็นร่วม เพื่อแนะนำให้ออกลาออก ซึ่งในเมื่อสังคมได้ท้วงติง และทางสนช. ก็มีความเห็นเช่นนั้น ตนฐานะที่เป๊น สมาชิกสปช. ก็ได้ให้ทั้ง 4 คน ลาออกทั้งหมดไปตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว ก่อนที่วิปสปช. จะมีมติดังกล่าวออกมา
ขณะที่พล.ท.นคร สุขประเสริฐ สมาชิก สปช. จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ตนได้ให้น้องชายลาออกตั้งแต่กรณีของสนช.แล้ว ซึ่งการที่แต่งตั้งให้น้องชายเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ เนื่องจากตนเป็นสมาชิกสชป.จังหวัด และยังต้องทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วย จึงไม่มีเวลาลงพื้นที่ ทำเวทีภาคประชาชนเกี่ยวกับการปฏิรูป จึงต้องให้น้องชายที่มีความรู้ความสามารถ และยังมีความเชี่ยวชาญในพื่นที่ เข้ามาทำงานดังกล่าวแทน อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ขัดระเบียบของ สปช. แต่ในเมื่อสังคมมองว่าไม่เหมาะสม ก็ไม่ขัดข้องแต่อย่างใด
นายนิรันดร์ พันทรกิจ สมาชิก สปช. ด้านอื่นๆ กล่าวว่า ตนได้แต่งตั้งภรรยาเป็นผู้ช่วยผู้ดำเนินงานประจำตัว คนที่ 3 แต่ในเมื่อสังคมมองไม่ดี ก็ได้ให้ภรรยาลาออกไปแล้ว ตั้งแต่เกิดกรณีของสนช. ซึ่งเห็นว่า หากการแต่งตั้งเครือญาติเข้ามาทำหน้าที่แล้วไม่เหมาะสม แม้จะไม่ผิดข้อบังคับ ก็ควรจะบอกกันตั้งแต่แรก เพราะมาบอกภายหลังก็เกิดปัญหาเช่นนั้น เพราะทุกคนก็เข้าใจว่า การแต่งตั้งคนใกล้ชิด ก็จะสามารถทำให้ทำงานได้คล่องตัว ทั้งนี้ การแต่งตั้งดังกล่าวจะเหมาะสมหรือไม่ คิดว่าอยู่ที่การทำงานมากกว่า เพราะกรณีของตน ภรรยาก็มาช่วยงานตลอดเวลา