นายชาครีย์ บูรณกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2557 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ทำให้ราคาพลังงานในภาคเชื้อเพลิง และภาคขนส่งปรับลดลง ส่วนค่าไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ คณะกรรมการกำกับนโยบายพลังงาน (กกพ.) โดยการปรับตัวของราคาก๊าซธรรมชาติจะไม่เปลี่ยนแปลงในทันที เมื่อราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัว โดยราคาก๊าซธรรมชาติจะสะท้อนจากต้นทุนราคาน้ำมันดิบย้อนหลัง 6 ถึง 18 เดือน เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาการซื้อขายก๊าซธรรมชาติ
เพื่อช่วยลดการผันผวนของต้นทุนเชื้อเพลิง เมื่อราคาน้ำมันดิบดูไบ เมื่อไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 ปรับลดลงจากระดับ 101.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ราคา 51.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2558 ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติในไตรมาสแรกของปี 2558 ปรับลดลงอยู่ที่ราคา 290 บาทต่อล้านลูกบาศก์ฟุต จึงคาดว่าราคาก๊าซธรรมชาติในไตรมาสที่ 2 และ 3 ว่าจะปรับลดลง อยู่ที่ระดับ
260–265 บาทต่อล้านลูกบาศก์ฟุต และ 250–255 บาทต่อล้านลูกบาศก์ฟุต ตามลำดับ หากราคาน้ำมันยังทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันคาดว่า ราคาก๊าซธรรมชาติจะลดลงต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ด้วย เมื่อราคาก๊าซธรรมชาติปรับตัวลดลง จะส่งผลดีต่อต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า จึงคาดว่าจะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลงกว่าเดิม และราคาก๊าซธรรมชาติขายในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งอ้างอิงกับราคาน้ำมันเตาจะมีการปรับตัวลดลงเช่นกัน รวมถึงราคาเชื้อเพลิงในภาคขนส่งด้วย ทั้งหมดนี้ส่งผลดีผู้บริโภคโดยตรง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราคาพลังงานมีแนวโน้มลดลงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคได้ แต่การที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ใช้พลังงาน
และยังต้องนำเข้าพลังงานเพื่อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าเพื่อยืดอายุพลังงานยังเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลูกหลานไทยในอนาคต
เพื่อช่วยลดการผันผวนของต้นทุนเชื้อเพลิง เมื่อราคาน้ำมันดิบดูไบ เมื่อไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 ปรับลดลงจากระดับ 101.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ราคา 51.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
ในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2558 ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติในไตรมาสแรกของปี 2558 ปรับลดลงอยู่ที่ราคา 290 บาทต่อล้านลูกบาศก์ฟุต จึงคาดว่าราคาก๊าซธรรมชาติในไตรมาสที่ 2 และ 3 ว่าจะปรับลดลง อยู่ที่ระดับ
260–265 บาทต่อล้านลูกบาศก์ฟุต และ 250–255 บาทต่อล้านลูกบาศก์ฟุต ตามลำดับ หากราคาน้ำมันยังทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันคาดว่า ราคาก๊าซธรรมชาติจะลดลงต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ด้วย เมื่อราคาก๊าซธรรมชาติปรับตัวลดลง จะส่งผลดีต่อต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า จึงคาดว่าจะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลงกว่าเดิม และราคาก๊าซธรรมชาติขายในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งอ้างอิงกับราคาน้ำมันเตาจะมีการปรับตัวลดลงเช่นกัน รวมถึงราคาเชื้อเพลิงในภาคขนส่งด้วย ทั้งหมดนี้ส่งผลดีผู้บริโภคโดยตรง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราคาพลังงานมีแนวโน้มลดลงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคได้ แต่การที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ใช้พลังงาน
และยังต้องนำเข้าพลังงานเพื่อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าเพื่อยืดอายุพลังงานยังเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลูกหลานไทยในอนาคต