นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง เปิดเผยว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องจัดทำประชามติจากประชาชน ซึ่งต้องใช้เวลา 3 เดือนหลังจากรัฐธรรมนูญใหม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อาจจะเกิดขึ้นภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ เมื่อทำประชามติเสร็จแล้วก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ จากนั้น กกต.จะเสนอร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) และได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ซึ่งขบวนการดังกล่าวอาจจะใช้เวลา 2 เดือน ดังนั้นการจัดการเลือกตั้งน่าจะจัดได้ประมาณปลายเดือนเมษายน 2559 หลังจากนั้นจะเป็นการเลือกตั้ง ส.ว. เนื่องจากการจัดการเลือกตั้ง ส.ว.จะมีความซับซ้อนกว่า ส.ส. จะจัดพร้อมกันไม่ได้ ต้องทิ้งระยะห่างประมาณ 2-3 เดือน
อย่างไรก็ตาม กกต.ได้เตรียมการไว้แล้วสำหรับการเลือกตั้งมี 3 ส่วนคือ การจัดทำประชามติ จะทำอย่างไรให้คนที่เห็นแตกต่างกันสามารถแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ และทำอย่างไรให้ประชาชนทราบรายละเอียดของรัฐธรรมนูญที่มาจากความรู้ ส่วนการเลือกตั้ง ส.ส. โจทย์คือระบบการลงคะแนนและนับคะแนนจะเป็นอย่างไร เพราะภายใต้การออกแบบของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ประชาชนต้องลงคะแนน 3 อย่าง เราต้องสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนส่วนการเลือกตั้งส.ว.กระบวนการซับซ้อนมากขึ้น กกต.ต้องไปอำนวยการในเรื่องเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ก่อน
นายสมชัย กล่าวอีกว่า ตนไม่ห่วงการเลือกตั้งครั้งแรกคือการทำประชามติ แต่จะเป็นห่วงเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.มากกว่า หากการเลือกตั้งที่มีคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) เข้ามาโดยมีข้าราชการประจำเข้ามาอยู่ในหน่วยงาน จะทำงานได้อย่างมีศักยภาพได้อย่างไร และอาจจะมีฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงข้าราชการประจำหรือไม่ ซึ่งตนรู้สึกเป็นห่วง
นายสมชัย กล่าวด้วยว่า ภายในวันที่ 17 เมษายนนี้ ตนจะร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ กกต.ด้านบริหารงานการเลือกตั้งเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจ การลงคะแนนและเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ภายหลังการประชุมอาจจะมีการจำลองการเลือกตั้งเสมือนจริง และสาธิตการลงคะแนนขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนทำความเข้าใจ
อย่างไรก็ตาม กกต.ได้เตรียมการไว้แล้วสำหรับการเลือกตั้งมี 3 ส่วนคือ การจัดทำประชามติ จะทำอย่างไรให้คนที่เห็นแตกต่างกันสามารถแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ และทำอย่างไรให้ประชาชนทราบรายละเอียดของรัฐธรรมนูญที่มาจากความรู้ ส่วนการเลือกตั้ง ส.ส. โจทย์คือระบบการลงคะแนนและนับคะแนนจะเป็นอย่างไร เพราะภายใต้การออกแบบของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ประชาชนต้องลงคะแนน 3 อย่าง เราต้องสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนส่วนการเลือกตั้งส.ว.กระบวนการซับซ้อนมากขึ้น กกต.ต้องไปอำนวยการในเรื่องเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ก่อน
นายสมชัย กล่าวอีกว่า ตนไม่ห่วงการเลือกตั้งครั้งแรกคือการทำประชามติ แต่จะเป็นห่วงเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.มากกว่า หากการเลือกตั้งที่มีคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) เข้ามาโดยมีข้าราชการประจำเข้ามาอยู่ในหน่วยงาน จะทำงานได้อย่างมีศักยภาพได้อย่างไร และอาจจะมีฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงข้าราชการประจำหรือไม่ ซึ่งตนรู้สึกเป็นห่วง
นายสมชัย กล่าวด้วยว่า ภายในวันที่ 17 เมษายนนี้ ตนจะร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ กกต.ด้านบริหารงานการเลือกตั้งเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจ การลงคะแนนและเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ภายหลังการประชุมอาจจะมีการจำลองการเลือกตั้งเสมือนจริง และสาธิตการลงคะแนนขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนทำความเข้าใจ