สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 28 มีนาคมว่า กระทรวงพาณิชย์ญี่ปุ่นออกรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค ( ซีพีไอ ) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ไม่รวมสินค้าอาหารสดและเชื้อเพลิงที่มีราคาผันผวน ซึ่งเป็นมาตรการวัดอัตราเงินเฟ้อขั้นพื้นฐาน ว่าอยู่ที่ร้อยละ 0 โดยลดลงจากสถิติร้อยละ 0.2 เมื่อเดือนมกราคม ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ออกมาเป็นไปตามความคาดหมายของ นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น ( บีโอเจ ) ซึ่งกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ดัชนีซีพีไอจะแตะระดับร้อยละ 0 ไปอีกระยะ ขณะที่อัตราการใช้จ่ายภาคครัวเรือนประจำเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ร้อยละ 2.9 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน ด้านอัตราการค้าปลีกพื้นฐานประจำเดือนเดียวกันลดลงร้อยละ 1.8 มีเพียงอัตราการว่างงานประจำเดือนเท่านั้นที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ลดลงจากสถิติ เมื่อเดือนมกราคม ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.6แม้รัฐบาลญี่ปุ่นยืนยันเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐและจีน สามารถหลุดพ้นจากภาวะถดถอย หลังอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ ( จีดีพี ) ดีขึ้นใน 2 ไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว แต่การที่ตัวเลขยังต่ำกว่าความคาดหมายของหลายฝ่าย สะท้อนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในภาพรวม ว่ายังคงซบเซา และเข้าใกล้ภาวะเงินฝืดมากทุกขณะ เนื่องจากอัตราการจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจยังอยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ออกมาเป็นไปตามความคาดหมายของ นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น ( บีโอเจ ) ซึ่งกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ดัชนีซีพีไอจะแตะระดับร้อยละ 0 ไปอีกระยะ ขณะที่อัตราการใช้จ่ายภาคครัวเรือนประจำเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ร้อยละ 2.9 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน ด้านอัตราการค้าปลีกพื้นฐานประจำเดือนเดียวกันลดลงร้อยละ 1.8 มีเพียงอัตราการว่างงานประจำเดือนเท่านั้นที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ลดลงจากสถิติ เมื่อเดือนมกราคม ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.6แม้รัฐบาลญี่ปุ่นยืนยันเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐและจีน สามารถหลุดพ้นจากภาวะถดถอย หลังอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ ( จีดีพี ) ดีขึ้นใน 2 ไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว แต่การที่ตัวเลขยังต่ำกว่าความคาดหมายของหลายฝ่าย สะท้อนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในภาพรวม ว่ายังคงซบเซา และเข้าใกล้ภาวะเงินฝืดมากทุกขณะ เนื่องจากอัตราการจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจยังอยู่ในระดับต่ำ