นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ)เดือนม.ค. 58 เท่ากับ 106.02 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.41% ซึ่งเป็นอัตราตัวเลขที่ติดลบครั้งในรอบ 64 เดือนเนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศลดลง รวมถึงมาตรการดูแลค่าครองชีพของรัฐบาล,การลดลงของค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอที)และราคาอาหารสดที่สำคัญทั้งไข่ไก่ เนื้อสุกร ไก่สด ผักสดบางบางประเภทปรับตัวลดลง
“ในเร็วๆนี้กำลังจะมีการทบทวนเป้าหมายตัวเลขเงินเฟ้อในปี58 ใหม่จากปัจจุบันที่วางกรอบไว้ 1.8-2.5% โดยขณะนั้นประเมินราคาน้ำมันตลาดโลกที่ 90-110ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ตอนนี้ลงมาอยู่ในระดับ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลและน่าจะนิ่งแล้ว รวมถึงธปท. มีการปรับลดจีดีพีจากเดิม 4.5% เหลือ 3.5% และอัตราค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปีจากเดิมประเมิน31-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 32-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ”
นายสมเกียรติ กล่าวว่า เงินเฟ้อที่ขยายตัวลดลงต่อเนื่องนั้นสำนักงานนโยบายฯกำลังติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดว่าจะเกิดปัญหาเงินฝืดหรือไม่แต่ในเบื้องต้นอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงมาจากเรื่องของต้นทุนและราคาสินค้าลดลงเป็นหลักไม่ใช่เกิดจากประชาชนลดการใช้จ่ายลง
ด้านนายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน ม.ค.58 ที่ติดลบ 0.41% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และติดลบ 0.59% เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค. 57 นั้น เป็นไปตามที่ ธปท.ได้ประเมินไว้แล้ว โดยอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบดังกล่าวมีสาเหตุสำคัญมาจากราคาน้ำมันที่ได้ปรับตัวลดลงตามราคาของตลาดโลก
สำหรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปี 2558 กำหนดให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั่วไปทั้งปีอยู่ที่ 2.5% บวกลบ 1.5% หรืออยู่ในกรอบระหว่าง 1-4% ซึ่งจากตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ม.ค.58 ที่ออกมาติดลบนั้น ในขณะนี้ถือว่ายังไม่หลุดกรอบ เพราะกรอบเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้เป็นตัวเลขที่เฉลี่ยทั้งปี นอกจากนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาติดลบนั้นเป็นผลมาจากด้านอุปทานคือราคาน้ำมัน ไม่ได้เป็นผลโดยตรงมาจากอุปสงค์
“ในเร็วๆนี้กำลังจะมีการทบทวนเป้าหมายตัวเลขเงินเฟ้อในปี58 ใหม่จากปัจจุบันที่วางกรอบไว้ 1.8-2.5% โดยขณะนั้นประเมินราคาน้ำมันตลาดโลกที่ 90-110ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ตอนนี้ลงมาอยู่ในระดับ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลและน่าจะนิ่งแล้ว รวมถึงธปท. มีการปรับลดจีดีพีจากเดิม 4.5% เหลือ 3.5% และอัตราค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปีจากเดิมประเมิน31-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 32-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ”
นายสมเกียรติ กล่าวว่า เงินเฟ้อที่ขยายตัวลดลงต่อเนื่องนั้นสำนักงานนโยบายฯกำลังติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดว่าจะเกิดปัญหาเงินฝืดหรือไม่แต่ในเบื้องต้นอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงมาจากเรื่องของต้นทุนและราคาสินค้าลดลงเป็นหลักไม่ใช่เกิดจากประชาชนลดการใช้จ่ายลง
ด้านนายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน ม.ค.58 ที่ติดลบ 0.41% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และติดลบ 0.59% เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค. 57 นั้น เป็นไปตามที่ ธปท.ได้ประเมินไว้แล้ว โดยอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบดังกล่าวมีสาเหตุสำคัญมาจากราคาน้ำมันที่ได้ปรับตัวลดลงตามราคาของตลาดโลก
สำหรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปี 2558 กำหนดให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั่วไปทั้งปีอยู่ที่ 2.5% บวกลบ 1.5% หรืออยู่ในกรอบระหว่าง 1-4% ซึ่งจากตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ม.ค.58 ที่ออกมาติดลบนั้น ในขณะนี้ถือว่ายังไม่หลุดกรอบ เพราะกรอบเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้เป็นตัวเลขที่เฉลี่ยทั้งปี นอกจากนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาติดลบนั้นเป็นผลมาจากด้านอุปทานคือราคาน้ำมัน ไม่ได้เป็นผลโดยตรงมาจากอุปสงค์