นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ วิป สปช. เปิดเผยหลังการประชุมว่า ได้มีการหารือถึงแนวทางการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญของ สปช. ระหว่างวันที่ 20 - 26 เมษายน โดยการอภิปรายในวันที่ 20 เมษายน จะเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 – 21.00 น. ยกเว้นวันที่ 23 เมษายน ที่จะเริ่มประชุมเวลา 14.00 - 21.00 น. รวมเวลาการอภิปราย 79 ชั่วโมง
ทั้งนี้ ได้มีการแบ่งเวลาอภิปรายดังนี้ 1.คณะกรรมาธิการกยร่างรัฐธรรมนูญจะใช้เวลาประมาณ 15 ชั่วโมง วันแรกจะเป็นการเสนอภาพรวมร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 2 ชั่วโมง เวลาในการชี้แจง 1 ชั่วโมง และวันต่อๆ ไปชี้แจงวันละ 2 ชั่วโมง ขณะที่ สปช.จะใช้อภิปรายทั้งหมด 64 ชั่วโมง แยกเป็นคณะ กมธ.สามัญประจำสภา 18 คณะ โดยให้ส่งตัวแทนอภิปรายคณะละ 5 คน ใช้เวลาคณะละ 2 ชั่วโมง รวม 36 ชั่วโมง
ขณะที่ สมาชิกสปช.ที่เหลือ โดยตัด กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จะเหลือผู้อภิปราย 137 คน ภายในระยะเวลา 28 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยคนละ 12 นาที ส่วนกรณีที่มีกรรมาธิการแจ้งความประสงค์ขออภิปรายเพิ่มเป็น 10 วัน ถือว่าขัดกับข้อบังคับการประชุม ที่ระบุว่าต้องส่งเอกสารให้สมาชิกพิจารณาอย่างน้อย 3 วัน โดยกมธ.จะส่งร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาในวันที่ 17 เมษายน แต่สมาชิกได้ขออภิปรายตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน
ส่วนการจัดลำดับอภิปรายของกมธ.ประจำสภา 18 คณะ และอีก 137 คน จะใช้วิธีจับสลาก เพื่อจัดลำดับอภิปรายก่อนหลังให้เกิดความยุติธรรมนอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบให้มีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์รัฐสภา และยังอยู่ระหว่างประสานถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีกรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 เพื่อถ่ายทอดสดให้ครบตลอด 7 วัน ขณะที่สถานีช่องอื่นก็สามารถร่วมถ่ายทอดสดได้
อย่างไรก็ตาม การอภิปรายของ กมธ.ประจำสภาทั้ง 18 คณะ จะอภิปรายเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของตนเอง แต่จะอภิปรายประเด็นปฏิรูปอื่นได้ ทั้งนี้ เป้าหมายหลักที่ กมธ.และสมาชิกต้องการอภิปรายคือ เรื่องการเมือง การสร้างความปรองดอง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป องค์กรอิสระ กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และในวันที่ 3 เมษายน จะมีการประชุมแม่น้ำ 5 สาย ที่ทำเนียบรัฐบาลอีกด้วย
ทั้งนี้ ได้มีการแบ่งเวลาอภิปรายดังนี้ 1.คณะกรรมาธิการกยร่างรัฐธรรมนูญจะใช้เวลาประมาณ 15 ชั่วโมง วันแรกจะเป็นการเสนอภาพรวมร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 2 ชั่วโมง เวลาในการชี้แจง 1 ชั่วโมง และวันต่อๆ ไปชี้แจงวันละ 2 ชั่วโมง ขณะที่ สปช.จะใช้อภิปรายทั้งหมด 64 ชั่วโมง แยกเป็นคณะ กมธ.สามัญประจำสภา 18 คณะ โดยให้ส่งตัวแทนอภิปรายคณะละ 5 คน ใช้เวลาคณะละ 2 ชั่วโมง รวม 36 ชั่วโมง
ขณะที่ สมาชิกสปช.ที่เหลือ โดยตัด กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จะเหลือผู้อภิปราย 137 คน ภายในระยะเวลา 28 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยคนละ 12 นาที ส่วนกรณีที่มีกรรมาธิการแจ้งความประสงค์ขออภิปรายเพิ่มเป็น 10 วัน ถือว่าขัดกับข้อบังคับการประชุม ที่ระบุว่าต้องส่งเอกสารให้สมาชิกพิจารณาอย่างน้อย 3 วัน โดยกมธ.จะส่งร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาในวันที่ 17 เมษายน แต่สมาชิกได้ขออภิปรายตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน
ส่วนการจัดลำดับอภิปรายของกมธ.ประจำสภา 18 คณะ และอีก 137 คน จะใช้วิธีจับสลาก เพื่อจัดลำดับอภิปรายก่อนหลังให้เกิดความยุติธรรมนอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบให้มีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์รัฐสภา และยังอยู่ระหว่างประสานถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีกรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 เพื่อถ่ายทอดสดให้ครบตลอด 7 วัน ขณะที่สถานีช่องอื่นก็สามารถร่วมถ่ายทอดสดได้
อย่างไรก็ตาม การอภิปรายของ กมธ.ประจำสภาทั้ง 18 คณะ จะอภิปรายเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของตนเอง แต่จะอภิปรายประเด็นปฏิรูปอื่นได้ ทั้งนี้ เป้าหมายหลักที่ กมธ.และสมาชิกต้องการอภิปรายคือ เรื่องการเมือง การสร้างความปรองดอง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป องค์กรอิสระ กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และในวันที่ 3 เมษายน จะมีการประชุมแม่น้ำ 5 สาย ที่ทำเนียบรัฐบาลอีกด้วย