ตัวแทนกลุ่มภาคประชาชนจำนวน 38 กลุ่ม ได้แก่ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม เครือข่ายสลัมสี่ภาค เป็นต้น ได้เข้ายื่นข้อเสนอต่อร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.... ไปยังนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้รับข้อเสนอดังกล่าว
โดยนายจำนง หนูพันธ์ ประธานเครือข่ายสลัมสี่ภาค ในฐานะตัวแทน 38 องค์กรกล่าวว่า เมื่อได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะแล้วพบว่า กระบวนการการออกกฎหมายฉบับนี้เป็นการเร่งรัดเสนอกฎหมายของหน่วยงานราชการโดยไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยมีลักษณะการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะมากกว่าส่งเสริมสิทธิในการชุมนุม ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาธิปไตย ทั้งหมด 8 ประเด็นคือ
1. นิยามผู้จัดการชุมนุมมีความหมายกว้างเกินไป
2. การตัดเขตอำนาจของศาลปกครองไม่ให้มีอำนาจตรวจสอบคำสั่งหรือการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐได้
3. กำหนดห้ามชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา ศาล และห้ามกีดขวางทางเข้าออกหน่วยงานรัฐหรือรบกวนการปฏิบัติหรือใช้บริการสถานที่ทำการหน่วยงานรัฐ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะประชาชนต้องเรียกร้องต่อหน่วยงานรัฐโดยตรง
4. การกำหนดให้แจ้งการชุมนุมก่อน 24 ชั่วโมง ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของการชุมนุมเนื่องจากบางกรณีเกิดขึ้นฉับพลัน
5. การกำหนดให้ผู้จัดการชุมนุมใช้เครื่องขยายเสียงตามขนาดที่กำหนด และมีการห้ามใช้เครื่องขยายเสียงปราศรัยในช่วงเวลา 24.00 - 6.00 น. ซึ่งอาจเป็นปัญหาในการควบคุมผู้ชุมนุมในกรณีที่มีผู้ชุมนุมจำนวนมาก
6. การเดินขบวนและเคลื่อนย้ายการชุมนุมให้แจ้งล่วงหน้าก่อน 24 ชั่วโมง บางกรณีผู้ชุมนุมอาจเริ่มชุมนุมในต่างจังหวัดแล้วจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯจะเกิดปัญหาได้
7. การให้ศาลยุติธรรมเป็นผู้ออกคำบังคับให้ยกเลิกการชุมนุม ทำให้ศาลเป็นคู่กรณีกับประชาชน และ
8. การกำหนดโทษทางอาญา ซึ่งการชุมนุมเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพจึงไม่ควรมีการกำหนดโทษทางอาญา
ซึ่งองค์กรภาคประชาสังคมทั้ง 38 องค์กร จึงไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพความเห็น ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้ สนช. ยุติการดำเนินการผ่านร่าง พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... ในช่วงเวลานี้ ซึ่งหากต้องการผ่านร่างกฎหมายนี้ควรรับฟังความเห็นอย่างแพร่หลายเสียก่อน
ด้านนายสุรชัย กล่าวภายหลังจากที่รับข้อเสนอว่า ความคืบหน้าในร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว สนช.ได้รับหลักการแล้วและอยู่ในการพิจารณาส่วนหนึ่ง แล้วจะรีบนำความคิดเห็นของ 38 องค์กรนี้เข้าสู่ที่ประชุมกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวต่อไป อีกทั้ง นายสุรชัย ยังพร้อมให้ความมั่นใจกับผู้เรียกร้องว่ายังสามารถแก้ไขได้ ทั้งนี้โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่ากฎหมายนี้ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชน แต่ต้องดูด้วยว่าจะทำอย่างไรไม่ให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมเดือดร้อนไปด้วย อีกทั้งยังได้เสนอให้นำตัวแทน 5 คนไปนั่งฟังการพิจารณาของกรรมาธิการด้วยเพื่อจะได้ทราบความคืบหน้าต่อไป
โดยนายจำนง หนูพันธ์ ประธานเครือข่ายสลัมสี่ภาค ในฐานะตัวแทน 38 องค์กรกล่าวว่า เมื่อได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะแล้วพบว่า กระบวนการการออกกฎหมายฉบับนี้เป็นการเร่งรัดเสนอกฎหมายของหน่วยงานราชการโดยไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยมีลักษณะการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะมากกว่าส่งเสริมสิทธิในการชุมนุม ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาธิปไตย ทั้งหมด 8 ประเด็นคือ
1. นิยามผู้จัดการชุมนุมมีความหมายกว้างเกินไป
2. การตัดเขตอำนาจของศาลปกครองไม่ให้มีอำนาจตรวจสอบคำสั่งหรือการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐได้
3. กำหนดห้ามชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา ศาล และห้ามกีดขวางทางเข้าออกหน่วยงานรัฐหรือรบกวนการปฏิบัติหรือใช้บริการสถานที่ทำการหน่วยงานรัฐ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะประชาชนต้องเรียกร้องต่อหน่วยงานรัฐโดยตรง
4. การกำหนดให้แจ้งการชุมนุมก่อน 24 ชั่วโมง ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของการชุมนุมเนื่องจากบางกรณีเกิดขึ้นฉับพลัน
5. การกำหนดให้ผู้จัดการชุมนุมใช้เครื่องขยายเสียงตามขนาดที่กำหนด และมีการห้ามใช้เครื่องขยายเสียงปราศรัยในช่วงเวลา 24.00 - 6.00 น. ซึ่งอาจเป็นปัญหาในการควบคุมผู้ชุมนุมในกรณีที่มีผู้ชุมนุมจำนวนมาก
6. การเดินขบวนและเคลื่อนย้ายการชุมนุมให้แจ้งล่วงหน้าก่อน 24 ชั่วโมง บางกรณีผู้ชุมนุมอาจเริ่มชุมนุมในต่างจังหวัดแล้วจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯจะเกิดปัญหาได้
7. การให้ศาลยุติธรรมเป็นผู้ออกคำบังคับให้ยกเลิกการชุมนุม ทำให้ศาลเป็นคู่กรณีกับประชาชน และ
8. การกำหนดโทษทางอาญา ซึ่งการชุมนุมเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพจึงไม่ควรมีการกำหนดโทษทางอาญา
ซึ่งองค์กรภาคประชาสังคมทั้ง 38 องค์กร จึงไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพความเห็น ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้ สนช. ยุติการดำเนินการผ่านร่าง พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... ในช่วงเวลานี้ ซึ่งหากต้องการผ่านร่างกฎหมายนี้ควรรับฟังความเห็นอย่างแพร่หลายเสียก่อน
ด้านนายสุรชัย กล่าวภายหลังจากที่รับข้อเสนอว่า ความคืบหน้าในร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว สนช.ได้รับหลักการแล้วและอยู่ในการพิจารณาส่วนหนึ่ง แล้วจะรีบนำความคิดเห็นของ 38 องค์กรนี้เข้าสู่ที่ประชุมกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวต่อไป อีกทั้ง นายสุรชัย ยังพร้อมให้ความมั่นใจกับผู้เรียกร้องว่ายังสามารถแก้ไขได้ ทั้งนี้โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่ากฎหมายนี้ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชน แต่ต้องดูด้วยว่าจะทำอย่างไรไม่ให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมเดือดร้อนไปด้วย อีกทั้งยังได้เสนอให้นำตัวแทน 5 คนไปนั่งฟังการพิจารณาของกรรมาธิการด้วยเพื่อจะได้ทราบความคืบหน้าต่อไป