การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. วันนี้ (23 มี.ค.) พิจารณารับทราบรายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน เรื่อง การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติและปฏิรูประบบงบประมาณและการคลังท้องถิ่น โดยนายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ชี้แจงรายงานต่อที่ประชุมว่า การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติจะเน้นปฎิรูปเชิงระบบทั้งในระยะสั้น ระยะยาวที่ต้องมีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ ที่สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาของภาคเอกชนและภาคประชาชนได้ด้วย เพื่อให้กฎหมายว่าด้วยยุทธศาสตร์ชาติมีประสิทธิภาพ จะต้องกำหนดเป็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ชาติที่ดีต้องกำหนดตัววัดที่ชัดเจน ต้องเป็นยุทธศาสตร์ชาติที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน โดยยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาว 20 ปี ต้องเริ่มจากรับฟังข้อเสนอแนะของประชาชน ประกอบการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการที่ต้องอาศัยข้อมูลความรู้แบบสหวิชาการทั้งในประเทศ ภูมิภาค และระดับสากล จากนั้นต้องกำหนดแผนยุทธศาสตร์ระยะกลาง 5 ปี ที่อิงตามยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาว โดยแผนยุทธศาสตร์ระยะกลางนี้ จะเป็นแผนแม่บทสำหรับหน่วยงานในภาครัฐที่จะเป็นการวิเคราะห์งบประมาณและประมาณการงบประมาณที่จะเน้นการปฏิรูประบบงบประมาณแบบมีส่วนร่วมของประชาชน งบประมาณแบบบูรณาการที่เน้นให้หน่วยงานทำงานร่วมกันมุ่งให้เกิดผลลัพธ์มีคุณค่ามากกว่าต่างหน่วยต่างทำ และงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่จะเป็นระบบงบประมาณที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลตอบแทนที่ได้รับ
นายธีรยุทธ์ ชี้แจงว่า ในส่วนของการบริหารการคลังของส่วนท้องถิ่น จะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยกระบวนการจัดทำงบประมาณท้องถิ่นแบบใหม่ จะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือระดับจังหวัด และระดับต่ำกว่าจังหวัด มีแนวคิดสำคัญ คือการบริหารแบบเน้นจากล่างขึ้นบน ประชาชนจะเข้ามามีบทบาท เพิ่มความเป็นอิสระทางการคลังในการหารายได้ เช่น ให้ท้องถิ่นจัดเก็บภาษีเอง ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการใช้จ่าย เน้นรักษาดุลการคลัง
ทั้งนี้ กระบวนการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูประบบงบประมาณทั้งหมดนี้จะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ และมีระบบการติดตามประเมินผลอย่างเข้มข้น โดยดำเนินการผ่านกลไกการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ชาติ ที่มีสภายุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและสำนักงานคณะกรรมการสภายุทธศาสตร์ชาติรองรับภารกิจ
ด้านสมาชิก สปช.เห็นด้วยที่จะให้มียุทธศาสตร์ชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยให้การเดินหน้าประเทศเกิดผลเป็นรูปธรรม พร้อมเสนอแนะให้ลดขนาดของภาครัฐให้เหมาะสมกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ และต้องกำหนดพื้นที่ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน รวมถึงให้เพิ่มงบยุทธศาสตร์เป็นพิเศษให้กับจังหวัดเพื่อให้การปฏิรูปเดินหน้าอย่างคล่องตัว
อย่างไรก็ตาม สมาชิก สปช.ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ควรดึงองค์กรที่มีอยู่แล้วหลายองค์กรมารองรับภารกิจ เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาทำหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และให้สภายุทธศาสตร์ชาติ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานวางแผนความคิดจะเหมาะสมกว่าหรือไม่
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ชาติที่ดีต้องกำหนดตัววัดที่ชัดเจน ต้องเป็นยุทธศาสตร์ชาติที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน โดยยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาว 20 ปี ต้องเริ่มจากรับฟังข้อเสนอแนะของประชาชน ประกอบการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการที่ต้องอาศัยข้อมูลความรู้แบบสหวิชาการทั้งในประเทศ ภูมิภาค และระดับสากล จากนั้นต้องกำหนดแผนยุทธศาสตร์ระยะกลาง 5 ปี ที่อิงตามยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาว โดยแผนยุทธศาสตร์ระยะกลางนี้ จะเป็นแผนแม่บทสำหรับหน่วยงานในภาครัฐที่จะเป็นการวิเคราะห์งบประมาณและประมาณการงบประมาณที่จะเน้นการปฏิรูประบบงบประมาณแบบมีส่วนร่วมของประชาชน งบประมาณแบบบูรณาการที่เน้นให้หน่วยงานทำงานร่วมกันมุ่งให้เกิดผลลัพธ์มีคุณค่ามากกว่าต่างหน่วยต่างทำ และงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่จะเป็นระบบงบประมาณที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลตอบแทนที่ได้รับ
นายธีรยุทธ์ ชี้แจงว่า ในส่วนของการบริหารการคลังของส่วนท้องถิ่น จะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยกระบวนการจัดทำงบประมาณท้องถิ่นแบบใหม่ จะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือระดับจังหวัด และระดับต่ำกว่าจังหวัด มีแนวคิดสำคัญ คือการบริหารแบบเน้นจากล่างขึ้นบน ประชาชนจะเข้ามามีบทบาท เพิ่มความเป็นอิสระทางการคลังในการหารายได้ เช่น ให้ท้องถิ่นจัดเก็บภาษีเอง ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการใช้จ่าย เน้นรักษาดุลการคลัง
ทั้งนี้ กระบวนการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูประบบงบประมาณทั้งหมดนี้จะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ และมีระบบการติดตามประเมินผลอย่างเข้มข้น โดยดำเนินการผ่านกลไกการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ชาติ ที่มีสภายุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและสำนักงานคณะกรรมการสภายุทธศาสตร์ชาติรองรับภารกิจ
ด้านสมาชิก สปช.เห็นด้วยที่จะให้มียุทธศาสตร์ชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยให้การเดินหน้าประเทศเกิดผลเป็นรูปธรรม พร้อมเสนอแนะให้ลดขนาดของภาครัฐให้เหมาะสมกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ และต้องกำหนดพื้นที่ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน รวมถึงให้เพิ่มงบยุทธศาสตร์เป็นพิเศษให้กับจังหวัดเพื่อให้การปฏิรูปเดินหน้าอย่างคล่องตัว
อย่างไรก็ตาม สมาชิก สปช.ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ควรดึงองค์กรที่มีอยู่แล้วหลายองค์กรมารองรับภารกิจ เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาทำหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และให้สภายุทธศาสตร์ชาติ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานวางแผนความคิดจะเหมาะสมกว่าหรือไม่