นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยภายหลังประชุมจัดระเบียบรถแท็กซี่ร่วมกับเจ้าหน้าตำรวจมณฑลทหารบกที่ 11 และตัวแทนจากห้างสรรพสินค้า ว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปให้มีการจัดเจ้าหน้าที่ตรวจบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า 4 แห่ง ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ห้างสรรพสินค้าพารากอน ห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง และห้างสรรพสินค้าแพลทตินั่ม โดยทางห้างสรรพสินค้าจะมีการตั้งจุดขึ้นรถแท็กซี่และจัดระเบียบบริเวณด้านหน้าห้าง ไม่ให้มีการนำรถมาจอดกีดขวาง รวมถึงป้องกันปัญหาการปฏิเสธรับผู้โดยสารและแก้ปัญหาการจราจร
ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ พบว่าพื้นที่ที่มีการปฏิเสธผู้โดยสารมากที่สุด คือบริเวณถนนพระราม 1-ถนนสุขุมวิท เพราะเป็นจุดที่มีห้างสรรพสินค้าจำนวนมาก ซึ่งผู้ให้บริการแท็กซี่จะเลือกรับแต่ต่างชาติ และจะใช้ระบบจ้างเหมาแทนการกดมิเตอร์แท็กซี่ รวมถึงบางรายจะไม่ใช้รถคันเดิมในการให้บริการ
สำหรับมาตรการดังกล่าวจะเริ่มวันที่ 25 มีนาคมนี้ โดยขอความร่วมมือให้สหกรณ์แท็กซี่ทุกแห่งส่งข้อมูลผู้ขับขี่ทั้งหมดมาให้กรมการขนส่งทางบกทุกวัน เพื่อที่จะได้หาตัวผู้กระทำผิดง่ายขึ้น ซึ่งในส่วนข้อมูลจากการร้องเรียนเรื่องแท็กซี่ผ่านแอพพลิเคชั่น "DLT check in" ทางสายด่วน 1584 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เรื่องที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุดยังคงเป็นการปฏิเสธผู้โดยสาร และรองลงมา คือ การแสดงกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ
ส่วนบทลงโทษของกรณีที่ผู้ประกอบการแท็กซี่กระทำผิด หากทำผิดครั้งแรกจะถูกปรับไม่เกิน 1,000 บาท และต้องเข้าอบรมอย่างน้อย 3 ชั่วโมง หากทำผิดครั้งที่ 2 จะถูกปรับและพักใช้ใบอนุญาต 15 วัน หากทำผิดครั้งที่ 3 จะถูกปรับและเพิกถอนใบอนุญาต และกรณีที่ผู้ประกอบการแท็กซี่ทำผิดขั้นร้ายแรงส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ เช่น กระทำอนาจาร เป็นภัยต่อสังคม เป็นต้น จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้ตั้งแต่การกระทำผิดครั้งแรก
ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ พบว่าพื้นที่ที่มีการปฏิเสธผู้โดยสารมากที่สุด คือบริเวณถนนพระราม 1-ถนนสุขุมวิท เพราะเป็นจุดที่มีห้างสรรพสินค้าจำนวนมาก ซึ่งผู้ให้บริการแท็กซี่จะเลือกรับแต่ต่างชาติ และจะใช้ระบบจ้างเหมาแทนการกดมิเตอร์แท็กซี่ รวมถึงบางรายจะไม่ใช้รถคันเดิมในการให้บริการ
สำหรับมาตรการดังกล่าวจะเริ่มวันที่ 25 มีนาคมนี้ โดยขอความร่วมมือให้สหกรณ์แท็กซี่ทุกแห่งส่งข้อมูลผู้ขับขี่ทั้งหมดมาให้กรมการขนส่งทางบกทุกวัน เพื่อที่จะได้หาตัวผู้กระทำผิดง่ายขึ้น ซึ่งในส่วนข้อมูลจากการร้องเรียนเรื่องแท็กซี่ผ่านแอพพลิเคชั่น "DLT check in" ทางสายด่วน 1584 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เรื่องที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุดยังคงเป็นการปฏิเสธผู้โดยสาร และรองลงมา คือ การแสดงกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ
ส่วนบทลงโทษของกรณีที่ผู้ประกอบการแท็กซี่กระทำผิด หากทำผิดครั้งแรกจะถูกปรับไม่เกิน 1,000 บาท และต้องเข้าอบรมอย่างน้อย 3 ชั่วโมง หากทำผิดครั้งที่ 2 จะถูกปรับและพักใช้ใบอนุญาต 15 วัน หากทำผิดครั้งที่ 3 จะถูกปรับและเพิกถอนใบอนุญาต และกรณีที่ผู้ประกอบการแท็กซี่ทำผิดขั้นร้ายแรงส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ เช่น กระทำอนาจาร เป็นภัยต่อสังคม เป็นต้น จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้ตั้งแต่การกระทำผิดครั้งแรก