คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย แถลงเข้าร่วมเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้า (Demand Response) หรือ DR ครั้งที่ 1/2558 ในช่วงเดือนเมษายนนี้ รองรับแหล่งก๊าซยาดานาปิดซ่อมบำรุงวันที่ 10-19 เมษายน ซึ่งจะมีก๊าซหายไป 930 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โรงไฟฟ้าหยุดผลิต 5,500 เมกะวัตต์ และช่วงแหล่งซอติก้าหยุดซ่อมบำรุงวันที่ 20-27 เมษายน ประมาณ 450 เมกะวัตต์ กำลังผลิตไฟฟ้าหายไป 2,500 เมกะวัตต์ โดยเปิดให้เอกชนรายใหญ่ใช้ไฟฟ้ามากกว่า 100 เมกะวัตต์ต่อราย เข้าสมัครผ่าน 3 การไฟฟ้า คาดจะมีผู้สมัครสูงสุด 700 เมกะวัตต์ แต่คาดว่าจะมีผู้ร่วมจริง 500 เมกะวัตต์ ซึ่งจะมีทั้งโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรมต่างๆ ซึ่ง กฟผ.คาดว่าจะมีลูกค้าเข้าร่วม 70-80 เมกะวัตต์ จากลูกค้า 320 เมกะวัตต์ ส่วน กฟน.คาดว่าจะมีลูกค้าเข้าร่วม 157 เมกะวัตต์ ส่วน กฟภ.คาดมีลูกค้าเข้าร่วม 200 เมกะวัตต์ โดยกำหนดอัตราชดเชย 3 บาทต่อหน่วย คำนวณจากต้นทุนดีเซลที่ 3.40 บาทต่อหน่วย
สำหรับโครงการ DR เป็นการเปิดให้ผู้ร่วมโครงการสามารถลดได้ หากปริมาณกำลังการใช้ไฟฟ้าที่ลดเป็นไปตามเงื่อนไขที่ กกพ. กำหนด โดยคาบเวลาที่กำหนดให้มีการดำเนินมาตรการ DR ในโครงการครั้งนี้ คือ เวลา 10.00-12.00 น. 14.00-17.00 น. และ 19.00-22.00 น. ในวันที่ 10, 17, 18 และ 20 ของเดือนเมษายน รวม 12 คาบเวลา โดยที่ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้า ประเภท 3 กิจการขนาดกลาง ประเภท 4 กิจการขนาดใหญ่ และประเภท 5 กิจการเฉพาะอย่าง ที่มีมิเตอร์บันทึกการใช้ไฟฟ้าได้ทุก 15 นาที เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 31 วัน และต้องเสนอลดการใช้ไฟฟ้าในแต่ละคาบเวลาไม่น้อยกว่า 100 กิโลวัตต์ ผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการสามารถกรอกใบสมัครและยื่นข้อเสนอลดกำลังการใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้าแต่ละแห่งที่ผู้สมัครเป็นลูกค้า (กฟผ. กฟภ. หรือ กฟน.) ตั้งแต่วันที่ 23-31 มีนาคมนี้
การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จะทำหน้าที่รวบรวมปริมาณความต้องการใช้กำลังไฟฟ้าของผู้ร่วมโครงการให้ได้ตามเป้าหมายที่ระบบต้องการ (Load Aggregator) โดยเป็นผู้เชิญชวนและรับสมัครผู้ร่วมโครงการ ทำการวัดและคำนวณผลการลดกำลังการใช้ไฟฟ้า รวมทั้งเป็นผู้ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
ทั้งนี้ กกพ.ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการกำลังการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด ในการที่จะลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนเป็นสำคัญ ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ RD ครั้งที่ 1/2558 เพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th
สำหรับโครงการ DR เป็นการเปิดให้ผู้ร่วมโครงการสามารถลดได้ หากปริมาณกำลังการใช้ไฟฟ้าที่ลดเป็นไปตามเงื่อนไขที่ กกพ. กำหนด โดยคาบเวลาที่กำหนดให้มีการดำเนินมาตรการ DR ในโครงการครั้งนี้ คือ เวลา 10.00-12.00 น. 14.00-17.00 น. และ 19.00-22.00 น. ในวันที่ 10, 17, 18 และ 20 ของเดือนเมษายน รวม 12 คาบเวลา โดยที่ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้า ประเภท 3 กิจการขนาดกลาง ประเภท 4 กิจการขนาดใหญ่ และประเภท 5 กิจการเฉพาะอย่าง ที่มีมิเตอร์บันทึกการใช้ไฟฟ้าได้ทุก 15 นาที เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 31 วัน และต้องเสนอลดการใช้ไฟฟ้าในแต่ละคาบเวลาไม่น้อยกว่า 100 กิโลวัตต์ ผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการสามารถกรอกใบสมัครและยื่นข้อเสนอลดกำลังการใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้าแต่ละแห่งที่ผู้สมัครเป็นลูกค้า (กฟผ. กฟภ. หรือ กฟน.) ตั้งแต่วันที่ 23-31 มีนาคมนี้
การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง จะทำหน้าที่รวบรวมปริมาณความต้องการใช้กำลังไฟฟ้าของผู้ร่วมโครงการให้ได้ตามเป้าหมายที่ระบบต้องการ (Load Aggregator) โดยเป็นผู้เชิญชวนและรับสมัครผู้ร่วมโครงการ ทำการวัดและคำนวณผลการลดกำลังการใช้ไฟฟ้า รวมทั้งเป็นผู้ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
ทั้งนี้ กกพ.ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการกำลังการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด ในการที่จะลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนเป็นสำคัญ ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ RD ครั้งที่ 1/2558 เพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th