พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ว่า ผลการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ได้มีมติเอกฉันท์ไล่ออก 3 ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีผลในทันที ตามการชี้มูลของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เนื่องจากที่ประชุมมีมติตรงกันว่าได้ร่วมกันกระทำความผิด ช่วยเหลือบริษัทจีน 2 บริษัท ให้เข้ามาทำสัญญาซื้อขายข้าวรัฐในแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ซึ่งบริษัท 2 แห่ง ที่ว่านี้ไม่ได้รับมอบหมายมาจากรัฐบาลจีน ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อกรมการค้าต่างประเทศ และประเทศชาติอย่างร้ายแรง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของนายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และนายอัครพงศ์ ทีปวัชระ อดีตผู้อำนายการสำนักการค้าข้าวต่างประเทศ ภายหลังมติของ อ.ก.พ. ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในระยะเวลา 30 วัน นับจากวันที่รับทราบคำสั่ง โดยให้ยื่นต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (กพค.) ส่วนนายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ แม้ทาง อ.ก.พ. จะมีมติให้ไล่ออกเช่นกัน แต่เนื่องจากปัจจุบันเกษียณอายุราชการไปนานแล้ว มติดังกล่าวจึงไม่มีผลใดๆ โดยหลังจากนี้ ทั้ง 3 คนจะเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย ทั้งแพ่ง และอาญาต่อไป ซึ่งหากศาลมีคำสั่งตัดสินว่ามีความผิดจริง สำหรับอดีตข้าราชการก็จะสามารถระงับการจ่ายบำนาญได้
"ในส่วนตัวแล้วก็ไม่ค่อยสบายใจนัก เพราะในชีวิตนี้ไม่เคยไล่ใครออกมาก่อน และผมเองก็เป็นข้าราชการด้วยเช่นกัน ซึ่งก็เห็นใจข้าราชการด้วยกัน แต่ในที่ก็ประชุมมีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง ว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการทำทุจริตอย่างร้ายแรง จึงไม่สามารถพิจารณาไปทางอื่นได้ ดังนั้นจึงต้องยึดตามข้อปฏิบัติระเบียบข้าราชการ ปี 2551 และมติคณะรัฐมนตรี ปี 2536 ที่ระบุไว้กรณีข้าราชการกระทำความผิดฐานทุจริต ให้มีมติโทษสถานเดียวคือ ไล่ออก ซึ่งผลคือข้าราชการที่ถูกไล่ออกจะไม่ได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ" พล.อ.ฉัตรชัย
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า อยากฝากเตือนข้าราชการ ที่ต้องทำงานกับนักการเมือง ในกรณีผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้ข้าราชการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ถูกต้อง โดยทั่วไปสำหรับข้าราชการสามารถ ปฏิเสธหรือไม่ดำเนินการตามคำสั่งที่ไม่ถูกต้องได้ เพราะตามระเบียบข้าราชการมีระบุไว้อยู่แล้ว ยกเว้นข้าราชการอาจจะอ่อนไหวเกินไป หรืออาจจะหวังผลตอบแทนก็แล้วแต่ข้าราชการแต่ละคนเอง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของนายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และนายอัครพงศ์ ทีปวัชระ อดีตผู้อำนายการสำนักการค้าข้าวต่างประเทศ ภายหลังมติของ อ.ก.พ. ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในระยะเวลา 30 วัน นับจากวันที่รับทราบคำสั่ง โดยให้ยื่นต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (กพค.) ส่วนนายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ แม้ทาง อ.ก.พ. จะมีมติให้ไล่ออกเช่นกัน แต่เนื่องจากปัจจุบันเกษียณอายุราชการไปนานแล้ว มติดังกล่าวจึงไม่มีผลใดๆ โดยหลังจากนี้ ทั้ง 3 คนจะเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย ทั้งแพ่ง และอาญาต่อไป ซึ่งหากศาลมีคำสั่งตัดสินว่ามีความผิดจริง สำหรับอดีตข้าราชการก็จะสามารถระงับการจ่ายบำนาญได้
"ในส่วนตัวแล้วก็ไม่ค่อยสบายใจนัก เพราะในชีวิตนี้ไม่เคยไล่ใครออกมาก่อน และผมเองก็เป็นข้าราชการด้วยเช่นกัน ซึ่งก็เห็นใจข้าราชการด้วยกัน แต่ในที่ก็ประชุมมีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง ว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการทำทุจริตอย่างร้ายแรง จึงไม่สามารถพิจารณาไปทางอื่นได้ ดังนั้นจึงต้องยึดตามข้อปฏิบัติระเบียบข้าราชการ ปี 2551 และมติคณะรัฐมนตรี ปี 2536 ที่ระบุไว้กรณีข้าราชการกระทำความผิดฐานทุจริต ให้มีมติโทษสถานเดียวคือ ไล่ออก ซึ่งผลคือข้าราชการที่ถูกไล่ออกจะไม่ได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ" พล.อ.ฉัตรชัย
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า อยากฝากเตือนข้าราชการ ที่ต้องทำงานกับนักการเมือง ในกรณีผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้ข้าราชการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ถูกต้อง โดยทั่วไปสำหรับข้าราชการสามารถ ปฏิเสธหรือไม่ดำเนินการตามคำสั่งที่ไม่ถูกต้องได้ เพราะตามระเบียบข้าราชการมีระบุไว้อยู่แล้ว ยกเว้นข้าราชการอาจจะอ่อนไหวเกินไป หรืออาจจะหวังผลตอบแทนก็แล้วแต่ข้าราชการแต่ละคนเอง