พล.อ.สำเริง พินกลาง ประธานคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ (ภตช.) เปิดเผยภายหลังการยื่นหนังสื่อถึงนายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง ว่า ต้องการให้ รมว.คลัง เร่งให้นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร ดำเนินการตรวจสอบและเร่งรัดการจัดเก็บภาษี กรณีนำเข้ารถยนต์โตโยต้า พริอุส รวมถึง การผลิตรถยนต์ของบริษัทอื่น ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่กำหนดไว้
เนื่องจาก ภตช.ได้ตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่ากรณีการของสินค้าที่นำเข้ามาเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ (ซีเคดี) โดยแยกเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบเป็นรถยนต์สำเร็จรูป แต่เสียภาษีไม่ตรงตามอัตราที่กำหนดไว้ ส่งผลให้รัฐสูญเสียรายได้กว่า 3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นปีละ 600,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ภตช.ต้องการให้ รมว.คลังดำเนินการตรวจสอบไลน์การผลิตของโตโยต้า พริอุส เพื่อให้แน่ชัดว่าการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์โตโยต้า พริอุส เป็นการนำเข้าทั้งคันรถ หรือแยกชิ้นส่วนมาประกอบ เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้นำชิ้นส่วนรถยนต์โตโยต้า พริอุส เข้ามาตั้งแต่ปี 53-55 มากกว่า 245 ครั้ง จำนวนกว่า 20,000 คัน และช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้จดทะเบียนแล้ว 10,000 คัน โดยถูกกรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลังมูลค่า 11,000 ล้านบาท ซึ่งโตโยต้าได้ยื่นอุทธรณ์และชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว และเรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมศุลกากร
“ที่ผ่านมาการนำเข้าชิ้นส่วนของรถยนต์โตโยต้า รุ่นพริอุส ได้ดำเนินการภายใต้กรอบข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปา) ซึ่งหากนำเข้าชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่สามารถนำชิ้นส่วนเข้ามาประกอบเป็นรถยนต์ได้ทั้งคัน และขออนุญาตจากกรมศุลกากรก่อนการนำเข้าจะเสียภาษีในอัตรา 30% เท่านั้น แต่โตโยต้าไม่ได้ขออนุญาต ทำให้ต้องถูกเรียกเก็บภาษีอัตรา 80% ซึ่งคิดเป็นวงเงินกว่า 11,000 ล้านบาท”
ขณะเดียวกัน ภตช.ยังพบว่าบริษัทโตโยต้าไม่ได้มีไลน์การผลิตรถยนต์รุ่นนี้ในประเทศไทย เพราะจากการสอบถามโชว์รูมขายรถยนต์โตโยต้าแล้วกว่า 20 แห่ง แจ้งว่าหากจองรุ่นนี้บางสีต้องรอนานไม่น้อยกว่า 3-4 เดือน ถึงจะได้รับรถยนต์ โดยเมื่อพิจารณาอัตราภาษีที่เสียแล้ว การนำเข้าทั้งคันจะต้องเสียภาษีถึง 187.75% แต่ปัจจุบันโตโยต้าถูกเรียกเก็บเพียงอัตราละ 80% ซึ่งเป็นอัตราการนำเข้าชิ้นส่วนเท่านั้น ก่อนเข้ามาประกอบเป็นรถยนต์สำเร็จรูป ขาดเพียงพรมปูพื้น ล้อแมกซ์ ยาง และอุปกรณ์บางส่วนเท่านั้นที่ผลิตในไทย ซึ่งไม่ได้เสียภาษีตามอัตราที่กำหนดไว้แต่อย่างใด
เนื่องจาก ภตช.ได้ตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่ากรณีการของสินค้าที่นำเข้ามาเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ (ซีเคดี) โดยแยกเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบเป็นรถยนต์สำเร็จรูป แต่เสียภาษีไม่ตรงตามอัตราที่กำหนดไว้ ส่งผลให้รัฐสูญเสียรายได้กว่า 3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นปีละ 600,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ภตช.ต้องการให้ รมว.คลังดำเนินการตรวจสอบไลน์การผลิตของโตโยต้า พริอุส เพื่อให้แน่ชัดว่าการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์โตโยต้า พริอุส เป็นการนำเข้าทั้งคันรถ หรือแยกชิ้นส่วนมาประกอบ เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้นำชิ้นส่วนรถยนต์โตโยต้า พริอุส เข้ามาตั้งแต่ปี 53-55 มากกว่า 245 ครั้ง จำนวนกว่า 20,000 คัน และช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้จดทะเบียนแล้ว 10,000 คัน โดยถูกกรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลังมูลค่า 11,000 ล้านบาท ซึ่งโตโยต้าได้ยื่นอุทธรณ์และชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว และเรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมศุลกากร
“ที่ผ่านมาการนำเข้าชิ้นส่วนของรถยนต์โตโยต้า รุ่นพริอุส ได้ดำเนินการภายใต้กรอบข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปา) ซึ่งหากนำเข้าชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่สามารถนำชิ้นส่วนเข้ามาประกอบเป็นรถยนต์ได้ทั้งคัน และขออนุญาตจากกรมศุลกากรก่อนการนำเข้าจะเสียภาษีในอัตรา 30% เท่านั้น แต่โตโยต้าไม่ได้ขออนุญาต ทำให้ต้องถูกเรียกเก็บภาษีอัตรา 80% ซึ่งคิดเป็นวงเงินกว่า 11,000 ล้านบาท”
ขณะเดียวกัน ภตช.ยังพบว่าบริษัทโตโยต้าไม่ได้มีไลน์การผลิตรถยนต์รุ่นนี้ในประเทศไทย เพราะจากการสอบถามโชว์รูมขายรถยนต์โตโยต้าแล้วกว่า 20 แห่ง แจ้งว่าหากจองรุ่นนี้บางสีต้องรอนานไม่น้อยกว่า 3-4 เดือน ถึงจะได้รับรถยนต์ โดยเมื่อพิจารณาอัตราภาษีที่เสียแล้ว การนำเข้าทั้งคันจะต้องเสียภาษีถึง 187.75% แต่ปัจจุบันโตโยต้าถูกเรียกเก็บเพียงอัตราละ 80% ซึ่งเป็นอัตราการนำเข้าชิ้นส่วนเท่านั้น ก่อนเข้ามาประกอบเป็นรถยนต์สำเร็จรูป ขาดเพียงพรมปูพื้น ล้อแมกซ์ ยาง และอุปกรณ์บางส่วนเท่านั้นที่ผลิตในไทย ซึ่งไม่ได้เสียภาษีตามอัตราที่กำหนดไว้แต่อย่างใด